วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 โอ่งมังกร หัตถกรรมพื้นบ้านแห่งเมืองพระราชา

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

โอ่งมังกร หัตถกรรมพื้นบ้านแห่งเมืองพระราชา Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: โอ่งมังกร หัตถกรรมพื้นบ้านแห่งเมืองพระราชา   โอ่งมังกร หัตถกรรมพื้นบ้านแห่งเมืองพระราชา EmptyWed Oct 31, 2012 1:51 pm

คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่
ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน
เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาด

จากคำขวัญของจังหวัดราชบุรีมีคำว่าโอ่งมังกร

ประวัติโอ่งมังกร
ประเทศไทยผลิตโอ่งมังกรครั้งแรกในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่จังหวัดราชบุรีเป็นแห่งแรก เป็นการผลิตเลียนแบบโอ่งมังกรที่นำเข้าจากประเทศจีน (โอ่งกักเก็บน้ำชั้นดี นิยมนำเข้าจากประเทศจีนแทบทั้งสิ้น) ในภาวะสงครามสินค้าจากต่างประเทศไม่สามารถนำเข้ามาค้าขายได้จึงต้องผลิตขึ้นมาทดแทน จากคำบอกเล่าของลูกหลานทายาทเจ้าของโรงโอ่งมังกร นั้นเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2476 โดยนายซ่งฮง แซ่เตีย และนายจือเหม็ง แซ่อึ้ง สองสหายที่เคยทำเครื่องปั้นดินเผาที่เมืองป้งโคย ประเทศจีน ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย และได้มาพบแหล่งดิน ที่จังหวัดราชบุรี และเห็นว่าเป็นดินที่ใช้ในการปั้นโอ่งได้ จึงเป็นที่มาของโรงโอ่ง"เถ้าแซไถ่" และโรงโอ่ง"เถ้าฮงไถ่"ผลิตโอ่งลายมังกรในเวลาต่อมา แต่เดิมนั้นโอ่งมังกรที่ไม่มีลวดลายใดๆ เรียกว่า "โอ่งเลี่ยน" จากการที่ต้นกำเนิดโอ่งมาจากชายจีน 2 ท่านดังกล่าว เมื่อครึ่งศตวรรษมาแล้วลูกหลานจึงได้คัดเลือกลวดลายที่เป็นมงคลขึ้น เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อผู้ใช้ นอกเหนือจากการพัฒนาคิดหาความงดงามเพียงอย่างเดียว ในที่สุดก็เลือกสรรลวดลายมังกรขึ้น ตามคติความเชื่อในวัฒนธรรมของจีน โดยทั่วไปในลวดลายของโอ่งลายมังกร จะมีเพียง 3 เล็บหรือ 4 เล็บ แต่ถ้าเป็นมังกรฮ่องเต้ จะมี 5 เล็บ โอ่งมังกรจัดเป็นผลิตภัณฑ์ในประเภท สโตนแวร์ (Stoneware) ที่ได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพดีจะต้องเป็นโอ่งผลิตที่จังหวัดราชบุรี ซึ่งโอ่งในสมัยแรกเป็นโอ่งไม่มีการติดลวดลายใดๆ เรียกว่า โอ่งเลี่ยน ต่อมามีการคิดแกะลวดลายดอกติดที่พิมพ์ไม้ ตีที่บ่ารอบๆโอ่ง ให้มีลายนูนขึ้นมาคล้ายไหในปัจจุบัน ต่อมามีการนำเข้าดินขาวจากเมืองจีน เพื่อมาทดลองติดเป็นลายมังกร เลียนแบบโอ่งมังกรของจีน ปรากฏว่าได้ผลดี จึงผลิตโอ่งมังกรขายสักระยะหนึ่ง การนำเข้าของวัตถุดิบจากจีนเกิดมีปัญหาในการขนส่งมีราคาแพงขึ้นและไม่สะดวกในการขนส่งมาจังหวัดราชบุรี ผู้ผลิตจึงเริ่มมองหาแหล่งดินขาวภายในประเทศทดแทน โดยทดลองนำดินจากจังหวัดชลบุรี ระยอง มาติดลวดลายแทนดินขาวจากประเทศจีน ซึ่งประสบความสำเร็จสามารถใช้ทดแทนดินขาวจากประเทศจีนได้ ถือเป็นการหมดยุคการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ส่วนการเขียนลายลงบนโอ่ง จะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากการเขียนลายเซรามิกส์ทั่วไป
โอ่งมังกร หัตถกรรมพื้นบ้านแห่งเมืองพระราชา 3_10
จาก
www.goratchaburi.com
www.kappk.com
www.oknation.net
www.youtube.com
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
โอ่งมังกร หัตถกรรมพื้นบ้านแห่งเมืองพระราชา
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: งานศิลปะ หัตถรรม ข้าวของ เครื่องใช้ อิทธิพลจากต่างแดน-
ไปที่: