ประวัติเค้กสากลเค้ก (cake) มีรากศัพท์มาจากภาษาของชาวไวกิ้ง (Old Norse word) ว่า "kaka" ขนมเค้กนั้นมีมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ มีการค้นพบเค้กในหลุมฝังศพสมัยอียิปต์โบราณ กว้าง 11 เซนติเมตร โรยด้วยงา สอดไส้น้ำผึ้ง ปัจจุบันถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์อาหารเมืองเวเวย์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 13 มีการค้นพบหลักฐานการอบขนมเค้กขั้นแอดวานซ์ที่เก่าแก่ที่สุดของชาวอียิปต์โบราณโดยมักจะเป็นรสชาติของเค้กผลไม้ และขนมปังขิง รูปแบบเค้กทรงกลมที่เราเห็นกันทุกวันนี้ เริ่มราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นช่วงที่มีพัฒนาการของเตาอบ แบบพิมพ์ขนมและน้ำตาลทราย รสชาติที่นิยมก็ยังเป็นรสผลไม้
ในปี ค.ศ. 1843 คุณอัลเฟรด เบิร์ด (Alfred Bird 1811-1878) นักเคมีชาวอังกฤษได้ค้นพบ "ผงฟู" หรือ "baking powder" ทำให้เขาสามารถทำขนมปังชนิดที่ไม่มียีสต์ให้กับภรรยาของเขา อลิซาเบธ (Elizabeth) ได้เป็นครั้งแรกเนื่องจากภรรยาของเขาเป็นโรคภูมิแพ้เกี่ยวกับ ไข่ และ ยีสต์
ประวัติขนมเค้กในสยามขนมเค้กเข้ามาสู่เมืองสยามเมื่อใดนั้น อาจย้อนกลับไปได้ถึงในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่มีการนำขนมสูตรโปรตุเกสมาในเมืองสยาม
เมื่อประมาณ 60 ปีก่อน ธุรกิจขนมอบในเมืองไทยไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายเหมือนในปัจจุบัน จนไม่อาจเรียกว่าเป็นธุรกิจได้ ขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้ ก็ไม่ได้เป็นที่คุ้นเคยของคนทั่วไป จะมีก็เพียงคนกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับวัฒนธรรมจากชาติตะวันตกมาก่อน และผู้ที่มีความใกล้ชิดกับชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำธุรกิจในเมืองไทยที่รู้จักขนมอบ และมีร้านขนมอบเพียงไม่กี่ร้าน เพราะธุรกิจขนมอบในสมัยนั้นแคบมาก ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
ต่อมาคนไทยโดยเฉพาะชาวกรุงเทพมหานคร เริ่มรู้จักขนมอบมากขึ้นเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ประเทศไทยเริ่มเป็นที่รู้จักของประเทศต่างๆ มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น มีชาวต่างชาติเข้ามาเมืองไทยทั้งนักธุรกิจและนักท่องเที่ยว ทำให้ธุรกิจโรงแรมขยายตัว จึงต้องผลิตอาหารประเภทขนมอบชนิดต่าง ๆ ขึ้นเช่นขนมปัง เค้ก เพสตรี้เพื่อบริการลูกค้าชาวต่างประเทศที่ไม่คุ้นเคยอาหารไทย และนอกจากจะผลิตเพื่อบริการลูกค้าแล้ว โรงแรมยังมีบริการรับจัดเลี้ยงให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน โดยมีการจัดประชุมสัมมนา งานพิธีมงคลสมรส งานวันเกิด และการจัดเลี้ยงสังสรรค์ ด้วยเหตุนี้ผลิตภัณฑ์ขนมอบจึงเป็นที่รู้จักและแพร่หลายมากขึ้น
เมื่อสงครามเวียดนามสิ้นสุดลง ธุรกิจขนมอบก็ยังดำเนินต่อไป และขยายตัวเพิ่มมากขึ้น คนไทยเริ่มบริโภคขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้ พาย พัฟ ฯลฯ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ขนมอบมากขึ้น นักธุรกิจหลายรายเริ่มมองเห็นลู่ทางในการลงทุนทำธุรกิจนี้ เนื่องจากเห็นว่าผลิตภัณฑ์ขนมอบเข้ามามีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้น
ขนมเค้กที่เป็นขนมพื้นบ้านของไทยขนมเค้กเมืองตรัง (จังหวัดตรัง)
ขนมเค้กบดิน (กรุงเทพมหานครและเพชรบุรี)
ขนมเค้กปลาช่อน (จังหวัดสิงห์บุรี)
จากหนังสือแปลกแต่จริงนะเนี่ย
bang04.exteen.com
khampoon555.wordpress.com
www.dek-d.comwww.kapook.comwww.kmonic.comwww.moopeak.comwww.refresherthai.comwww.thaitambon.comwww.the-than.com