ประวัติการค้นพบ ค้างคาวกิติหรือค้างคาวหน้าหมู คือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก พบได้ทางตะวันตกของประเทศไทย และทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศพม่า อาศัยอยู่ตามถ้ำหินปูนริมแม่น้ำ ค้าวคาวกิตติค้นพบครั้งแรกปี พ.ศ. 2516 โดยนายกิตติ ทองลงยา นักสัตววิทยาของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย บริเวณถ้ำไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างทำการเก็บตัวอย่างค้างคาวในโครงการการสำรวจสัตว์ย้ายแหล่งทางพยาธิวิทยา กิตติพบค้างคาวที่มีขนาดเล็กมากซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อน จึงได้ส่งตัวอย่างค้างคาวให้กับจอห์น เอ็ดวาร์ด ฮิลล์ (John Edward Hill) แห่งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ ประเทศอังกฤษ เพื่อตรวจพิสูจน์และพบว่าค้างคาวชนิดนี้มีลักษณะหลายอย่างเป็นแบบฉบับของตนเอง สามารถที่จะตั้งเป็นสกุลและวงศ์ใหม่ได้ หลังจากกิตติเสียชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 ฮิลล์ได้จำแนกและตีพิมพ์ถึงค้างคาวชนิดนี้ และตั้งชื่อว่า Craseonycteris thonglongyai เพื่อเป็นเกียรติแก่กิตติ ทองลงยา ผู้ค้นพบค้างคาวชนิดนี้เป็นคนแรก ในปัจจุบันค้างคาวคุณกิตติอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สาเหตุหลักเกิดจากการคุกคามจากมนุษย์ และการลดลงของถิ่นที่อยู่อาศัย
ภาพสัญลักษณ์ทีมฟุตบอลเมืองกาญจน์
มีรูปค้างคาวกิตติประกอบด้วยค้างคาวคุณกิตติในไทย ค้างคาวคุณกิตติในประเทศไทยพบในถ้ำหินปูนริมแม่น้ำในป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ ในประเทศไทยพบค้างคาวคุณกิตติจำกัดอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดกาญจนบุรี ในแถบลุ่มน้ำของแม่น้ำแควน้อย ในอุทยานแห่งชาติไทรโยคพบการกระจายตัวของค้างคาวมากที่สุด จากการสำรวจถ้ำในเขตจังหวัดกาญจนบุรี พบค้างคาวกิตติจำนวน 35 ถ้ำ ซึ่งส่วนใหญ่กระจายอยู่ในเขตอำเภอไทรโยคมากถึง 23 ถ้ำ ที่เหลือพบในเขตอำเภอทองผาภูมิ ท่าม่วง และอำเภอเมือง ขณะที่ประชากรค้างค้าวนอกเหนือจากในอุทยานแล้วอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อการถูกคุกคาม แต่ทว่าในปัจจุบันมีการค้นพบที่จังหวัดชัยภูมิด้วย
ภาพบริเวณที่พบค้างคาวคุณกิตติในพม่า พม่าเป็นชาติที่ 2 ที่มีการค้นพบค้างคาวคุณกิตติ ไทยพบก่อนพม่าอีก โดยพม่าพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2544 มีการพบค้างคาวคุณกิตติในประเทศพม่า ใน 9 แห่ง ในแถบเทือกเขาหินปูนบริเวณแม่น้ำสาละวิน แม่น้ำอัตทะรัน (Ataran), และแม่น้ำคเยง (Gyaing) ของรัฐกะเหรี่ยงและรัฐมอญ ค้างคาวที่พบในประเทศไทยและประเทศพม่ามีรูปร่างลักษณะภายนอกเหมือนกันแต่พบความแตกต่างกันในเรื่องของการใช้คลื่นเสียงในการนำทางหรือกำหนดทิศทาง ซึ่งยังไม่รู้สาเหตุว่าทำไมประชากรของทั้งสองประเทศจึงมีการวิวัฒนาการแยกจากกันไป
ขอขอบพระคุณรูปภาพและข้อมูลจากth.wikipedia.org
www.youtube.com