ประวัติลายครามในจีน ลายครามพื้นเป็นลายน้ำเงินหรือสีคราม มีการค้นพบเศษเครื่องปั้นดินเผาที่ขุดค้นพบที่ซากเมืองโบราณยิน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยราชวงศ์ซางเป็นหลักฐานที่ยืนยันว่าวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบลายครามของจีนเกิดในสมัยนั้น ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฮั่นเทคนิคการเผาได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เครื่องปั้นดินเผาลดความสำคัญลงไปโดยมีเครื่องเคลือบลายครามเข้ามาแทนที่ ในสมัยราชวงศ์ถังการสร้างสรรค์ทางศิลปะและเทคนิคการผลิตเครื่องปั้นดินเผาได้รับการพัฒนาจนสุกงอมทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เครื่องเคลือบลายครามสีเขียวอ่อน เครื่องเคลือบลายครามสีขาวและเครื่องเคลือบลายครามสามสีถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงเทคนิคและศิลปะการผลิตขั้นสูงสุดของเครื่องเคลือบลายครามในสมัยราชวงศ์ถัง ต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวน มีเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบลายครามจำนวนมากจำหน่ายไปยังต่างประเทศ โดยลายครามนั้นเริ่มพัฒนามาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวนนี้เอง ในสมัยราชวงศ์ซ่ง อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบลายครามเจริญรุ่งเรืองมาก จึงมีเตาเผาที่มีชื่อเสียงในการผลิตเกิดขึ้นมากเช่นกัน จนมาถึงสมัยราชวงศ์หมิงจนถึงราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นยุคที่อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบลายครามของจีนรุ่งเรืองถึงขีดสุด เทคนิคและฝีมือการผลิตในยุคนี้ก็ได้รับพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งเช่นกัน โดยเฉพาะมณฑลเจียงซี ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน ทางสยามได้เรียกชื่อเครื่องถ้วยที่ทำมาจากมณฑลนี้ว่า เครื่องถ้วยกังไส
ภาพจานลายคราม จปรประวัติลายครามในสยาม ประเทศไทยมีการขุดค้นพบลายครามเป็นจำนวนมากที่ ในหลายจังหวัดเช่น เชียงใหม่ พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ลำพูน สุโขทัย ส่วนการนำเข้ามาของลายครามในสยามนั้นยังไม่ทราบแน่ชัดแต่มีหลักฐานที่เก่าแก่มาว่าในสมัยทวารวดี ในบันทึกของหลวงจีนฟาเหียนได้กล่าวถึงการค้าขายระหว่างประเทศจีนและอาณาจักรทวารวดีว่า มีการนำเครื่องถ้วยจากจีนมาขาย คาดว่าน่าจะมีลายครามอยู่ด้วย
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจากหนังสือเครื่องถ้วยในเมืองไทย เครื่องลายครามของสำนักพิมพ์เมืองโบราณ
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนเล่มที่
www.bloggang.comwww.sanook.comwww.tcbl-thai.netwww.weloveshopping.com