ภาพฉิ่งจีนประวัติฉิ่งในสยาม ฉิ่ง เป็นเครื่องดนตรีที่มีอิทธิพลมาจากจีน ไม่ทราบแน่ชัดว่าเข้าเมืองสยามแต่เมื่อใด แต่มีปรากฏในไตรภูมิพระร่วง สมัยกรุงสุโขทัย ตามชื่อเดิมไตรภูมิพระร่วงซึ่งกล่าวติดกันเป็น “ฉิ่งแฉ่ง” ฉิ่งแยกออกก็คือ “ฉิ่ง” ส่วน “แฉ่ง” ก็คือ ฉาบ
ประวัติระบำฉิ่ง ระบำฉิ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยคุณครูลมุล ยมะคุปต์นำออกให้ชาวต่างชาติชมเมื่อปี พ.ศ. 2500 ตามทำนองเพลงของหลวงประดิษฐ์ ไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) ณ.บ้านศิลปบรรเลง ตำบลบ้านบาตร (คาดว่าเป็นกรุงเทพมหานคร) ต่อมาพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภานุพันธ์ยุคล ได้ทรงเห็นการแสดงชุดหนึ่งของชาวทิเบต ซึ่งใช้"ฉิ่ง"ประกอบท่ารำพระองค์จึงได้มาปรึกษากับครูมนตรี ตราโมทและครูลมุล ยมะคุปต์ให้คิดประดิษฐ์ท่วงทำนองเพลงและท่ารำเพื่อแสดงในงาน "นาฏลีลา น้อมเกล้า" ณ.โรงละครแห่งชาติซึ่งเป็นการเฉลิมวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวเถลิงถวัลยราชสมบัติ ปีที่ 36 ครูลมุลจึงได้ร่วมมือกับครูเฉลย ศุขะวณิช คิดประดิษฐืท่าระบำฉิ่งจนสำเร็จเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2525แสดงโดยนักเรียนของวิทยาลัยนาฏศิลปจำนวน 8 คนในการแสดงครั้งนั้นได้ใช้ฉิ่งทิเบตซึ่งพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภานุ พันธ์ยุคล ได้ประทานมาประกอบการแสดง ต่อมาวิทยาลัยนาฏศิลปได้ปรับปรุงการแสดงของระบำฉิ่งขึ้นใหม่เพื่อแสดงในงาน ดนตรีไทยมัธยมศึกษาครั้งที่8 ณ.สังคีตศาลาเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2525โดยคงท่ารำตามรูปแบบเดิมไว้แต่ดัดแปลงเครื่องแต่งกายแบบพันทางทิเบต มาเป็นแบบสตรีสูงศักดิ์ในราชสำนักไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้ได้นำเอาฉิ่งไทยซึ่งมีเสียงกังหวานแหลมใสมาใช้แทนฉิ่งทิเบต
จากchinese-instrument.blogspot.com
www.abearsoldwares.comwww.t5surat.ac.thwww.youtube.comภาพตัวอย่างของฉิ่งทิเบต