ที่มาของชื่อ Lionคำว่า lion คล้ายกับหลายคำในกลุ่มภาษาโรมานซ์ซึ่งกลายมาจากภาษาละติน "leo" และภาษากรีกโบราณ "λέων" (leon) คำในภาษาฮีบรู "לָבִיא" (lavi) ก็อาจเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน สิงโตเป็นหนึ่งสปีชีส์ที่ถูกจัดจำแนกโดยลินเนียสผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้แก่สิงโตว่า Felis leo ซึ่งปรากฎอยู่ในงานของเขาในคริสต์ศตวรรษที่ 18 Systema Naturae[4] องค์ประกอบในการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ Panthera leo มักจะสันนิษฐานว่ามาจากภาษากรีก pan- ("ทั้งหมด") และ ther ("สัตว์ร้าย") แต่ก็อาจจะเป็นศัพทมูลวิทยาพื้นบ้าน แม้ว่าคำนี้จะกลายเป็นภาษาอังกฤษจากภาษาแบบแผน แต่เนื่องจากคล้ายคำ pundarikam "เสือ" ในภาษาสันสกฤตอย่างมาก ซึ่งคำนี้อาจมาจากคำ pandarah "ขาว-เหลือง
ภาพเสาพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นรูปสิงโตอินเดีย 4 ตัวหันหลังชนกัน
ปัจจุบันทางประเทศอินเดียถือว่าเป็นตราแผ่นดินประวัติของสิงโต สิงโตเป็นสปีชีส์ในสกุล Panthera และเป็นญาติใกล้ชิดกับสปีชีส์อื่นในสกุลเดียวกันคือ เสือโคร่ง เสือจากัวร์ และเสือดาว Panthera leo มีวิวัฒนาการในทวีปแอฟริการะหว่าง 1ล้านถึง 800,000 ปีมาแล้ว ก่อนจะแพร่กระจายไปทั่วภูมิภาคซีกโลกตอนเหนือ สิงโตปรากฎตัวในทวีปยุโรปครั้งแรกเมื่อ 700,000 ปีก่อน ซึ่งมีการค้นพบสิงโตชนิดย่อย Panthera leo fossilis ที่อีแซร์เนีย (Isernia) ในประเทศอิตาลี จากสิงโตชนิดนี้ก็กลายเป็นสิงโตถ้ำ (Panthera leo spelaea) ในภายหลัง ปรากฎตัวขึ้นเมื่อ 300,000 ปีมาแล้ว ระหว่างปลายสมัยไพลสโตซีน สิงโตได้แพร่กระจายสู่อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้และวิวัฒนาการเป็นสิงโตอเมริกา (Panthera leo atrox) สิงโตได้สูญหายไปจากตอนเหนือของทวีปยูเรเชียและทวีปอเมริกาในช่วงจุดจบของการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งครั้งสุดท้ายเมื่อ 10,000 ปีมาแล้ว ซึ่งอาจเป็นเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งที่สองของมหพรรณสัตว์ (megafauna) ในสมัยไพลสโตซีน ปัจจุบันเราสามารถพยสิงโตตามธรรมชาติได้ในทวีปแอฟริกาและอุทยานแห่งชาติป่ากีร์ ของประเทศอินเดียเท่านั้นส่วนตามทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาต่างสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว
อิทธิพลของสิงโตในวัฒนธรรม- ในสมัยอียิปต์โบราณมีเทพเจ้าอียิปต์บางพระองค์เป็นสิงโต และมีการสร้างสฟิงซ์ (สัตว์ในตำนานของอียิปต์แบะกรีกโบราณมีร่างกายเป็นสิงโตแต่มีศีรษะเป็นสิงโต) เป็นต้น
- ในทวีปยุโรปมีหลายประเทศใช้สิงโตเป็นสัตว์ลักษณ์ เช่น เป็นสัตว์ประจำชาติมากที่สุด แม้ประเทศเหล่านั้นจะไม่มีสิงโตตามธรรมชาติเลยก็ตาม
- ในวัฒนธรรมของอินเดีย มีสิงโตอยู่มากมาย เช่น หัวเสาหินสลักในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชที่เป็นรูปสิงโตอินเดีย รวมถึงปรัมปราในศาสนาฮินดูที่เป็นศาสนาพื้นเมืองของอินเดีย ก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสิงโตอยู่มาก
- ในวัฒนธรรมจีนมีการละเล่นเชิดสิงโต ซึ่งในประเทศจีนเองไม่มีสิงโตเป็นสัตว์พื้นเมือง เชื่อว่าเป็นการรับมาจากอินเดียหรือเปอร์เซีย ส่วนรูปปั้นสิงโตในจีนก็คาดว่ามาจากอินเดียเช่นกัน
- ประเทศไทยเป็นประเทศที่ไม่พบสิงโตตามธรรมชาติแต่วรรณคดีไทยหลายเรื่องก็กล่าวถึงสิงโตเช่น ลักษณวงศ์ สิงหไกรภพ โคบุตร พระอัยมณี พระเวสสันดรชาดก ฯลฯ
ภาพบริเวณที่พบสิงโตตามธรรมชาติบนโลกในปัจจุบันขอขอบพระคุณรูปภาพและข้อมูลจากหนังสือสัตว์ในวรรณคดีไทย
th.wikipedia.org
www.crystalfigurines.netภาพสฟิงซ์กรีกมีปีกด้วย