คลิปอนิเมชันจินตนาการประภาคารฟาโรส ประภาคารแห่งแรกของโลกประวัติประภาคารสากลประภาคาร คือ หอคอย หรือสิ่งก่อสร้างที่สูงเด่น มองเห็นได้ไกล มีไฟสัญญาณที่มีความสว่างมาก ติดตั้งอยู่บนยอด เพื่อเป็นที่หมายนำทางให้กับชาวเรือไปสู่จุดหมายที่ถูกต้อง โดยทั่วไปจะก่อสร้างประภาคารขึ้นทางปากทางเข้าท่าเรือ อ่าว หรือ เเม่น้ำ ที่มีความสำคัญ เเละจำเป็นต่อการเดินเรือ หรือก่อสร้างตามตำบลที่ที่จะเป็นอันตรายต่อการเดินเรือ เช่นที่ตื้น หินใต้น้ำ ร่องน้ำ ปกติจะมีคนเฝ้า เพื่อเเก้ไขข้อขัดข้อง เช่นไฟดับ หากไม่เเก้ไขในทันทีอาจเกิดอันตราย เช่น เรือชนกัน หรือ ติดตื้น ส่วนตำบลที่มีความสำคัญไม่มากนัก แต่ก็มีความจำเป็นก็สร้าง “กระโจมไฟ” (Light Beacon) ซึ่งไม่ต้องมีคนคอยเฝ้า เเต่ใช้เครื่องอัตโนมัติควบคุมการส่งสัญญาณให้เห็นในเวลากลางคืน เเละดับในเวลากลางวัน หากไฟสัญญาณขัดข้องก็ส่งคนไปเเก้ไขภายหลัง นอกจากนี้หากมีตำบลที่มีความสำคัญในทะเล เเต่ไม่สะดวกในการก่อสร้างประภาคารหรือถ้าสร้างเเล้วจะสิ้นเปลืองมาก ก็ใช้ทุ่นไฟ (Light Bouy) ไปวางไว้ ณ จุดนั้นเเทน เเต่ทุ่นไฟก็มีข้อเสีย คือ เคลื่อนที่ได้เมื่อคลื่นลมจัด เพราะสมอที่ยึดอยู่ทานกำลังคลื่นลมไม่ไหว จึงจำเป็นต้องมีคนตรวจสอบตำบลให้ถูกต้องอยู่เสมอ เเต่ถ้าตำบลที่มีความสำคัญมากจำเป็นต้องมีคนเฝ้า ก็ต้องสร้างเป็น “เรือทุ่นไฟ” (Lightship) เพื่อให้คนพักอาศัยคอยเเก้ไขข้อขัดข้อง
ภาพป้อม Qaitbay ซึ่งสร้างทับบนฐานประภาคารฟาโรสประภาคาร หรือกระโจมไฟ ได้เกิดมีขึ้นครั้งเเรกในโลกในประวัติศาสตาร์สากลสมัยโบราณ ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ชาติที่มีการเดินเรือค้าขายติดต่อกัน ในสมัยนั้นก็มี กรีก ฟินีเซีย อียิปต์ และเปอร์เซีย เป็นต้น เรือในสมัยนั้นขับเคลื่อนด้วยแรงคนตีกรรเชียง เรือเหล่านี้ ได้อาศัยภูเขาไฟซึ่งมีอยู่มากมายในบริเวณนั้น เป็นที่หมายในการนำเรือ ครั้นภูเขาไฟดับ ก็ได้จุดไฟขึ้นแทน ซึ่งวิธีการนี้เป็นต้นกำเนิดความคิดในการสร้างกระโจมไฟขึ้นในเวลาต่อมา ตามประวัติประภาคารแห่งแรกของโลก คือประภาคารฟารอสแห่งเกาะอเล็กซานเดรียซึ่งตั้งอยู่บนเกาะฟาราส เมืองอะเล็กซานเดรีย (Alexandria) ประเทศอียิปต์อียิปต์ มีชื่อว่าฟารอสแห่งอะเล็กซานเดรีย (Pharos of Alexandria) ประภาคารนี้ สร้างโดยชาวกรีก ชื่อ ซอสตราตุสหรือโซรเตตุส (Sostratus) ชาวเมืองไนดัส (Cnidus) ในสมัยฟาโรห์ปโตเลมีที่ 2 สร้างขึ้นระหว่างปี 280 และ 247 ก่อน ค.ศ. มีการสร้างตัวประภาคารสูง 85 เมตร (280 ฟุต) ใช้แสงสว่างจากไฟเผาไม้ มีแผ่นโลหะช่วยสะท้อนแสงทำให้เห็นได้ไกล 56 กม. (35 ไมล์) ต่อมาพวกอาหรับเข้ายึดครองเมือง ประภาคารก็ถูกรื้อทิ้งไป เล่ากันว่าพวกอาหรับถูกสายลับซึ่งจักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ (โรมันตะวันออก) ส่งมาหลอกลวงให้ทำลายประภาคารเสีย เพื่อไม่ให้ใช้มันเป็นประโยชน์ในการเดินเรือของพวกอาหรับ สายลับอ้างว่าข้างใต้ประภาคารมีขุมทรัพย์ฝังอยู่ แต่หลังจากประภาคารถูกทำลายไปแล้วพวกอาหรับถึงตระหนักว่าเสียรู้ ในช่วงนั้นกระจกขนาดใหญ่ก็หล่นร่วงลงมาและแตกละเอียดเป็นผุยผง มีบางส่วนของประภาคารหลงเหลือ และส่วนนี้ก็ยังคงมีอยู่ให้เห็นจนปี ค.ศ. 956 เกิดแผ่นดินไหว และมีผู้บันทึกว่าประภาคารพังทลายไปแล้วในปี ค.ศ.1303 และ ค.ศ.1323 อันเนื่องจากแผ่นดินไหวในเวลาที่บันทึกนั้น ต่อมาสุลต่านแห่งอียิปต์เคิตเบย์ได้สร้างป้อม Qaitbay โดยใช้ซากจากประภาคารและสถานที่เดิมของประภาคารคือเกาะฟาโรสในการสร้าง เพื่อเป็นป้อมปราการ ในปี ค.ศ.1480 ในปี ค.ศ. 1994 นักโบราณคดีได้ดำน้ำสำรวจบริเวณปากอ่าวอเล็กซานเดรีย พบหลักฐานของสิ่งที่เชื่อว่าเป็นซากชิ้นส่วนของประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย ซึ่งบางส่วนเป็นหินที่หนักถึง 70 ตันและเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ
ในปัจจุบัน ประภาคารนอกจากจะเป็นที่ส่งสัญญาณไฟ เพื่อเป็นที่หมายให้ชาวเรือแล้ว ยังมีสัญญาณอย่างอื่นอีก เช่น “สัญญาณหมอก” ซึ่งจะส่งเป็นเสียงหวูด ไซเรน หรือ ระฆัง ในเวลาที่มีหมอกโดยอัตโนมัติ และมี “สัญญาณวิทยุ” เพื่อให้ชาวเรือหาทิศทางที่ตั้งของประภาคารจากสัญญาณที่ส่งออกไปนั้น เพื่อนำไปกำหนดตำบลที่ของเรือในทะเลได้ ประภาคารบางแห่งยังมีสัญญาณแสดงให้ทราบความลึกของน้ำในเวลาที่เรือผ่านบริเวณนั้นด้วย
ประวัติประภาคารในสยามประภาคาร ได้มีการก่อสร้างขึ้นในประเทสสยามครั้งแรกในสมัย ร. 5 สมัยนั้น ได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น มีเรือที่จะเข้าออกปากน้ำเจ้าพระยามากมาย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการในขณะนั้นได้ให้สร้างประภาคารขึ้นที่ปากน้ำเจ้าพระยา โดยทุนทรัพย์ส่วนตัว ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 1 พ.ศ. 2417 กล่าวว่าค่าก่อสร้างเป็นเงิน 225 ชั่ง 5 ตำลึง 5 สลึง หรือเท่ากับ 18,021.25 บาท ที่ตำบลที่ ละติจูด 13 0 29 / 26 // เหนือ ลองติจูด 100 0 35 / 20 // ตะวันออก โดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้ส่งให้พระสยามธุรพาห์กงสุลไทยที่กรุงลอนดอน เป็นผู้ซื้อตัวเรือนตะเกียงส่งมาให้ และท่านได้ควบคุมการก่อสร้างตัวประภาคารเอง ได้เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2413 สร้างเสร็จเปิดใช้ได้ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2417 เหตุที่ล่าช้า เพราะขณะทำการก่อสร้างนั้นตัวประภาคารได้ทรุดลง เนื่องจากลงฐานครั้งแรกไม่ดี จึงแก้ไขใหม่ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้ยกให้เป็นสมบัติของแผ่นดิน จึงเรียกชื่อประภาคารแห่งนี้เป็นภาษาอังกฤษว่า Regent Lighthouse เพื่อเป็นเกียรติแก่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ส่วนชื่อภาษาไทยนั้น ในหลักฐานของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือเรียกว่า “ประภาคารสันดอนปากน้ำเจ้าพระยา” แต่คนทั่วไปเรียกว่า “กระโจมไฟสันดอน” กระโจมไฟแห่งนี้ได้ใช้มาจนถึงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2472 จึงได้เลิกใช้ เนื่องจากชำรุดทรุดโทรมมาก รวมเวลาที่ใช้อยู่ 55 ปี 22 วัน ต่อมาได้มีการสร้างประภาคารและกระโจมไฟขึ้นอีก ทั้งในอ่าวไทยและทางฝั่งทะเลด้านมหาสมุทรอินเดีย ได้มีการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้านายชั้นสูงที่เกี่ยวข้าองกับกิจการทหารเรือ เช่น “ประภาคารอัษฎางค์” “ประภาคารอาภากร” “ประภาคารพาหุรัด” “กระโจมไฟโสมรังสี” “กระโจมไฟสยามเทวี” ส่วนทางด้านมหาสมุทรอินเดีย ก็มีกระโจมไฟที่มีชื่อคล้องจองกัน เช่น “ปัชโชติวชิราภา” (จ.กระบี่) “นิสาวชิรกาส” (จ.สตูล) “ประภาสวชิรกานต์” (จ.พังงา) “อาโลกวชิรยุตต์” (จ.ตรัง) “สมุทรวชิรนัย” (จ.กระบี่) เป็นต้น
จากen.wikipedia.org
th.wikipedia.org
thaiboardgame.net
www.navy.mi.thwww.wonder7th.com www.youtube.com