คลิปนาฏศิลป์พม่าซึ่งได้อิทธิพลมาจากไทยประวัติประวัติศาสตร์นาฏศิลป์ของพม่านั้นเริ่มมีหลักฐานที่แน่ชัด คือภายหลังกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 โดยพม่าได้กวาดต้อนเชลยชาวกรุงศรีอยุธยา ทั้งชาววัง ชาวบ้าน นางรำ ด้วยเหตุนี้เองนาฏศิลป์ของพม่าจึงได้รับอิทธิพลมาจากไทย แต่ก่อนหน้าเหตุการณ์การเผากรุงศรีอยุธยานั้น นาฏศิลป์พม่าจะเป็นของพื้นเมืองมากกว่าได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ นาฏศิลป์พม่าเริ่มต้นจากพิธีทางศาสนา ต่อมาเมื่อพม่ามีการติดต่อกับอินเดียและจีน ท่าร่ายรำของ 2 ชาติดังกล่าว ก็จะมีอิทธิพลในนาฏศิลป์พื้นเมืองของพม่า แต่ท่าร่ายรำของเดิมมีความเป็นเอกลักษณ์ของพม่าจริงๆ
นาฏศิลป์พม่า 3 ยุค1. ยุคก่อนรับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นยุคของการนับถือผี การฟ้อนรำเป็นไปในการทรงเจ้าเข้าผี บูชาผีและบรรพบุรุษที่ตายไปแล้ว ต่อมาก็มีการฟ้อนรำในงานพิธีต่างๆ เช่น โกนจุก
2. ยุคนับถือพระพุทธศาสนาพม่ารับนับถือศาสนาพุทธหลังปี พ.ศ. 1559 ในสมัยนี้การฟ้อนรำเพื่อบูชาผีก็ยังมีอยู่ และการฟ้อนรำกลายเป็นส่วนหนึ่งของการบูชาในพุทธศาสนาด้วย หลังปี พ.ศ. 1800 เกิดมีการละครแบบหนึ่ง เรียกว่า "นิพัทขิ่น" เป็นละครเร่ แสดงเรื่อง พุทธประวัติเพื่อเผยแพร่ความรู้ในพุทธศาสนา เพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจเรื่องราวได้ง่าย ต่อมาเพื่อให้ความสนุกสนานจึงได้เพิ่มบทตลกให้มากขึ้น บทตลกนี้ไม่มีเขียนไว้ ผู้แสดงต้องหามุขแทรกเอาเอง ตัวตลกนั้นมีทั้งหญิงและชาย มักจะเป็นสาวใช้ คนใช้ คนสนิทของตัวเอก ต่อมาบทของเทวทัตต์ก็กลายเป็นบทตลกไปด้วย ละครนิพัทขิ่น มักจะแสดงเรื่องพุทธประวัติ ตอนตรัสรู้ เพราะไม่นิยมแสดงบทบาทของพระพุทธเจ้า หรือพระสาวกองค์สำคัญ ต่อมาพม่าได้รับอิทธิพลของอินเดียโดยผ่านทางเขมร ละครนิทัทขิ่นจึงแสดงเรื่องอื่นๆ เช่น รามายณะ เทพนิยายต่างๆ และเหตุการณ์ในราชสำนัก
3. ยุคอิทธิพลละครไทยหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในปี พ.ศ. 2310 ชาวไทยก็ถูกกวาดต้อนไปเป็นจำนวนมาก พวกละครและดนตรี ถูกนำไปไว้ในราชสำนัก เกิดความนิยมละครแบบไทยขึ้น จึงถือเป็นเครื่องประดับราชสำนัก นิยมให้เด็กพม่าหัดละครไทย ละครแบบพม่าในยุคนี้เรียกว่า "โยธยาสัตคยี" หรือละครแบบโยธยา ท่ารำ ดนตรี และเรื่องที่แสดงรวมทั้งภาษาที่ใช้ก็เป็นของไทย มีการแสดงอยู่ 2 เรื่อง คือ รามเกียรติ์ เล่นแบบโขน และอิเหนา เล่นแบบละครใน ในปี พ.ศ. 2328 เมียวดี ข้าราชการพม่า ได้คิดละครแบบใหม่ขึ้น ชื่อเรื่อง "อีนอง" ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับอิเหนามาก มีสิ่งที่แปลกออกไปคือตัวละคร ตัวละครของเรื่องนี้ มีลักษณะเป็นมนุษย์ธรรมดาสามัญที่มีกิเลส มีความดีความชั่ว ละครเรื่องนี้เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดละครในแนวนี้อีกหลายเรื่อง ต่อมา ละครในราชสำนักเสื่อมความนิยมลง เมื่อกลายเป็นของชาวบ้านก็ค่อยๆ เสื่อมลง แต่ละครแบบนิพัทขิ่นกลับเฟื่องฟูขึ้น แต่ก็ลดมาตรฐานลงจนกลายเป็นจำอวด เมื่อประเทศพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษแล้ว ในปี พ.ศ. 2428 ละครหลวงและละครพื้นเมืองซบเซา ต่อมามีการละครที่นำแบบอย่างมาจากอังกฤษและบัลเลต์เข้าแทนที่ ถึงสมัย ปัจจุบันนี้ละครของเก่าคู่บ้านคู่เมืองของพม่าจึงหาชมได้ยาก
ระบำไทยพม่าอธิษฐานระบำชุดนี้จัดเป็นระบำชุดพิเศษที่มีความหมายในด้านเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ในปี พ.ศ.2498 ๆพลๆ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้มีบัญชาให้กรมศิลปากรนำคณะนาฏศิลป์ไปแสดงเผยแพร่ในฐานะทูตวัฒนธรรม ณ ประเทศ พม่า ท่านผู้หญิง แผ้ว สนิทวงศ์เสนี, ครู ลมุล ยมะคุปต์เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ ครูมนตรี ตราโมท เป็นผู้ประพันธ์บทร้องและทำนองเพลง นายวิชิต มณไทวงศ์ ถอดคำแปลเป็นภาษาพม่าท่ารำเป็นท่ารำของนาฏศิลป์ไทยและลีลานาฏศิลป์พม่า ผสานกันนับว่าเป็นการแสดงที่สวยสดงดงามอีกชุดหนึ่ง
ขอขอบพระคุณรูปภาพและข้อมูลจากgotoknow.org
www.bloggang.comwww.korattheatre.go.thwww.ramthai.ob.tcwww.tkc.go.thwww.youtube.com