วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 เปตอง การละเล่นจากกรีซโบราณ สู่กีฬาประจำชาติฝรั่งเศส

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

เปตอง การละเล่นจากกรีซโบราณ สู่กีฬาประจำชาติฝรั่งเศส Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: เปตอง การละเล่นจากกรีซโบราณ สู่กีฬาประจำชาติฝรั่งเศส   เปตอง การละเล่นจากกรีซโบราณ สู่กีฬาประจำชาติฝรั่งเศส EmptySun Oct 28, 2012 10:50 am

เปตอง การละเล่นจากกรีซโบราณ สู่กีฬาประจำชาติฝรั่งเศส 450px-Petanque_on_a_beach_of_Nice
ภาพการเล่นเปตองที่ชายหาดเมืองนิส ประเทศฝรั่งเศส

ประวัติ
เปตองเป็นกีฬาที่มีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ประวัติที่แน่นอนไม่มีบันทึกไว้ แต่หลักฐานการเล่นที่แน่ชัดว่า กำเนิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศกรีซเมื่อประมาณ 2,000 ปี ก่อน ค.ศ. โดยเก็บก้อนหินที่เป็นทรงกลมจากภูเขาและใต้ทะเลมาเล่นกัน วิธีการเล่นคือ ใครจะโยนได้แม่นยำและไกลที่สุดกว่ากัน เมื่อโรมันครอบครองกรีซโบราณ ก็ได้รับการเล่นกีฬาประเภทนี้ด้วย ชาวโรมันได้ใช้กีฬาเปตอง เป็นเครื่องทดสอบกำลังข้อมือและกำลังกายของผู้ชายในสมัยนั้น ต่อมาเมื่อจักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองดินแดนชาวโกลหรือประเทศฝรั่เศสในปัจจุบัน ชาวโรมันก็ได้นำเอาการเล่นลูกบูลประเภทนี้เข้าไปเผยแพร่ทางตอนใต้ของประเทศ ฝรั่งเศส การเล่นลูกบูลจึงได้พัฒนาขึ้นโดยเปลี่ยนมาใช้ไม้เนื้อแข็งถากเป็นรูปทรงกลม แล้วใช้ตะปูตอกรอบๆ เพื่อเพิ่มน้ำหนักของลูกให้เหมาะกับมือ ในช่วงยุคกลางการเล่นลูกบูลนี้จึงเป็นที่นิยมเล่นกันแพร่หลายในประเทศฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระองค์ได้ทรงประกาศสงวนกีฬาการเล่นลูกบูลนี้ไว้สำหรับผู้สูงเกียรติ และให้เล่นได้เฉพาะพระราชสำนักเท่านั้น ต่อมาในสมัยพระเจ้านโปเลียนมหาราชขึ้น พระองค์ได้ทรงประกาศใหม่ ให้การเล่นลูกบูลนี้เป็นกีฬาประจำชาติของฝรั่งเศสและเปิดโอกาสให้ประชาชน ทั่วๆ ไป ได้เล่นกันอย่างเสมอภาคทุกคน การเล่นลูกบูลนี้จึงได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ตลอดมา เช่น โดยการนำเอาลูกปืนใหญ่ที่ใช้แล้วมาเล่นกันบ้างอย่างสนุกสนามและเพลิดเพลิน จนมีการตั้งชื่อเกมกีฬาประเภทนี้ขึ้นมาเล่นอย่างมากมายต่างๆ กัน เช่น บูลเบร-รอตรอง, บูลลิโยเน่ส์, บูลเจอร์ เดอร์ลอง และบลู-โปรวังซาล เป็นต้น ในปลายครสิต์ศตวรรษที่ 19 ประเทศฝรั่งเศสก็ได้เป็นประเทศแรกของโลกที่ได้ออกกฎเกณฑ์ข้อบังคับกติกาการ เล่นกีฬาลูกบูลโปรวังซาลขึ้น โดยให้วิ่ง 3 ก้าวก่อนโยนลูกบูล การเล่นกีฬาประเภทนี้จึงเป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายทั่วไปในประเทศ ฝรั่งเศส และมีการแข่งขันชิงแชมป์กันขึ้นโดยทั่วไป ในปี ค.ศ. 1910 ตำบลซิโอต้าท์ เมืองท่ามาร์แชรด์ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส การเล่นกีฬาลูก บูล-โปรวังซาลได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นขึ้นใหม่ โดยนายจูลร์-เลอนัวร์ ซึ่งเป็นผู้มีฝีมือในการเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาลเก่งกาจที่สุดในขณะนั้น และได้เป็นแชมป์โปรวังซาลในยุคนั้นด้วยแต่ได้ประสบอุบัติเหตุอย่างร้ายแรงจน ขาทั้งสองข้างพิการเดินไม่ได้ไม่สามารถจะเล่นกีฬาโปรวังซาลเหมือนเดิมได้ ต้องนั่งรถเข็นดูเพื่อนๆ เล่นกันอย่างสนุกสนาน โดยที่ตนเองไม่มีโอกาสได้ร่วมเล่นเลย วันหนึ่งขณะที่นายจูลร์ เลอนัวร์ ได้นั่งรถเข็นมองดูเพื่อนๆ เล่นเกมโปรวังซาลอย่างสนุกสนานอยู่นั้น น้องชายเห็นว่าพี่ชายมีอาการหงอยเหงาเป็นอย่างมาก น้องชายของเขาจึงได้คิดดัดแปลงแก้ไขกติกาการเล่นขึ้นใหม่ โดยการขัดวงกลมลงบนพื้น แล้วให้ผู้เล่นเข้าไปยืนในวงกลม ให้ขาทั้งสองยืนชิดติดกัน ไม่ต้องวิ่งเหมือนกีฬาโปรวังซาล ทั้งนี้โดยมีเพื่อนๆ และญาติของนาย จูลร์ เลอนัวร์ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ นายจูลร์ เลอนัวร์ จึงได้มีโอกาสร่วมเล่นกีฬาบูล-โปรวังซาล ที่ดัดแปลงขึ้นใหม่นี้อย่างสนุกสนามและพลิดเพลินเหมือนเดิม เกมกีฬาบูล-โปรวังซาล ที่ดัดแปลงขึ้นใหม่นี้ได้กำหนดขึ้นโดยมีสมาชิกครั้งแรกประมาณ 50 คน พวกเขาพยายามประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่เกมใหม่เป็นเวลาถึง 30 ปี จึงได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ หลังจากนั้นก็ได้ แพร่หลายเข้าสู่นักกีฬา นักการเมือง และข้าราชการประจำในราชสำนัก จนในที่สุดก็ได้มีการก่อตั้ง "สหพันธ์ เปตองและโปรวังซาล" ขึ้นในปี ค.ศ.- 1938 จากนั้นจำนวนสมาชิกก็เพิ่มขึ้นแสนๆ คน มีบุคคลทุกระดับชั้นทุกเพศ ทุกวัยเข้าเป็นสมาชิก ลูกบูลที่ใช้เล่นก็มีการคิดค้นทำเป็นลูกโลหะผสมเหล็กกล้า ข้างในกลวง การเล่นจึงมีความสนุกสนานเร้าใจยิ่งขึ้นกว่าเดิม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1945 การเล่นกีฬาลูกบูล-โปรวังซาลที่ได้ดัดแปลงแก้ไขใหม่นี้ได้รับความนิยมเล่น มากขึ้น และได้แพร่หลายไปตามหัวเมืองต่างๆ อย่างรวดเร็วทั่วประเทศฝรั่งเศส ตลอดจนถึงดินแดน อาณานิคมของฝรั่งเศสอีกด้วย การเล่นกีฬาลูกบูลนี้ได้แบ่งแยกการเล่นออกได้เป็น 3 ประเภทคือ

1. ลิโยเน่ล์
2. โปรวังชาล (วิ่ง 3 ก้าวแล้วโยน)
3. เปตอง (ที่นิยมเล่นในปัจจุบัน)

เปตองมาจากคำว่า Petanque มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า บิเยส์-ตองเกร์ ซึ่งมีความหมายว่า ให้ยืนสองเท้าชิดติดกัน ต่อมาเปลี่ยนเป็น เปตอง ในปัจจุบันชาวฝรั่งเศสกว่า 17 ล้านคนนิยมเล่นกีฬาชนิดนี้ในยามว่าง

เปตอง การละเล่นจากกรีซโบราณ สู่กีฬาประจำชาติฝรั่งเศส Boule.kugel
ประวัติเปตองในไทย
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 17 ของโลกที่เป็นสมาชิกของ "สหพันธ์เปตองนานาชาติ ผู้นำกีฬาเปตองเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยให้เป็นที่รู้จัก และเป็นทางการคนแรก คือ อาจารย์จันทร์ โพยหาญ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2518-2519 และได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) ซึ่งทรงโปรดกีฬาชนิดนี้ตั้งแต่เมื่อทรงประทับอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ และสนับสนุนให้มีการเล่นกีฬาเปตองในประเทศไทย ต่อมาได้มีคณะรณรงค์เผยแพร่กีฬาเปตอง คือ นายศรีภูมิ สุขเนตร (นักเรียนเก่าฝรั่งเศส) ซึ่งมีความรู้ความสามารถในการเล่นกีฬาเปตอง พร้อมด้วยนายชัยรัตน์ คำนวน และนายดนัย ตรีทัศนถาวร และต่อมาก็ได้ร่วมกันก่อตั้ง "สมาคมเปตองแห่งประเทศไทย" เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2519 ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สหพันธ์เปตองแห่งประเทศไทย" โดยมี นายศรีภูมิ นุขเนตร เป็นนายกสมาคมคนแรก

ขอขอบพระคุณรูปภาพและข้อมูลจาก
clubpetanque.igetweb.com
en.wikipedia.org
th.wikipedia.org
www.monhapol.com
www.sport-za.com
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
เปตอง การละเล่นจากกรีซโบราณ สู่กีฬาประจำชาติฝรั่งเศส
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: กีฬาและการละเล่นจากต่างแดน-
ไปที่: