ภาพฟอสซิลดอกทานตะวัน ทางตอนใต้ของอาร์เจนตินา อายุปรมาณ 4.75 ล้านปีประวัติดอกทานตะวันในไทย มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกา ดอกทานตะวันเข้ามาเมืองไทยโดยชาวญี่ปุ่น นำมาปลูกที่คลองตะเคียน จังหวัดพระพระนครศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ช่วงประมาณปี พ.ศ.2199 ต่อมาดอกทานตะวันได้มีการปลูกแพร่หลายเป็นดอกไม้ที่นิยมในประเทศไทย ทานตะวัน แปลว่า การทานกั้นขวางตะวัน หรือ ต่อต้านกั้นตะวัน หากสังเกตดูให้ดีจะเห็นว่าดอก ทานตะวันจะหันดอกเข้าหาตะวัน (พระอาทิตย์) เสมอ จนบางคนถึงกับกล่าวว่า น่าที่จะเรียกว่า “ดอกตามตะวัน”
ภาพไคทีเอเฝ้ามองเทพเจ้าอพอลโล (เป็นงานศิลปะอย่าเป็นอย่างอื่นใด)ตำนานดอกทานตะวันของกรีก (มีข้อคิดสีแดงๆ ตอนท้ายนะ) นางไคลทีเอ (Clytië) เป็นพี่สาวของนางลูโคธีอา (บางที่ว่านางลูโคโธเอ) ซึ่งสุริยเทพเฮลิออส (อพอลโล) มาหลงรัก จนต้องปลอมเป็นมารดาของนางลูโคธีอาเพื่อเข้าหานาง พอเข้าห้องนางได้ก็กลับเป็นเฮลิออสร่วมหลับนอนกับนาง นางไคลทีเอซึ่งหลงรักสุริยเทพอยู่รู้เข้าก็เกิดริษยา จึงไปฟ้องกษัตริย์ออร์คามัสผู้เป็นบิดา ทำให้นางลูโคธีอาถูกลงโทษให้ฝังทั้งเป็น สุริยเทพเฮลิออสเสียใจมาก จึงบันดาลให้นางลูโคธีอากลายเป็นพุ่มไม้หอมหรือกำยาน แต่ก็ไม่ได้มารักใคร่ใยดีอะไรกับนางไคลทีเอ หนำซ้ำจะเกลียดขี้หน้าหนักเข้าเสียอีก นางไคลทีเอจึงต้องทุกข์ระทมอยู่ลำพัง นางเฝ้าคร่ำครวญหาสุริยเทพ ไม่ยอมแตะต้องทั้งอาหารและน้ำเลยติดต่อกันถึง 9 วัน จนรากงอก กลายเป็นดอกทานตะวัน คอยหันหน้าตามดวงอาทิตย์ตั้งแต่อรุณรุ่งจนกระทั่งอาทิตย์อัสดงตลอดไป อีกตำนานเล่าว่า นางไคลทีเอเป็นนางอัปสรประจำลำธาร นางหลงรักเทพอพอลโลในฐานะสุริยเทพ แต่อพอลโลไม่มีใจตอบ นางจึงได้แต่นั่งเฝ้ามองอพอลโลขับรถดวงตะวันข้ามฟากฟ้าตั้งแต่เช้าจรดเย็น ติดต่อกันถึง 9 วัน โดยไม่เป็นอันกินอันนอน จนกระทั่งกลายเป็นดอกทานตะวัน คอยเฝ้ามองดวงตะวันไปตลอดกาล ดอกทานตะวันจึงเป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคงจริงใจ เหมือนกับนางไคลทีเอที่มั่นคงต่อสุริยเทพแต่เพียงผู้เดียวจนต้องกลายเป็นดอกทานตะวันนั่นเอง
*** น่าสังเกตว่าตำนานนี้คงถูกแต่งเติมขึ้นภายหลังอย่างแน่นอน เหมือนเรื่องมัทนะพาธา เพราะดอกทานตะวันมีถิ่นกำเนิดในโลกใหม่อย่างทวีปอเมริกากลาง ชาวกรีกโบราณนั้นยังไม่รู้จักดอกไม้ในโลกใหม่อย่างดอกทานตะวันหรอก หรือเป็นไปได้ว่าตำนานดอกทานตะวันของกรีกโบราณนั้นคือดอกไม้ชนิดอื่นที่ไม่ใช่ดอกทานตะวันอย่างที่เราเข้าใจกันประโยชน์ดอกทานตะวันทานตะวันเป็นพืชให้น้ำมันโดยสกัดจากเมล็ด น้ำมันดอกทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงสามารถนำไปใช้ในการฟอกหนังและประกอบอาหาร ทานตะวันเป็นพืชที่มีบทบาทมากในการฟื้นฟูดิน
นาฏศิลป์ไทยเกี่ยวกับทานตะวัน- ระบำรัตนมาลีเป็นการแสดงที่เกี่ยวกับดอกไม้ ถูกประดิษบ์ขึ้นมาใหม่ เป็นนาฏศิลป์ประกอบไปด้วยดอกไม้ 6 ดอก 1 ในนั้น มี ดอกทานตะวัน (ในคลิปด้านบน ทานตะวันเริ่มประมาณ 5.40)
- ฟ้อนทานตะวันเป็นนาฏศิลป์ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ แต่งกายด้วยชุดทางภาคเหนือ ประดิษฐ์โดย คุณกาญจนา เล็กคง รร.ชุมชนบ้านแก่งเสือเต้น อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี การแสดงชุดนี้กล่าวถึงความงามของดอกทานตะวันของลพบุรี
ฮิมาวาริ (คาตาคานะ : ヒマワリ คันจิ : 向日葵 ตัวคันจิถ้าอ่านแบบภาษาจีนอ่านว่า เซี่ยงยรื่อขุย)
เป็นชื่อของน้องสาวชินจัง แปลว่าดอกทานะตะวัน
จากth.wikipedia.org
dragonfly.exteen.com
heritage-images.com
www.bgdna.comwww.bunjong6022.ob.tc www.dailymail.co.ukwww.pantip.comwww.youtube.com