วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 ไม้สัก ราชินีแห่งไม้ (Queen of Timbers)

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

ไม้สัก ราชินีแห่งไม้ (Queen of Timbers) Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ไม้สัก ราชินีแห่งไม้ (Queen of Timbers)   ไม้สัก ราชินีแห่งไม้ (Queen of Timbers) EmptySat Oct 27, 2012 12:37 pm

ไม้สัก ราชินีแห่งไม้ (Queen of Timbers) 240px-Tectona_grandis
ภาพผลสัก
ข้อมูลทั่วไปประวัติไม้สัก
ไม้สักเป็นต้นไม้ประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย มีถิ่นกำเนิดอยู่ในตอนใต้ของประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว (ส่วนที่ติดภาคเหนือของไทย) และอินโดนีเซีย สำหรับประเทศไทยนั้น ไม้สักจะขึ้นอยู่เป็นส่วนใหญ่ ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ บางส่วนของภาคกลางและภาคตะวันตก ตามจังหวัดเชียงราย ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน ตาก สุโขทัยกำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี
ไม้สัก ราชินีแห่งไม้ (Queen of Timbers)
บทบาททางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของไม้สักในไทย
ไม้สักเป็นหนึ่งในไม้มงคลที่ใช้ในพิธีวางศิลาฤกษ์ ที่ใช้ไม้มงคล 9 ชนิด ปักกับพื้นดิน ซึ่งหมายถึง ความมีศักดิ์ศรี ความมีเกียรติ อำนาจบารมี คนเคารพนับถือและยำเกรง นอกจากนี้ไม้สักเวลามีรอยสามารถลบรอยนั้นได้อีกด้วย ในบทบาททางประวัติศาสตร์นั้น

ไม้สักสามารถสร้างรายได้แก่ประเทศมาตั้งแต่ในอดีต อย่างจนหมายเหตุของวันวลิต ((Jeremias van Vliet-เยเรเมียส ฟาน ฟลีต) ชาวเนเธอร์แลนด์หรือฮอลันดา ผู้จัดการสถานีค้าขายของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา ได้เข้ามาค้าขายผู้มาที่กรุงศรีอยุธยาในช่วงต้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ในระหว่างปี พ.ศ. 2177-2190 (เขายังได้ภรรยาเป็นชาวไทยอีกด้วย) ได้บันทึกไว้ว่า

ครั้นวันที่ 22 และ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2179 วันวลิตได้ส่งเรือ ชื่อบอมเมล์ และวารมอนต์ บรรทุกสินค้าต่อไปนี้ไปขายที่โตยัน โดยมี

ไม้สักซุง 132 หาบ

ไม้สักแผ่น 150 แผ่น

โดยในอดีตไม้สักมักจะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยเป็นที่ต้องการของชาวตะวันตก

ต่อมา ปี พ.ศ. 2383 ชาวจีน พม่า และ เงี้ยว (ไทยใหญ่) ขออนุญาตจากเจ้าผู้ครองนครต่างๆ ในหัวเมืองทางเหนือ เข้าไปตัดไม้สักออกจากป่า โดยเสียเงินค่า "ตอไม้" ให้แก่เจ้าผู้ครองนครที่เป็นเจ้าของป่า หลังจากที่รัฐบาลไทยได้ตกลงทำสนธิสัญญาบาวริง (Bowring Treaty) เพื่อการติดต่อค้าขายกับอังกฤษ ใน พ.ศ. 2398 ชาวอังกฤษและคนในบังคับ ได้แก่ พม่า เงี้ยว และมอญได้เข้ามาร่วมดำเนินกิจการทำไม้สักมากขึ้น บริษัท บริติช บอร์เนียว (British Borneo Company, Ltd.) เข้ามาเริ่มดำเนินกิจการป่าไม้ในประเทศไทยใน พ.ศ. 2407 โดยรับซื้อไม้จากพวกที่ทำไม้อยู่ก่อนแล้วใน พ.ศ. 2425 กัปตันเอช เอ็น แอน-เดอร์เซน (Captain H.N. Andersen) กัปตันเรือชาวเดนมาร์กซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกัปตันเรือสำเภา บรรทุกสินค้าระหว่างประเทศของไทย ในรัชกาลที่ 4 ชื่อเรือ "ทูลกระหม่อม" ได้บรรทุกไม้สักจากไทยไปขายยังเมืองลิเวิอร์พูล (Liverpool) ประเทศอังกฤษเป็นครั้งแรก ปรากฏว่าไม้สักที่บรรทุกไปขายได้ราคาดีมากและหมดภายในเวลาอันรวดเร็ว ได้กำไรมากกว่าร้อยละ 100 ทำให้เป็นที่เลื่องลือกันในตลาดยุโรปถึงความงดงามของไม้สักชั้นดีจากเมืองไทย จึงได้มีบริษัทต่างๆ ในยุโรปสั่งจองซื้อไม้สักจากประเทศไทยเป็นจำนวนมาก

ในปี พ.ศ. 2426 รัฐบาลไทยได้เริ่มอนุญาตให้ชาวยุโรปเข้ารับสัมปทานทำไม้สักในประเทศไทยได้ และในช่วงเวลาเดียวกันคือหลังจาก พ.ศ. 2428 เป็นต้นมา พม่าก็ได้ปิดป่าสัก ไม่ให้มีการทำไม้ เนื่องจากสภาพป่าสักเสื่อมโทรมลงมากจากการทำไม้ของบริษัทต่างชาติ ความต้องการไม้สักในหมู่ประเทศยุโรปจึงมีมากขึ้น ทำให้บริษัทต่างชาติเริ่มเข้ามาลงทุนทำไม้สักเพิ่มขึ้น

ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในพ.ศ. 2484 รัฐบาลไทยได้เพิกถอนสัมปทานการทำไม้สักจากบริษัทอังกฤษทั้ง 4 บริษัท ด้วยเหตุผลทางการเมืองและเพื่อพยุงฐานะทางการเงินของรัฐบาล รัฐบาลได้จัดตั้งบริษัทไม้ไทย จำกัด ขึ้นรับช่วงการทำไม้แทน หลังสงครามโลกในพ.ศ. 2489 รัฐบาลจำเป็นต้องคืนสัมปทานป่าสักให้แก่บริษัททำไม้ต่างๆ ที่ยึดคืนมา และได้จัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ขึ้นแทนบริษัทไม้ไทยจำกัดใน พ.ศ. 2490 เพื่อดำเนินกิจการด้านป่าไม้ให้แก่รัฐบาล จนกระทั่ง พ.ศ. 2497-2498 สัมปทานป่าสักของบริษัทต่างๆได้สิ้นสุดลงและไม่ได้รับต่อสัญญา รัฐบาลได้จัดตั้งบริษัทป่าไม้ร่วมทุนขึ้น โดยรวมทุนจากบริษัททำไม้ที่หมดสัมปทานทั้ง 5 บริษัทเข้าด้วยกัน โดยรัฐบาลไทยถือหุ้นร้อยละ 20 นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งบริษัทป่าไม้จังหวัดขึ้น เพื่อรับทำไม้ในท้องที่จังหวัดนั้นๆ ป่าสักได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ทำหนึ่งส่วน บริษัทป่าไม้ร่วมทุนหนึ่งส่วน และบริษัทป่าไม้จังหวัดอีกหนึ่งส่วน จนกระทั่ง พ.ศ. 2503 เมื่อหมดสัมปทาน รัฐบาลจึงได้มอบให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เป็นผู้ดำเนินกิจการทำไม้สักทั้งหมด ยกเว้นสัมปทานป่าสักของเอกชนที่อายุสัญญายังเหลืออยู่บริษัททำไม้ต่างชาติทั้ง 5 บริษัทก็ได้ปิดกิจการลง
ไม้สัก ราชินีแห่งไม้ (Queen of Timbers) M15-81
ภาพดอกสัก
สถานที่ท่องเที่ยวเกี่ยวกับไม้สัก
ไม้สัก ราชินีแห่งไม้ (Queen of Timbers)
ต้นสักใหญ่ที่สุดในโลก ภายในวนอุทยานต้นสักใหญ่ จังหวัดอุตรดิตถ์
(จังหวัดอุตรดิตถ์ มีคำขวัญว่า :
เหล้กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก)

ไม้สัก ราชินีแห่งไม้ (Queen of Timbers) 320px-Vimanmek_Palace_stage
พระที่นั่งวิมานเมฆ สิ่งก่อสร้างจากไม้สักทองที่ใหญ่ที่สุดในโลก กรุงเทพมหานคร
ไม้สัก ราชินีแห่งไม้ (Queen of Timbers) 252
พิพิธภัณฑ์สักทอง วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
จาก
en.wikipedia.org
th.wikiepdia.org
kanchanapisek.or.th
www.dooasia.com
www.mahamodo.com
www.panyathai.or.th
www.pratoomaisak.com
www.sanook.com
www.malware-site.www
www.thairath.co.th
www.youtube.com
คลิปสะพานอูเบ็ง สะพานไม้สักที่ยาวที่สุดในโลก
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
ไม้สัก ราชินีแห่งไม้ (Queen of Timbers)
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: ต่อไปคือวัฒนธรรมไทยในต่างแดน :: พืชประจำถิ่นไทย/พืชที่ค้นพบครั้งแรกในไทย-
ไปที่: