ที่มาของชื่อทุเรียน คำว่า ทุเรียน (durian) มาคำจากภาษามาเลย์ คือคำว่า duri (หนาม) มารวมกับคำต่อท้าย -an (เพื่อสร้างเป็นคำนามในภาษามาเลย์) D. zibethinus เป็นเพียงชนิดเดียวที่มีการปลูกเลี้ยงในเชิงการค้าเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่และนอกถิ่นกำเนิด ในทุเรียนชนิด zibethinus ได้ชื่อมาจากชะมดอินเดีย (Viverra zibetha) มีความเชื่อแต่ไม่มีหลักฐานยืนยัน ว่าชื่อนี้ตั้งโดยลินเนียสซึ่งมาจากชะมดชอบทุเรียนมากจนมีการนำไปเป็นเหยื่อล่อในการดักจับชะมด หรืออาจเป็นเพราะทุเรียนมีกลิ่นคล้ายชะมด
ทุเรียนในประวัติศาสตร์โลก ทุเรียนเป็นที่รู้จักและบริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ในโลกตะวันตกทุเรียนกลับเป็นที่รู้จักมาเพียง 600 ปี แรกสุดชาวยุโรปรู้จักทุเรียนจากบันทึกของ นิกโกเลาะ ดา กอนตี (Niccolò Da Conti) ผู้ที่เข้าไปท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 การ์เซีย เดอ ออร์ต้า (Garcia de Orta) แพทย์ชาวโปรตุเกสได้บรรยายถึงทุเรียนใน Colóquios dos Simples e Drogas da India (การสนทนาทั่วไปเกี่ยวกับยาจากอินเดีย) ที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2106 ใน Herbarium Amboinense (พรรณไม้จากอองบง) ซึ่งเขียนขึ้นโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน เกออร์จ เบเบอร์ฮาร์ด รัมฟิออซ (Georg Eberhard Rumphius) ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2284 มีหัวข้อเกี่ยวกับทุเรียนที่มีรายละเอียดมาก สกุลทุเรียน (Durio) มีอนุกรมวิธานที่ซับซ้อน เห็นได้จากการลบและการเพิ่มพืชหลาย ๆ ชนิดลงไปในสกุลนี้ตั้งแต่โดยรัมฟิออซตั้งสกุลทุเรียนขึ้นมา ช่วงแรกในการศึกษาอนุกรมวิธานของทุเรียนนั้น มีความสับสนระหว่างทุเรียนและทุเรียนเทศเป็นอย่างมากซึ่งผลของทั้งสองชนิดนี้เป็นผลไม้สีเขียวมีหนามเหมือนกัน มีบันทึกที่น่าสนใจที่ว่าชื่อภาษามาเลย์ของทุเรียนเทศคือ durian Belanda (ดูริยัน บะลันดา) ซึ่งแปลว่า ทุเรียนดัตช์[11] ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โยฮันน์ อานทอน ไวน์มานน์ (Johann Anton Weinmann) ได้พิจารณาทุเรียนไปเป็นสมาชิกของวงศ์ Castaneae ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับกระจับม้า Durio zibethinus โดย ฮูลา แวน นูเท็น (Hoola Van Nooten) , ราวๆปี พ.ศ. 2406 ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาวโปรตุเกสได้นำทุเรียนชนิด D. zibethinus เข้ามาสู่ซีย์ลอนและนำเข้ามาอีกหลายครั้งในภายหลัง ในทวีปอเมริกามีการปลูกทุเรียนเช่นกัน แต่จำกัดอยู่แค่ในสวนพฤกษศาสตร์เท่านั้น ต้นกล้าต้นแรกถูกส่งจากสวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิวมาสู่ โอกูสต์ เซนต์-อาร์โรมอง (Auguste Saint-Arroman) แห่งโดมินิกาในปี พ.ศ. 2427
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการเพาะปลูกทุเรียนในท้องถิ่นมามากกว่าศตวรรษ ตั้งแต่ช่วงหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 และปลูกในเชิงพาณิชย์ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20[9] ใน My Tropic Isle (เกาะเมืองร้อนของฉัน) ของ เอ็ดมันด์ เจมส์ แบนฟีลด์ (Edmund James Banfield) นักประพันธ์และนักธรรมชาติวิทยาชาวออสเตรเลีย กล่าวว่า ในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพื่อนของเขาจากประเทศสิงคโปร์ส่งเมล็ดทุเรียนมาให้ เขาปลูกและดูแลบนเกาะเขตร้อนของเขานอกชายฝั่งตอนเหนือของรัฐควีนส์แลนด์
ในปี พ.ศ. 2492 อี.เจ.เอช. คอร์เนอร์ (E. J. H. Corner) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ตีพิมพ์ The Durian Theory, or the Origin of the Modern Tree (ทฤษฎีทุเรียนหรือต้นกำเนิดของต้นไม้ยุคใหม่) ทฤษฎีของเขากล่าวถึงการแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์โดยสัตว์ (เป็นการล่อให้สัตว์เข้ามากินผลและลำเลียงเมล็ดไปในกระเพาะของสัตว์) เกิดขึ้นก่อนวิธีอื่นในการแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์ และบรรพบุรุษดั้งเดิมของสกุลทุเรียนได้ใช้วิธีนี้ในการแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์เป็นวิธีแรกสุด โดยเฉพาะในทุเรียนแดงที่เป็นตัวอย่างผลไม้โบราณของพืชดอก
ตั้งแต่ช่วงต้นของช่วงปี พ.ศ. 2533 ความต้องการทุเรียนภายในประเทศและในระดับสากลในพื้นที่ของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นอย่างมาก บางส่วนนั้นเกิดจากความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นในเอเชีย
ภาพข้าวเหนียวทุเรียนขนมไทยอย่างหนึ่งทุเรียนในประวัติศาสตร์ไทย ทุเรียนเป็นพืชพื้นพื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดในแถบ มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย ในหนังสือเกี่ยวกับประเทศไทยสมัยอยุธยา ในช่วงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่เขียนขึ้นโดย มองซิเออร์ เดอลาลูแบร์ (Simon de la Loubère) หัวหน้าคณะราชทูตจากประเทศฝรั่งเศสในสมัยนั้น ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2336 ตอนหนึ่งได้ระบุเรื่องเกี่ยวกับทุเรียนไว้ว่า "ดูเรียน (Durion) หรือที่ชาวสยามเรียกว่า “ทูลเรียน” (Tourrion) เป็นผลไม้ที่นิยมกันมากในแถบนี้..."
จากหลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า มีการปลูกทุเรียนในภาคกลางของประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ส่วนจะเข้ามาจากที่ไหน และโดยวิธีใด ไม่ปรากฏหลักฐาน แต่น่าเชื่อถือได้ว่า เป็นการนำมาจากภาคใต้ของประเทศไทยนั่นเอง
ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) ได้กล่าวถึงการแพร่กระจายพันธุ์ของทุเรียนจากจังหวัดนครศรีธรรมราช มายังกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2318 ในระยะต้นเป็นการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและพัฒนามาเป็นการปลูกด้วยกิ่งตอน จากพันธุ์ดี 3 พันธุ์ คือ อีบาตร ทองสุก และการะเกด สำหรับผู้ที่หากิ่งตอนจากพันธุ์ดีทั้ง 3 พันธุ์ไม่ได้ จึงใช้เมล็ดจากทั้ง 3 พันธุ์นั้นปลูก ทำให้เกิดทุเรียนลูกผสมขึ้นมากมาย ซึ่งรายชื่อพันธุ์ทุเรียนเท่าที่รวบรวมได้จากเอกสารได้ มีถึง 227 พันธุ์
ภาพดอกทุเรียนประโยชน์ของทุเรียนเนื้อทุเรียน - รสหวานร้อน ทำให้เกิดความร้อน แก้โรคผิวหนัง ทำให้ฝี-หนอง แห้ง เนื้อทุเรียนมีฤทธิ์ขับพยาธิ
เปลือกหนามทุเรียน - รสเฝื่อน นำมาสับแช่ในน้ำปูนใสใช้ชะล้างแผลที่เกิดจากน้ำเหลืองเสีย แผลพุพอง หรือนำมาเผาทำถ่าน บดจนเป็นผง คลุกในน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันงา ลดความบวมพองจากคางทูม และเผาเอาควันไล่ยุงและแมลง
ใบทุเรียน - รสเย็นและเฝื่อน ใช้ต้มน้ำอาบแก้ไข้ แก้ดีซ่านและเป็นส่วนผสมในยาขับพยาธิ
รากจากต้นทุเรียน – ตัดเป็นข้อ ๆ ต้มให้เดือด ดื่มบรรเทาอาการไข้และรักษาอาการท้องร่วง
ทุเรียนในวรรณคดีไทยจากกาพย์เห่ชมเครื่องหวาน ของ ร.2
"ทุเรียนเจียนตองปู
เนื้อดีดูเหลือเรืองพราย
เหมือนศรีฉวีกาย
สายสวาทพี่ที่คู่คิด"จากกาพย์เห่ชมเครื่องหวาน
edunews.eduzones.com
en.wikipedia.org
th.wikipedia.org
www.dek-d.comwww.siamsouth.comภาพทุเรียนสีแดงซึ่งเป็นทุเรียนพื้นเมืองของรัฐซาบาห์ เกาะบอร์เนียว ประเทศมาเลเซียhttp://lh4.ggpht.com/_Xhlcxbe9Nzc/Se7UvpdH-MI/AAAAAAAAIDE/XL0mH54aeh8/t2.jpg