ประวัติลอมพอก"ลอมพอก” เป็นเครื่องแต่งกายสมานฉันท์ หลักฐานทางประวัติศาสตร์อีกอย่างหนึ่งของการผสานกลมกลืนกันระหว่าง 2 วัฒนธรรม ก็คือ “ลอมพอก” อันได้แก่หมวกสำหรับขุนนางไทยที่นิยมใช้กันในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
โดย “ลอมพอก” นี้ทำจากผ้าขาว พันและผับเป็นทรงหมวก มียอดแหลม ประดิษฐ์ขึ้นอย่างประณีต ที่ขอบของ “ลอมพอก” จะมีเครื่องประดับแสดงชั้นยศ สันนิษฐานกันว่ารูปแบบนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากผ้าโพกศีรษะของมุสลิมเปอร์เซีย ผสมผสานกับรูปแบบชฎาของไทย
เมื่อครั้งที่คณะราชทูตในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2229 ได้สวมเครื่องแต่งกายดังกล่าวจนเป็นที่ดึงดูดความสนใจจากชาวฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก
ลอมพอกของพระเจ้าแผ่นดินและขุนนางทั้งหลาย มีคำพรรณนาอธิบายของ ลา ลูแบร์ ที่เห็นด้วยตนเอง เมื่อ พ.ศ. 2230 ไว้ในจดหมายเหตุฯ ยุคสมเด็จพระนารายณ์ว่า
“พระลอมพอกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ประดับขอบ หรือเสวียนเกล้าด้วยพระมหามงกุฎเพชรรัตน์”
ลอมพอก “ของพวกขุนนางนั้นประดับเสวียนทองคำ, เงิน, หรือกาไหล่ทองมากน้อยตามยศ ลางคนก็ไม่มีเสวียนเลย
พวกขุนนางจะใช้ลอมพอกนี้ชั่วเวลาเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ หรือเพลาประชุมคณะขุนศาลตุลาการ หรือในพิธีลางอย่างเท่านั้น
เขาใช้แถบผูกโยงยึดไว้ใต้คาง และเมื่อแสดงการเคารพก็มิได้ถอดออก”
นอกจากลอมพอกแล้ว เครื่องแต่งตัวโขนละครยังใช้ผ้าของเปอร์เซียด้วย
ดังนั้น ที่อวดกันว่าโขนละครเป็นของไทยแท้ๆ จึงไม่จริง เพราะมีทั้งส่วนที่เป็น “วัฒนธรรมร่วม” พื้นเมืองสุวรรณภูมิ แล้วยังมีส่วนที่ได้จากอินเดียกับเปอร์เซียด้วย
นักวิชาการไทยเคยได้พบลอมพอกในมือนักสะสมต่างชาติ นับสิบอัน ปัจจุบันก็พบในพระราชพิธีแรกนาขวัญ พระยาแรกนา ใส่แต่ทำไม่สวยเลยส่วนที่สวมศรีษะใหญ่เกินไป
ที่มาของชื่อลอมพอก ลอมพอก มาจาก ลอม กับ พอก
ลอม หมายถึง กองเรียงกันขึ้นไปให้สูงเป็นจอม เช่น ลอมฟาง วางท่อนไม้ให้ปลายด้านบนรวบกันเป็นจอม เช่น ลอมฟืน
พอก หมายถึง เพิ่ม, พูน, โพก เช่น โพกหัว, โพกผ้าขะม้า, ฯลฯ
นอกจากนี้ เคยมีผู้สันนิษฐานให้ฟังว่า “ลอมพอก” น่าจะมาจากภาษาชวา ว่า Lombok abang แปลว่า “พริก”
เท่าที่จดจำเล่าเรียนมา ท่านว่าพริกมาถึงเมืองไทยพร้อมชาวโปรตุเกสในสมัยอยุธยา ซึ่งตั้งถิ่นฐานในเอเชียตะวันอออกเฉียงใต้แถบหมู่เกาะโมลุกกะ สุลาเวซี และชวาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ก่อนหน้าพวกพวกดัชต์เสียอีก
และพอท่านๆ ชาวโปรตุเกสแยกย้ายกันมาถึงอยุธยา ก็ได้พกพริกติดตัวมาด้วย ชาวสยามเราเรียกว่า “พริกเทศ”
ส่วนพริกพื้นเมือง รสชาติเผ็ดร้อนเป็นเม็ดกลมๆ เป็นช่อๆ เรียกว่า “พริกไทย”
อย่ากระนั้นเลย เรามาลองเปรียบเทียบเจ้า “ลอมพอก” กับ “พริก” สีสวยดูซิว่าหน้าตาใกล้กันแค่ไหน
ภาพรูปหมู่แสดงอาภรณ์นานาชาติที่โพสต์มาก่อนหน้านี้ ก็ไม่เห็นมีหมวกชาติไหนคล้ายลอมพอกเลย
และ สื้อคอวี เอกลักษณ์เฉพาะตัว ก็หายไปตามกาลเวลา
ขอขอบพระคุณข้อมูลและรูปภาพเป็นอย่างสูงจากwww.konrakmeed.comwww.pantip.comwww.reurnthai.comwww.sujitwongthes.com