ประวัติจะเข้จะเข้ ในภาษามอญเรียกว่า “จฺยาม” ส่วนในภาษาพม่าเรียกว่า “มิจอง” หรือ "หมี่จอง" ซึ่งต่างก็แปลว่า “จระเข้” ด้วยกันทั้งสองภาษา เพราะพิจารณาจากรูปลักษณ์ของเครื่องดนตรีที่มีความพิเศษด้วยนิยมที่จะแกะหุ่นของเครื่องดนตรี ซึ่งทำหน้าที่เป็นกล่องเสียงให้เป็นรูปจระเข้นอนเหยียดยาวตามชื่อของมันเลยทีเดียว ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าเดิมทีจะเข้ของไทยก็น่าจะมีรูปร่างและความหมายโดยนัยที่เหมือนกันนี้ด้วยเช่นกัน แต่ต่อมาในสมัยหลังช่างไทยได้ตัดทอนลายละเอียดต่างๆออกไปเหลือไว้เพียงแค่โครงสร้างดังที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน แต่ชื่อเรียกเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า “จะเข้” ก็ยังคงเป็นสิ่งตกค้างสำคัญที่ยืนยันได้ถึงแหล่งที่มาของวัฒนธรรมร่วมกันระหว่าง มอญ พม่า และไทยที่รักใคร่ในจระเข้เหมือนๆกัน จะเข้เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดของไทย สันนิษฐานว่าน่าจะได้อิทธิพลมาจากเครื่องดนตรีของชาวมอญ มีการบรรเลงอย่างแพร่หลายมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเพราะ มีคำจารึกไว้ในกฎมณเฑียรบาล สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถว่า
“...ห้ามร้องเพลงเรือ เป่าปี่ เป่าขลุ่ย สีซอ ดีดจะเข้ กระจับปี่ ตีโทนทับ ในเขตพระราชฐาน...”จากหลักฐานนี้แสดงว่า จะเข้เป็นที่นิยมบรรเลงตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว
จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องดีด มี 3 สาย เข้าใจว่าได้ปรับปรุงแก้ไขมาจากพิณ คือ กระจับปี่ซึ่งมี 4 สาย นำมาวางดีดกับพื้นเพื่อความสะดวก จะเข้ได้นำเข้าร่วมบรรเลงอยู่ในวงมโหรีคู่กับกระจับปี่ในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้นิยมเล่นจะเข้กันมาก ทำให้กระจับปี่ค่อย ๆ หายไปในปัจจุบัน เนื่องจากหาผู้เล่นเป็นน้อย
*เครื่องดีดยาวๆ ที่ต้องนั่งบรรเลง (อาจเรียกว่าพิณตั้งโต๊ะ)จะเข้อาจเปรียบได้ว่าเป็นเครื่องดนตรีจำพวกพิณตั้งโต๊ะ อย่าง ในจีนมีกู่เจิง ญี่ปุ่นมีโคโตะ เกาหลีมีกายากึม เวียดนามมี Đàn tranh มองโกเลียมี Yatga งั้นไทยก็ต้องมีพิณแบบตั้งโต๊ะอย่างจะเข้ (แม้รูปร่างจะไม่คล้ายกับพวกประเทศที่กล่าวมาก็ตาม)
ภาพจฺยาม หรือ จะเข้มอญ ทำตัวหุ่นเป็นรูปจระเข้ ภาพจาก ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรขอขอบพระคุณข้อมูลและรูปภาพจากcdn.gotoknow.org
th.wikipedia.org
www.phattayakulschool.com www.youtube.com* หัวข้อนั้นมีความคิดของ จขกท อยู่ด้วย แค่คิดวิเคราะห์ จากเครื่องดนตรีของประเทศเพื่อนบ้าน