(พระบรมสาทิสลักษณ์ ของฮองเฮาเหลยจู่ ผู้ค้นพบผ้าไหมในน้ำชา)ประวัติการกำเนิดผ้าไหมผ้าไหมมีต้นกำเนิดจากประเทศจีนเมื่อกว่า 3,500 ปีก่อน ค.ศ. โดยในตำนานเชื่อว่าฮองเฮาเหลยจู่ (嫘祖Léi Zǔ) พระมเหสีของฮ่องเต้หวงตี้ ของจีนเป็นผู้เริ่มพัฒนาผ้าไหม เนื่องจากมีหนอนไหมตกลงมาชาของฮองเฮาจนค้นพบว่าหนอนไหมได้คายเส้นไหมออกมา ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้นฮ่องเต้ จะเก็บผ้าไหมไว้สำหรับให้เป็นของกำนัล กระทั่งผ้าไหมกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมจีน ต่อมามีการลักลอบกรรมวิธีการทำผ้าไหมไปยังเส้นทางผ้าไหม ขโมยหนอนไหมออกจากประเทศจีน โดยชาติแรกที่รับรู้เรื่องความลับเรื่องการทำผ้าไหมชาติแรกคือ ปากีสถานในปัจจุบัน (ประเทศนี้มีพื้นที่ติดกับจีนด้วย) และต่อมาผ้าไหมถูกขนส่งแลกเปลี่ยนไปยังหลายประเทศในแถบเอเชีย โดยเฉพาะเส้นทางสายไหมที่มีการลักลอบผ้าไหมไปยังดินแดนตะวันตกอีกด้วย ลวดลายและความเงางามของผ้าไหมทำให้ผู้คนต่างต้องการผ้าไหมเป็นอย่างมาก เล่ากันว่า จักรพรรดิซีซาร์ของโรมก็เคยฉลองพระองค์ที่ทำด้วยผ้าไหมจีนไปชมละคร ได้รับความสนใจจากประชาชนทั้งโรงละคร โคลัมบัสเคยกล่าวกับกะลาสีเรือว่า ระหว่างการเดินทาง ถ้าใครได้พบแผ่นดินใหญ่เป็นคนแรก ก็จะได้รางวัลเป็นเสื้อผ้าไหม ราคาของผ้าไหมขณะนั้นแพงเหมือนทอง ในอดีตจักรวรรดิโรมันต้องประสบปัญหาขาดดุลการคลัง เนื่องจากจ่ายค่านำเข้าผ้าไหมที่แสนแพง ด้วยเหตุนี้ พฤฒิสภาจึงลงมติห้ามจำหน่ายและสวมเสื้อผ้าไหมจีน แต่ก็ต้องประสบกับการคัดค้านอย่างรุนแรงจากชนชั้นสูงทั้งหลายที่นิยมผ้าไหมจีน สุดท้าย จักรวรรดิโรมันต้องยกเลิกข้อห้ามนี้ไปในที่สุด การค้าขายผ้าไหมยุคนั้นจึงนับว่าเป็นช่วงแรกของค้าขายเชิงอุตสาหกรรมระบบข้ามชาติ ปีพ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) นักประวัติศาสตร์ค้นพบผ้าไหมสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก (ราว 2,500 ปีที่แล้ว) ณ หลุมฝังศพที่มณฑลเจียงซี ซึ่งผ้าไหมดังกล่าวมีการทอและย้อมอย่างประณีตด้วยเทคนิคที่ซับซ้อน นั่นจึงช่วยตอบความสงสัยของนักประวัติศาสตร์เกี่ยวกับระยะเวลาอันยาวนานของผ้าไหมจีนยุคแรกได้ว่า มีมาก่อนการค้นพบผ้าไหมในสมัยราชวงศ์ฮั่นที่หม่าหวางตุย (馬 (马) 王堆: Mǎwángduī)
ประวัติผ้าไหมในประเทศไทยผ้าไหมมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน พ่อค้าชาวจีนได้เผยแพร่ผ้าไหมสู่พื้นที่อื่นในแถบเอเชีย สำหรับประเทศไทยนักโบราณคดีพบหลักฐานที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงซึ่งบ่งชี้ว่ามีการใช้ผ้าไหมเมื่อ 3,000 ปีก่อน การทอผ้าไหมในประเทศไทยในอดีตมีการทำกันในครัวเรือนเพื่อใช้เอง หรือทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธี เช่น งานบุญ งานแต่งงาน
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ส่งเสริมให้ใช้ผ้าไหม ส่วนการปลูกหม่อนเพื่อเลี้ยงไหมได้รับการสนับสนุนจากประเทศญี่ปุ่น แต่การดำเนินงานของโครงการก็ทำได้เพียงระยะหนึ่งมีอันต้องหยุดไป เนื่องจากเกษตรกรไทยยังคงทำในลักษณะแบบเดิมเพราะความเคยชิน ไม่ตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่แบบใหม่ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากความช่วยเหลือของญี่ปุ่น
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของผ้าไหมไทยขึ้น โดย เจมส์ แฮร์ริสัน วิสสัน ทอมป์สัน ชาวสหรัฐอเมริกาหรือที่คนไทยรู้จักในนามว่า จิม ทอมป์สัน ซึ่งเป็นผู้ที่ให้ความสนใจผลงานด้านศิลปะ ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย รวมทั้งลาว และเขมร จิม ทอมป์สัน ได้ซื้อผ้าไหมไทยลวดลายต่างๆ เก็บสะสมไว้ และทำการศึกษาลวดลายผ้าไหมในหมู่บ้านที่เป็นแหล่งการผลิตผ้าไหม พร้อมกับเสาะแสวงหาช่างทอผ้าไหมฝีมือดี ในที่สุดได้พบช่างมีฝีมือถูกใจที่กรุงเทพมหานคร บริเวณชุมชนบ้านครัว (หลังโรงแรมเอเชีย เขตราชเทวีในปัจจุบัน)
ชุมชนแห่งนี้เดิมเป็นชาวมุสลิมเชื้อสายเขมร อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ตั้งแต่ตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีความชำนาญในการทอผ้าไหม ซึ่ง จิม ทอมป์สัน ได้เข้ามาสนับสนุนให้ชาวบ้านในชุมชนทอผ้าไหม สามารถสร้างรายให้ชาวบ้านมากขึ้น หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงผ้าไหมไทยโดยใช้หลักการตลาด การผลิต เพื่อขยายตลาด และทำการบุกเบิกผ้าไหมของไทยไปสู่ตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และแพร่เข้าสู่วงการภาพยนตร์ของชาติตะวันตก และ ละครบรอดเวย์
ในปี พ.ศ. 2502 นักออกแบบชาวฝรั่งเศสได้ใช้ผ้าไหมไทยทำการออกแบบและตัดเย็บฉลองพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ครั้งเสด็จเยือนประเทศสหัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ ถือได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสผ้าไหมของไทยสู่ตลาดต่างประเทศ
ประวัติฟ้อนสาวไหมฟ้อนสาวไหมปรากฏอยู่สองแบบ คือสาวไหมในการฟ้อนเจิงหรือร่ายรำท่าต่อสู้ด้วยมือเปล่า ซึ่งมีลีลากระบวนท่าที่แน่นอน และการฟ้อนสาวไหมที่เป็นการฟ้อนของผู้หญิงที่แสดงความเคลื่อนไหวในลีลาร่ายรำที่นุ่มนวล มิได้ร้อนแรงเหมือนอย่างที่ปรากฏในเชิงต่อสู้
ประวัติฟ้อนสาวไหม เป็นการฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย พ่อครูกุย สุภาวสิทธิ์ ชาวบ้านตำบลแม่ก๊ะ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเรียนเชิงมาจากพ่อครูปวน คำมาแดง บ้านร้องวัวแดง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพ่อครูกุย สุภาวสิทธิ์ ได้เป็นครูเชิง หรือผู้สอนฟ้อนเชิง คือการฟ้อนด้วยมือเปล่าของผู้ชายในลีลาท่ารำในเชิงต่อสู้ ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2495 "พ่อครูกุย"ได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ละแวกวัดศรีทรายมูล ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และพ่อครูกุย ได้ถ่ายทอดการฟ้อนให้แก่บุตรสาว คือ แม่ครูบัวเรียว(สุภาวสิทธิ์)รัตนมณีภรณ์ เมื่อแม่ครูอายุราว 7 ขวบ
ต่อมาพ่อครูโม ใจสม ชาวมอญพระประแดงซึ่งเป็นนักดนตรีนาฏศิป์ไทยจากเชียงใหม่ ได้อพยพไปอยู่ในละแวกเดียวกันด้วย ซึ่งพ่อครูโมก็ได้ช่วยฟื้นฟู "วงกลองเต่งถิ้ง" ของวัด สอนนาฏศิลป์ และดนตรีไทยจนมีนักดนตรีไทยฝีมือดีหลายคน ในช่วงเวลานั้นแม่ครูบัวเรียวได้ฝึกนาฏศิลป์กับพ่อครูโมด้วย เมื่อมีงานฉลองในวัดที่เกี่ยวข้องกับวัดศรีทรายมูลแล้ว เจ้าอาวาสและคณะศรัทธาก็มักจะนำดนตรีและช่างฟ้อนมาร่วมในงาน ซึ่งแม่ครูบัวเรียวก็ได้ไปร่วมฟ้อนด้วย โดยเฉพาะแม่ครูมักจะฟ้อนสาวไหมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแม่ครูได้ดัดแปลงลีลาการฟ้อนสาวไหมเชิงต่อสู้แบบชายให้เข้ากับบุคลิกของสตรี คือให้อ่อนช้อยงดงามและให้ลงจังหวะดนตรี แบบนาฏศิลป์ไทย ขณะเดียวกันดนตรีประกอบการฟ้อนแต่เดิมใช้ดนตรีพื้นเมืองประเภทใดก็ได้นั้น ก็เริ่มใช้วงกลองเต่งถิ้ง บรรเลงเพลงพื้นเมือง เช่น ปราสาทไหว และฤๅษีหลงถ้ำ ซึ่งต่อมาเห้นว่าไม่กระชับ จึงเลือกใช้เพลง"สาวไหม" แทนซึ่งเพลงนี้ ท่านผู้รู้บางท่าน ก็ว่าเป็นเพลงที่พ่อครูโมดัดแปลงจากเพลง"ลาวสมเด็จ"เพื่อใชประกอบการฟ้อนสาวไหม
ประมาณ พ.ศ. 2503 คณะศรัทธาจากวัดศรีทรายมูลได้ไปช่วยการฟ้อนที่วัดถ้ำปุ่มถำปลา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ครั้งนั้น นายอินทร์หล่อ สรรพศรี ซึ่งเป็นนักดนตรีไทยชั้นครูของเชียงรายได้ไปเห็นการฟ้อนของแม่ครูบัวเรียวด้วย ต่อมานายอินทร์หล่อ ได้ชมการฟ้อนของแม่ครูบัวเรียวที่งานวัดพระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และได้เชิญให้พบกับภรรยาของตนคือ แม่ครูพลอยศรี สรรพศรี ซึ่งเป็นช่างฟ้อนในคุ้มของเจ้าแก้วนวรัฐฯ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากพระราชชายาเจ้าดารารัศมีด้วย "แม่ครูพลอยศรี" ได้ปรับปรุงแก้ไขท่าฟ้อนของแม่บัวเรียว จากเดิม มี๑๓ ท่าฟ้อนให้เป็น 21 ท่าฟ้อน
แต่ถึงกระนั้นการฟ้อนแบบต้นฉบับของแม่ครูบัวเรียวยังเป็นที่นิยมถ่ายทอดแก่ลูกศิษย์อยู่อย่างต่อเนื่อง
สถานที่ท่องเที่ยวเกี่ยวกับผ้าไหม- พิพิธภัณฑ์บ้านไทยจิมทอมป์ สัน
- ชุมชนบ้านครัว
- พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
- พิพิธภัณฑ์ไหม
- ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไท ผ้าไหมแพรวา
- พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร
ฯลฯ
ผ้าไหมในคำขวัญส่วนใหญ่ผ้าไหมจะอยู่ในคำขวัญของแถบภาคอีสานของไทย
จังหวัดกาฬสินธุ์เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไท ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี
จังหวัดขอนแก่นพระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองมวยโอลิมปิก
จังหวัดนครราชสีมาเมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน
จังหวัดบุรีรัมย์เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม
จังหวัดมหาสารคามพุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร
จังหวัดร้อยเอ็ดสิบเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกต บุญผะเหวดประเพณี มหาเจดีย์ชัยมงคล งามน่ายลบึงพลาญชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ
จังหวัดสุรินทร์สุรินทร์ ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม
จังหวัดอำนาจเจริญพระมงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตพระเหลา เกาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้าไหม ราษฎร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม
ขอขอบพระคุณข้อมูลและรูปภาพจากen.wikiepdia.org
th.wikipedia.org
catalog.digitalarchives.tw
thai.cri.cn
www.sac.or.thคลิประบำผ้าไหมของจีน