วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 โคนม แต่เดิมคนไทยต้องนำเข้าเดี่ยวนี้เลี้ยงเองได้

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

โคนม แต่เดิมคนไทยต้องนำเข้าเดี่ยวนี้เลี้ยงเองได้ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: โคนม แต่เดิมคนไทยต้องนำเข้าเดี่ยวนี้เลี้ยงเองได้   โคนม แต่เดิมคนไทยต้องนำเข้าเดี่ยวนี้เลี้ยงเองได้ EmptyThu Oct 25, 2012 2:12 pm

โคนม แต่เดิมคนไทยต้องนำเข้าเดี่ยวนี้เลี้ยงเองได้ 160px-Frederick_IX_of_Denmark
พระบรมฉายาลักษณ์พระเจ้าเฟรเดริคที่ 9 แห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก พระองค์ทรงร่วมศึกษาการเลี้ยงโคนมในไทยร่วมกับในหลวง

ประวัติการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย
การเลี้ยงโคนมในประเทศไทยเชื่อกันว่าในระยะแรกของการเลี้ยง จะเลี้ยงกันในหมู่ชาวอินเดียเพื่อบริโภค
หรือขายให้กับเพื่อนบ้านชาวอินเดียด้วยกัน พันธุ์โคนมที่เลี้ยงคือ พันธุ์บังกาลา สามารถให้นมได้ดีและช่วงของการให้นมนานมากกว่าโคพื้นเมืองทั่วไป หลังจากนั้นก็มีคนให้ความสนใจเลี้ยงกันบ้างเล็กน้อย จนกระทั้งได้มีการจัดตั้งฟาร์มโคนมเป็นแห่งแรก ของประเทศไทย ชื่อฟาร์มบางกอกแครี่ โดยมีพระยาเทพหัสดินเป็นผู้จัดการในเนื้อที่ทั้งหมด 9 ไร่ และมีโคทั้งหมดประมาณ 120 ตัว แต่ต้องประสบกับการขาดทุน เนื่องจากในขณะนั้นมีผู้บริโภคกันน้อยมาก นมที่ผลิตได้จึงขายไม่หมดจนต้องล้มเลิกกิจการไปในปี พ.ศ. 2477 จนสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลได้จัดตั้งองค์การขึ้นเพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตน้ำนม ป้องกันปัญหาการขาดแคลนนมบริโภค โดยทำการรวบรวมโคนมจากชาวอินเดีย และ ได้ดำเนินการอยู่ระยะหนึ่งจึงล้มเลิกไปอีก และ เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 กรมปศุสัตว์ และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการนำเข้าโคพันธ์เรดซินดิจากประเทศอินเดียมาผสมกับโคบังกาลา แต่การเลี้ยงโคนมอย่างจริงจังเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทย-เดนมาร์กขึ้นที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ร่วมกับพระเจ้าเฟรเดริคที่ 9 (King Frederick IX) แห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. 2505 ศูนย์ฝึกอบรมนี้ ต่อมาได้พัฒนากลายเป็นองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขณะเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทดลองเลี้ยงโคนมด้วยพระองค์เอง ในบริเวณสวนจิตรลดา และเมื่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมสามารถผลิตน้ำนมดิบได้เกินความต้องการของตลาด ก็ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานนมผง และศูนย์รับนม นอกจากนี้ยังทรงริเริ่มให้มีการจัดตั้งบริษัทผลิตภัณฑ์นมหนองโพ จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) ดำเนินการผลิตนมผงใน พ.ศ. 2515 ต่อมาในพ.ศ. 2518 ได้ทรงโอนกิจการของบริษัทนี้ให้สหกรณ์โคนมราชบุรี จำกัด ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) ในปัจจุบันมีแหล่งเลี้ยงโคนมที่สำคัญอยู่ 4 แห่ง คือ บริเวณจังหวัดสระบุรี-นครราชสีมาลพบุรี บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์-เพชรบุรีบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ และบริเวณจังหวัดราชบุรี-นครปฐม เกษตรกรในสามแหล่งแรกส่งน้ำนมดิบเข้าโรงงานขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรีอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตามลำดับ ส่วนแหล่งสุดท้ายส่งเข้าโรงงานของสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังได้มีการมีเลี้ยงโคนมกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณใกล้เคียงกับวิทยาลัยเกษตรกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีและ อาชีวศึกษาและบริษัทเอกชนที่มีการแปรรูปนม

โคนม แต่เดิมคนไทยต้องนำเข้าเดี่ยวนี้เลี้ยงเองได้ 174px-Devhasdin-P1
พระยาเทพหัสดิน ผู้จัดตั้งฟาร์มโคนมแห่งแรกของประเทศไทย

คลิปการรีดนมวัว
แถมอีกนิดเรื่องคำขวัญที่ปรากฏคำว่าโคนม


จังหวัดสระบุรี
พระพุทธบาทสูงค่า เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ฐานผลิตอุตสาหกรรม เกษตรนำล้ำแหล่งเที่ยว หนึ่งเดียวกะหรี่ปั๊บนมดี ประเพณีตักบาตรดอกไม้งาม เหลืองอร่ามทุ่งทานตะวัน ลือลั่นเมืองชุมทาง

อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
เขาใหญ่ชวนชม วัวนมพันธุ์ดี
หินอ่อนหลากสี ข้าวโพดหวานมากมี
น้อยหน่าดีที่ปากช่อง

ขอขอบพระคุณข้อมูลและรูปภาพจาก
www.atom.rmutphysics.com
www.farmthaionline.com
www.sanook.com
www.youtube.com

ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
โคนม แต่เดิมคนไทยต้องนำเข้าเดี่ยวนี้เลี้ยงเองได้
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: สัตว์จากต่างแดน-
ไปที่: