วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 สวนพฤกษาศาสตร์ แหล่งรวบรวมพรรณไม้

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

สวนพฤกษาศาสตร์ แหล่งรวบรวมพรรณไม้ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: สวนพฤกษาศาสตร์ แหล่งรวบรวมพรรณไม้   สวนพฤกษาศาสตร์ แหล่งรวบรวมพรรณไม้ EmptyThu Oct 25, 2012 2:05 pm

สวนพฤกษาศาสตร์ แหล่งรวบรวมพรรณไม้ 350px-Hanging_Gardens_of_Babylon
(ภาพจินตนาการของสวนลอยบาบิโลน)
ประวัติสวนพฤกษาศาสตร์สากล
สวนพฤกษศาสตร์เริ่มมีการจัดสร้าง ตั้งแต่ สมัยโบราณ ไม่ว่าในจีน อียิปต์โบราณ กรีซโบราณ เม็กซิโก เมโสโปเตเมีย ฯลฯ สวนพฤกษศาสตร์ในสมัยโบราณมักใช้ในการเพาะพรรณ พรรณไม้ที่มีคุณค่าทางยามาปลูกไว้ ในบริเวณที่ว่างรอบๆ วิหาร เช่น มหาวิหารคานัค ประเทศอียิปต์ ต่อมา อริสโตเติล (384 - 322 ก่อน ค.ศ.) นักปราชญ์และนักธรรมชาติวิทยาชาวกรีกโบราณ ได้ชื่อว่าเป็นผู้จัดสร้างสวนพฤกษศาสตร์แห่งแรกของโลกที่เมืองเอเธนส์ ประเทศกรีก มีจุดประสงค์สำหรับใช้ประโยชน์ทางการศึกษา วิจัย และเป็นสถานที่สอนนักศึกษา เมื่ออริสโตเติล เสียชีวิตลงในปี 323 ก่อน ค.ศ. ธีโอฟราสตุส (380 - 287 ก่อ ค.ศ.) ได้รับช่วงเป็นผู้ดูแลต่อ โดยใช้สวนพฤกษศาสตร์เป็นสถานศึกษาและเป็นห้องปฏิบัติการทางพฤกษศาสตร์
สวนพฤกษาศาสตร์ แหล่งรวบรวมพรรณไม้ 180px-Teofrasto_Orto_botanico_detail
(รูปปั้น ธีโอฟราสตุส)

นอกจากสอนพฤกษศาสตร์ภายในสวนของ ธีโอฟราสตุส ได้ส่งนักศึกษาออกไปสำรวจพรรณไม้นอกสถานที่ที่มีระบบนิเวศที่แตกต่างกัน เขาได้สะสมพันธุ์พืชหลากหลาย ชนิดที่ลูกศิษย์ส่งมาให้และได้รับจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (ครองราชย์ 336-323 ปี ปีก่อน ค.ศ.) จักรพรรดิผู้ครองจักรวรรดิกรีซโบราณในสมัยนั้นด้วย เขาทำการศึกษาทุกๆ ด้านทางพฤกษศาสตร์ตามตัวอย่างพรรณไม้ที่เก็บสะสมไว้ในสวนจะอำนวยให้ผล จากการศึกษาทำให้เขาเขียนตำราทางพฤกษศาสตร์ไว้ประมาณ 200 กว่าเล่ม ในจำนวนนี้ มีอยู่ 2 เล่ม ที่มีคุณค่าทางพฤกษศาสตร์มากและใช้เป็นพื้นฐานของการศึกษาทางพฤกษศาสตร์ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ Historia Plantarum กับ The Causes of Plants ผลงานของ Theophrastus เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง Linnaeus ให้การยกย่องเขาเป็นบิดาทางพฤกษศาสตร์ (father of botany)
สวนพฤกษาศาสตร์ แหล่งรวบรวมพรรณไม้ 184px-Nswag%2C_agnolo_bronzino%2C_duca_cosimo_I_in_armi%2C_1540_circa
(ภาพ โคสิโมที่ 1 เดอ เมดิชิ)

ต่อมาจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลาย ในปี ค.ศ. 476 เป็นการสิ้นสุดประวัติศาสตร์ยุคโบราณ การสร้างสวนพฤกษศาสตร์ได้ขาดหายไป สวนพฤกษศาสตร์ที่มีอยู่เปลี่ยนบทบาทมาทำหน้าที่เก็บสะสมพืชสมุนไพรเป็นส่วนใหญ่ จนผ่านยุคมืดเข้าสู่ยุคทองหรือ ฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) สวนพฤกษศาสตร์กลับมามีบทบาททางด้านการศึกษาและวิจัยอีกครั้ง เมื่อปี ค.ศ. 1543 แกรนด์ดยุคเดอ เมดิชิหรือ โคสิโมที่ 1 เดอ เมดิชิ (Cosimo I de' Medici, Grand Duke of Tuscany) สร้างสวนพฤกษศาสตร์ โดยมี Luca Ghini เป็นผู้รวบรวมพรรณพืช สวนแห่งนี้เปิดสำหรับบริการบุคคลทั่วไปเป็นครั้งแรกที่เมืองปิซา ประเทศอิตาลี การสร้างสวนพฤกษศาสตร์ได้แพร่หลายไปทั่วทวีป ยุโรปในเวลาต่อมา
สวนพฤกษาศาสตร์ แหล่งรวบรวมพรรณไม้ Ghini
(ภาพ Luca Ghini)

ต่อมาได้มีการสำรวจดินแดนแห่งใหม่ของโลก จึงมีการรวบรวมพรรณพืชแปลกใหม่จากดินแดนต่างๆ ทำให้จากเดิมการปลูกพืชเพื่อเป็นยาอย่างเดียว ถูกนำมาเป็นการศึกษาวิจัยพืช จำแนกพืชชนิดต่างๆ

(คลิปสวนนงนุช อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี)

ประวัติสวนพฤกษาศาสตร์ในสยาม
ในอดีตประเทศไทย มีความสนใจในการนำพันธุ์พืชใหม่ๆ เข้ามาในประเทศ อย่างในรัชสมัยพระนารายณ์มหาราช ได้มีการนำพืชพรรณมาจัดสวนในลักษณะอุทยานดังปรากฏในประวัติศาสตร์และวรรณคดีไทย ในรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.5 พระองค์ทรงสนพระทัยการเก็บสะสมพันธุ์พืช เมื่อเสด็จประพาสต่างประเทศแต่ละครั้งพระองค์จะทรงนำพันธุ์พืชใหม่ๆ เข้ามา พระองค์มีพระราชดำริให้จัดสร้าง เรือนเพาะชำในพระราชวังสวนดุสิต สำหรับเก็บสะสมพันธุ์พืชต่างๆ ไว้ เมื่อเวลาเสด็จประพาสเยี่ยมราษฎรในหัวเมืองก็จะพระราชทานพันธุ์ให้ไปปลูก และทุกครั้งที่มีการตัดถนนสายใหม่ พระองค์จะทรงให้ปลูกต้นไม้ก่อน โดยนำมาจากเรือนเพาะชำภายในพระราชวังสวนดุสิต ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่และทรงประณีต ในการเลือกพันธุ์ไม้ให้เหมาะกับสภาพถนนแต่ละทำเลไป ถนนอะไรควรปลูกพืชชนิดใด เพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม เกิดความร่มรื่นเป็นระเบียบและสวยงาม และมีพระราชดำริให้ปลูกบัวสายหลากสี ในคูน้ำสำหรับเป็นที่พักผ่อนของประชาราษฎร ดังนั้นถึงแม้ประเทศไทยจะไม่เคยมีการสร้างสวนพฤกษศาสตร์มาก่อน แต่ก็มีการสะสมพันธุ์พืช ขยายพันธุ์พืชและนำมาปลูกไว้ตามถนนต่างๆ

(คลิปสวนหลวง ร.9)

ส่วนการจัดตั้งสวนพฤกษาศาสตร์ในประเทศไทย ได้เคยพยายามทำมาแล้วในอดีต แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เช่น
-โดยเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ร.7 เสด็จขึ้นครองราชย์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดสร้างสวนในลักษณะของสวนพฤกษศาสตร์ขึ้นในสวนลุมพินี พร้อมๆ กับการจัดสร้างสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ก็ไม่สำเร็จดังพระราชประสงค์
-ต่อมาในปี พ.ศ. 2478 ได้มีการจัดตั้งสมาคมพืชกรรมแห่งประเทศสยามขึ้น และได้พยายามจัดทำสวนลุมพินี ให้เป็นสวนพฤกษศาสตร์อีกครั้งหนึ่งแต่ก็ไม่สำเร็จ
สวนพฤกษาศาสตร์ แหล่งรวบรวมพรรณไม้ %E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B9%81%E0%B8%841
(ภาพสวนพฤกษาศาสตร์พุแค จังหวัดสระบุรี)

ต่อมากรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำริจัดสร้างสวนพฤกษศาสตร์ขึ้นเป็นครั้งแรกที่บริเวณพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2484 แต่พื้นที่ไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากขาดแหล่งน้ำและดินไม่ดี กรมป่าไม้จึงเลือกใหม่ที่ ป่าพุแค ชายดงพญาเย็น ในปี พ.ศ. 2484 มีเนื้อที่ประมาณ 3,750 ไร่ การพัฒนาสวนพุแคดำเนินไปช้ามาก เพราะรัฐบาลไม่เห็นความสำคัญและได้รับงบประมาณไม่เพียงพอ แต่ต่อมาก็มีการสร้างสวนพฤกษาศาสตร์ต่างๆ ขึ้นในประเทศ

(คลิป สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่)

ขอขอบพระคุณข้อมูลและรูปภาพจาก
en.wikiepdia.org
th.wikiepdia.org
social.thepbodint.ac.th
www.chaime.net
www.dekd.com
www1.mod.go.th
www2.swu.ac.th
www.tuscanypass.com
www.youtube.com

(คลิปสวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (ทุ่งค่าย) จังหวัดตรัง)
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
สวนพฤกษาศาสตร์ แหล่งรวบรวมพรรณไม้
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: พืชพรรณจากต่างแดน-
ไปที่: