ประวัติเสื้อครุย ครุย เป็นเสื้อคลุมประเภทหนึ่ง มีลักษณะหลวม ยาวถึงเข่าหรือทั้งตัว ใช้สวมหรือคลุมทับด้านนอก ทั้งชายและหญิงในยุโรปใส่ครุยกันมาตั้งแต่ยุคกลางตอนต้นจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ปัจจุบันครุยยังคงใช้สวมใส่เพื่อแสดงตำแหน่งฐานะในอาชีพที่มีรากฐานย้อนไปได้ถึงยุคกลาง เช่น ผู้พิพากษา ในวงวิชาการ ครุยยังใช้เพื่อแสดงวิทยฐานะอีกด้วย เสื้อครุย สมรด หรือแถบคาดบริเวณต้นแขน ลองพิจารณาเสื้อคลุมผ่าหน้า ไม่มีกระดุม ต่อไหล่ที่ต้นแขน ซึ่งเรียกว่า "โจบะ" ในภาษาเปอร์เซีย ว่ามีความคล้ายคลึงกับเสื้อคลุมเกียรติยศ ส่วนเสื้อครุยนั้นถือกำเนิดในสมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งในสมัยนั้นมีการนิยมสิ่งของของเปอร์เซีย นอกจากนี้บันทึกของชาวต่างชาติได้บันทึก พระโฉมลักษณะของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่า
"พระเจ้าแผ่นดิน มีพระองค์ ไม่สูง ไม่ต่ำ ไม่ขาว พระชนม์ 40 พระพักตร์ใหญ่ ทรงพระสรวลเสมอ พระนลาตใหญ่ พระมัสสุไม่มี พระนาสิกแบนและกว้าง ริมพระโอษฐ์หนามาก ฉลองพระองค์ทำด้วยแพรแดงจากเปอร์เซีย มีดอกทองประปราย รูปคล้ายเสื้อแจ็กเก็ตแขนเหมือนแขนเสื้อยาวที่บาทหลวงใส่ ไม่มีลูกกระดุม ทรงฉลองพระองค์ครุยทำด้วยผ้าจากเบงกอล เป็นผ้าโปร่ง มีลายคล้ายลูกไม้ตามตะเข็บเหน็บกฤชด้ามทองคำฝังพลอย พระแสงดาบญี่ปุ่นฝังพลอยวางบนพระ เพลาสรวมพระธำมรงค์ประดับพลอย"
การฉลองพระองค์ครุยของพระมหากษัตริย์ หรือเสื้อครุยของขุนนางในราชสำนักอยุธยา มีรูปแบบที่สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากเสื้อคลุม “Chuga” ที่ใช้ในราชสำนักเปอร์เซีย หรือฉลองพระบาทเชิงงอน เป็นรูปแบบที่มีหลักฐานแน่ชัดว่านำเข้ามาโดยชาวเปอร์เซีย และยังคงเป็นหนึ่งในเครื่องราชกุธภัณฑ์ของพระมหากษัตริย์ไทย แม้แต่ “เสื้อครุยแบบไทย” ที่ใส่รับปริญญาหรือบวชนาคกันนั้น เดิมก็เป็นเสื้อคลุมที่อินเดียและเปอร์เซียใช้สวมใส่ในโอกาสที่ถือกันว่าสุภาพ
ส่วนมหาดเล็กสวมใส่เสื้อคลุมยาว ผ่าหน้า ทับเสื้อคลุมยาวตัวใน เสื้อคลุมตัวนอกหรือ “โจบะ” นี้ มีแขนยาว ต่อไหล่ที่ต้นแขน สามารถใส่เป็นเสื้อแขนสั้นในวันที่อากาศอบอ้าวได้ คล้ายกับเสื้อครุยในยุคปัจจุบัน
จากth.wikiepdia.org
www.museumsiam.comwww.vcharkarn.comwww.komchadluek.netwww.manager.co.thwww.youtube.com