วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 ลิเกฮูลู นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง กำเนิดในไทย ไม่ใช่มาเลเซีย

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

ลิเกฮูลู นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง กำเนิดในไทย ไม่ใช่มาเลเซีย Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ลิเกฮูลู นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง กำเนิดในไทย ไม่ใช่มาเลเซีย   ลิเกฮูลู นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง กำเนิดในไทย ไม่ใช่มาเลเซีย EmptyWed Oct 24, 2012 11:08 am


ประวัติ
มีผู้ให้ที่มาของดิเกฮูลูเอาไว้หลายสำนวน ในที่นี้จะขอหยิบยกออกมา 2 สำนวน กล่าวคือ หนึ่ง ตามสำนวนที่รับรู้กันโดยทั่วไป มีผู้รู้บางท่านได้ศึกษาไว้ว่าดิเก (Dikir) มีรากศัพท์มาจากคำว่าซี เกร์ ซึ่งเป็นภาษาอาหรับ หมายถึงการอ่านทำนองเสนาะ ส่วนคำว่าฮูลู แปลว่าใต้หรือทิศใต้ รวมความแล้วหมายถึงการขับบทกลอนเป็นทำนองเสนาะจากทางใต้ ท่านผู้รู้ยังได้กล่าวไว้อีกว่า ดิเกฮูลูน่าจะเกิดขึ้นเริ่มแรกที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ซึ่งไม่ทราบแน่ว่าผู้ริเริ่มนี้คือใคร ข้อสนับสนุนก็คือชาวปัตตานีเรียกคนในอำเภอรามันว่าคนฮูลู ในขณะที่คนมาเลเซียเรียกศิลปะนี้ว่า "ดิเกปารัต" ซึ่งปารัต แปลว่าเหนือ จึงเป็นที่ยืนยันได้ว่า ดิเกฮูลู หรือดิเกปารัตนี้มาจากทางเหนือของมาเลเซียและทางใต้ของปัตตานี ซึ่งก็คือบริเวณอำเภอรามัน จังหวัดยะลา และสำนวนที่สอง จากการศึกษาของประพนธ์ เรืองณรงค์ ในหนังสือ "บุหงาปัตตานี คติชนไทยมุสลิมชายแดนภาคใต้" คำว่าดิเก หรือลิเก ในพจนานุกรม Kamus Dewan พิมพ์โดยสมาคมภาษาและหนังสือประเทศมาเลเซียเรียกลิเกเป็นดิเกร์เป็นศัพท์เปอร์เซีย มีสองความหมายคือ เพลงสวดสรรเสริญพระเจ้า ปกติเป็นการขับร้องเนื่องในเทศกาลวันกำเนิดท่านนบี ชาวมุสลิมเรียกงานเมาลิด เรียกการสวดดังกล่าวนี้ว่า "ดิเกเมาลิด" ประพนธ์ เรืองณรงค์ ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า ดิเกน่าจะมาจากความหมายที่สอง คือกลอนเพลงโต้ตอบ นิยมเล่นกันเป็นหมู่คณะ ซึ่งเป็นการร้องเพลงลำตัดภาษาอาหรับ ที่เรียกว่า "ซีเกร์มีรฮาแบ" การร้องเป็นภาษาอาหรับ ถึงแม้จะไพเราะแต่คนไม่เข้าใจ จึงนำเอาเนื้อเพลงภาษาพื้นเมือง ซึ่งก็คือภาษายาวีตีเข้ากับรำมะนา จึงกลายเป็นดิเกฮูลูมาตราบเท่าปัจจุบัน และการแสดงประเภทนี้น่าจะมีขึ้นครั้งแรก ณ ท้องที่เหนือลำน้ำอันเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำปัตตานี ซึ่งชาวบ้านเรียกฮูลู หรือทิศฮูลู (ฝ่ายใต้ลำน้ำเรียกฮิเล) ตรงทิศฮูลูเป็นแหล่งกำเนิดฮูลูนั้น เข้าใจว่าคือท้องที่อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี และอำเภอบันนังสตา อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก
th.wikipedia.org
www.youtube.com
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
ลิเกฮูลู นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง กำเนิดในไทย ไม่ใช่มาเลเซีย
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: วัฒนธรรมไทยในต่างแดน :: ดนตรีนาฏศิลป์ไทยไปต่างแดน-
ไปที่: