ภาพดอกกระเจี๊ยบแดงประวัติกระเจี๊ยบในสยามกระกระเจี๊ยบเขียวนั้นเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบ แอฟริกาตะวันตก ประเทศซูดาน ส่วกนกระเจี๊ยบแดงมีถิ่นกำเนิดในกระเจี๊ยบแดง แถบหมู่เกาะอินเดียตะวันตก พืชทั้ง 2 ต่างก็อยู่ในวงศ์เดียวกัน คือ วงศ์ฝ้าย (MalvaceaeX พืชในวงศ์นี้ที่ได้แก่ฝ้าย นุ่น ทุเรียน ชบา โกโก้ โคลานัท ปอบางชนิด ฯลฯ ไม่ใครทราบว่ากระเจี๊ยบเข้ามาในเมืองสยามเมื่อใด แต่มีปรากฎในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ ของหมอบรัดเลย์ ปี พ.ศ. 2416 บรรยายว่า “กระเจี๊ยบ, ผักอย่างหนึ่ง ต้นไม่สู้โต ใบแฉกๆ ลูกกินเปรี้ยว อนึ่งลูกไก่เล็กๆ มันร้องเจียบๆ ว่าลูกกะเจียบ”
ประโยชน์ สำหรับผลกระเจี๊ยบแดงนั้นมีลักษณะค่อนข้างกลม มีกลีบเลี้ยงหนาสีแดง เรามักจะนำผลแห้งใช้มาต้มทำน้ำกระเจี๊ยบ รสเปรี้ยวของดอกกระเจี๊ยบทำให้ชุ่มคอ กัดเสมหะ แก้ไอ ช่วยย่อยอาหาร แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง ขับเมือกมันในลำไส้ บำรุงโลหิต ช่วยขับปัสสวะ และยังสามารถลดไขมันในเลือด และสารสีแดงในผลกระเจี๊ยบนั้นก็ยังมีสาร anthocyanin ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติอีกด้วย
ส่วนผลกระเจี๊ยบเขียวนั้น จะมีลักษณะยาวรีเป็นสีเขียว นิยมนำมาลวกกินกับน้ำพริก เมื่อเคี้ยวฝักกระเจี๊ยบเขียวแล้วจะรู้สึกลื่นๆในปาก เพราะฝักกระเจี๊ยบเขียวจะมีสารเมือกพวกเพ็กติน (Pectin) และกัม (Gum) ที่ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ เหมาะกับคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร ทั้งยังช่วยรักษาความดันให้เป็นปกติ เป็นยาบำรุงสมอง ช่วยระบาย และสามารถแก้โรคพยาธิตัวจี๊ดได้ด้วย
ภาพกระเจี๊ยบเขียวจากen.wikiepdia.org
th.wikiepdia.org
www.doctor.or.thwww.oknation.netwww.rakbankerd.comwww.thaihealth.in.th