ผ้าโสร่งบาติกอินโดนีเซียประวัติผ้าบาติก แหล่งกำเนิดของผ้าบาติกมาจากไหนยังคงเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ นักวิชาการชาวยุโรปหลายคนเชื่อว่ามีในอินเดียก่อน แล้วจึงแพร่หลายเข้าไปในอินโดนีเซียอีกหลายคนว่ามาจากอียิปต์หรือเปอร์เซีย แม้ ว่าจะได้มีการค้นพบผ้าบาติก ที่มีอายุเก่าแก่ในประเทศอื่น ทั้งอียิปต์ อินเดีย และญี่ปุ่นแต่บางคนก็ยังเชื่อว่า ผ้าบาติกเป็นของดั้งเดิมของอินโดนีเซีย และยืนยันว่าศัพท์เฉพาะที่เรียกวิธีการและขั้นตอนในการทำผ้าบาติก เป็นศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย สีที่ใช้ย้อมก็มา จากพืชที่มีในอินโดนีเซียแท่งขี้ผึ้งชนิดที่ใช้เขียนลายก็ เป็นของอินโดนีเซีย ไม่เคยมีในอินเดียเลย เทคนิคที่ใช้ในอินโดนีเซียสูงกว่าที่ทำกันในอินเดีย และจากการศึกษาค้นคว้าของ N.J.Kron นักประวัติศาสตร์ชาว ดัตช์ก็สรุปไว้ว่า การทำโสร่งบาติกหรือโสร่งปาเต๊ะเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนติดต่อกับอินเดีย จาก การศึกษาของบุคคลต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่า แม้ว่าจะมีการค้นพบลักษณะผ้าบาติกในดินแดนอื่น ๆ นอกจากอินโดนีเซีย แต่ก็คงเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่น วิธีการปลีกย่อยจะแตกต่างกันตามวิธีการทำผ้า ของชาติต่าง ๆ ที่จะให้มีลวดลายสีสัน ผ้าบาติกของอินโดนีเซียเอง คงไม่ได้รับการถ่ายทอดจากชาติอื่น ในทางกลับกันในระยะต่อมาการทำผ้าบาติกของอินโดนีเซียได้รับการเผยแพร่ไปยัง ชาติอื่น ๆ ส่วนการทำผ้าโสร่งบาติกนั้น คงมีกำเนิดจากอินโดนีเซียค่อนข้างแน่นอน
ผ้าบาติดของมาเลเซียที่มาของชื่อผ้าบาติกผ้าบาติกหรือผ้า ปาเต๊ะ เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดในส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี และใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี คำว่า “บาติก” ( Batik ) เดิมเป็นคำภาษาชวา ใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายเป็นจุด คำว่า “ติก”มีความหมายว่า เล็กน้อย หรือ จุดเล็กๆ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “ตริติก” หรือ “ตาริติก” ดั้งนั้นผ้าบาติก จึงมีความหมายว่า ผ้าที่มีลวดลายเป็นจุดๆ ด่างๆ
ผ้าบาติกภูเก็ตของไทยประวัติผ้าบาติกในไทย ในประเทศไทย มีการทำผ้าบาติกเป็นอุตสาหกรรมกันมานานแล้ว มีการผลิตในหลายจังหวัดทางภาคใต้ เช่น ยะลา ปัตตานี สงขลา นราธิวาส และในภาคกลาง เช่น กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังมีการผลิตผ้าบาติกตามสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง เช่น ภูเก็ต เกาะสมุย เชียงใหม่ ลำพูน ระยอง พัทยา เป็นต้น แต่การแพร่หลายของผ้าบาติกนั้นเริ่มเข้ามาทาง จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้รับอิทธิพลมาจากมาเลเซีย ซึ่งมาเลเซียเองก็ได้รับอิทธิพลมาจากอินโดนีเซียอีกทอดหนึ่ง คนไทยรู้จักผ้าบาติกในลักษณะของ “ผ้าพันหรือผ้าปาเต๊ะพัน” โดยเรียกตามวิธีนุ่ง คือ พันรอบตัว คำว่า “โสร่ง” ก็มาจากภาษาอินโดนีเซียเช่นเดียวกัน หมายถึง ผ้านุ่ง คนในท้องถิ่นภาคใต้ เรียกบาติกว่า “ผ้าปาเต๊ะ” หรือ “ผ้าบาเต๊ะ” ส่วนคนรุ่นเก่าเรียกผ้าปาเต๊ะที่ไม่ได้ผลิตในประเทศไทยว่า “ผ้ายาวอ” หรือ “จาวอ” (Java) ซึ่งหมายถึง ผ้าชวาและเรียกชื่อตามลักษณะของผ้าเป็นภาษาพื้นเมืองชายแดนภาคใต้ 4 ชนิด คือ
1.จาวอตูเลส (Java Tulis) ใช้เรียกผ้าบาติกที่ใช้เทคนิคการเขียนเทียนด้วยจันติ้งตลอดทั้งผืน
2.จาวอตูเก (ผ้าชวากระบอกไม้ไผ่) ใช้เรียกชื่อผ้าปาเต๊ะที่มีคุณภาพดีชั้นหนึ่ง เนื้อดีเบาบาง และผ้าผืนหนึ่ง ๆ สามารถม้วนได้เพียง 1 กำมือเท่านั้น
3.จาวอบือเละ ซึ่งหมายความว่า ผ้าพันชวา ใช้เรียกผ้าบาติกที่มีความยาวตั้งแต่ 3.5 - 4 หลา เป็นลักษณะของผ้าที่ไม่เป็นตะเข็บผ้าให้ติดกันเป็นถุง แต่ใช้วิธีนุ่งแบบพันรอบตัว บางแห่งเรียกผ้าชนิดนี้ว่า ผ้าบาติกพัน (ผ้าพัน)
4.จาวอซือแย ผ้าชวาตราดอกจิก เป็นผ้านุ่งที่มีคุณภาพดี มีตราดอกจิกเป็นเครื่องหมายการค้า
ระบำปาเต๊ะ เป็นระบำที่ประดิษฐ์ขึ้น โดยอาจารย์ดรุณี สัจจากุล แห่งภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูยะลา ได้ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2523 ระบำปาเต๊ะ ได้นำเอาขั้นตอนการทำผ้าปาเต๊ะมาประยุกต์ ดัดแปลงเพื่อประกอบเข้ากับท่าเต้นรำของการแสดงพื้นเมืองภาคใต้ โดยจะเริ่มจากการแบกภาชนะใส่เทียนไปเคี่ยวบนไฟร้อนละลาย การถือกรอบไม้ออกมาขึงผ้าเพื่อเขียนลวดลาย ขั้นตอนการย้อมผ้า การนำผ้าที่ย้อมมาตากและจบลงด้วยทุกกลุ่มออกมาร่วมเริงระบำอย่างสนุกสนาน แสดงความชื่นชมพอใจในชุดผ้าปาเต๊ะที่สวยงาม เครื่องดนตรีประกอบใช้วงดนตรีพื้นเมืองภาคใต้
ขอขอบพระคุณข้อมูลและภาพจากgotoknow.org
www.bbc.co.ukwww.dreamstime.comwww.nectec.or.thwww.oknation.comwww.phuket.comwww.phuketbatik.comwww.youtube.com(คลิประบำผ้าบาติก ของอินโดนีเซีย)