ข้อมูลปลาบู่มหิดล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mahidolia mystacina) เป็นปลาบู่ที่พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ที่อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เมื่อ พ.ศ. 2475 โดย ดร. ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ และได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ตามพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ในฐานะที่ได้ทรงอุปถัมภ์ และพระราชทานทุนสำหรับส่งนักเรียนไปศึกษาต่อด้านการประมงในต่างประเทศ และทรงได้รับถวายสมัญญานามว่า "พระประทีปแห่งการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำของไทย" ปลาบู่มหิดลนอกจากจะค้นพบที่จังหวัดจันทบุรีแล้ว ยังค้นพบที่จังหวัดระนอง และจังหวัดภูเก็ตอีกด้วย
ปลาบู่มหิดลในปัจจุบันปลาบู่มหิดลชอบอาศัยในบริเวณปากแม่น้ำ และป่าชายเลนที่สภาพเป็นอ่าว พื้นทะเลเป็นโคลนปนทราย มักพบเสมอว่า ปลาชนิดนี้มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่กับกุ้งดีดขัน โดยกุ้งเป็นผู้สร้างรูเป็นที่อาศัยร่วมกันกับปลา และปลาเป็นผู้ทำความสะอาดภายในรู ปลาบู่มหิดลเป็นปลาขนาดเล็กที่หาได้ยาก ไม่สามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง และในปัจจุบันป่าชายเลนเสื่อมโทรม อันเนื่องมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจด้านต่างๆ เช่น การปล่อยน้ำทิ้ง และของเสียจากแหล่งชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม และการเลี้ยงกุ้งทะเล เป็นต้น นอกจากนี้แหล่งน้ำต่างๆ เกือบตลอดแขนงชายฝั่งทะเลมีสภาพเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะตื้นเขิน เนื่องจากมีการชะล้างหน้าดิน บนพื้นที่ดินจากการประกอบกิจกรรมดังกล่าวแล้ว รวมทั้งการทำประมงที่ใช้เครื่องมือประจำที่ประเภทกางกั้นจำพวกโพงพางปีก เป็นต้น ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาวะความเปลี่ยนแปลงของแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีผลต่อความเสื่อมโทรมของพันธุ์สัตว์น้ำสำคัญๆ อย่างปลาบู่มหิดล ที่มีให้พบเห็นได้ไม่บ่อยนัก อาจเป็นผลให้ปลาชนิดนี้สูญพันธุ์ได้ในอนาคต
ภาพแผนที่การกระจายตัวของปลาบู่มหิดลในไทยปลาบู่มหิดลในต่างประเทศ มีการพบปลาบู่มหิดลกระจายอยู่ในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย อินโดนีเซีย และไต้หวัน ในส่วนของแหล่งที่พบปลาบู่มหิดลในประเทศไทย จากแหล่งข้อมูลเดียวกัน พบว่า แหล่งที่พบปลาบู่ คือ ชายฝั่งจังหวัดจันทบุรี จังหวัดระนอง และจังหวัดภูเก็ต
จากth.wikipedia.org