คำขวัญจังหวัดเชียงใหม่มีคำขวัญอยู่ว่า :
ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์
ปรับให้เข้ากับจังหวัดเชียงใหม่เป็น
"เจดีย์หอยเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผชาติล้วนงามตา นามล้ำค่าประทุมธานี"
เจดีย์หอยเป็นศรี : เจดีย์หอยเป็นเจดีย์ที่เกิดจากซากหอยดึกดำบรรพ์มาก่อเป็นเจดีย์ เป็นเจดีย์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดปทุมธานี (อำเภอลาดหลุมแก้ว)
ประเพณีเป็นสง่า : จังหวัดปทุมธานีมีงานประเพณีมากมายส่วนใหญ่เป็นประเพณีของชาว เพราะจังหวัดนี้มีชาวมอญอยู่มากมาย เช่น ประเพณีการหุงข้าวแช่ (เปิงสงกรานต์), ตักบาตรพระร้อยทางน้ำ, ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง, ประเพณีรำพาข้าวสาร, ประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบ, ประเพณีการเล่นแข่งขันลูกหนู, ประเพณีการแห่หางหงส์, ประเพณีทำบุญกลางบ้าน, ประเพณีรำมอญ, ประเพณีมอญคลั่ง, ประเพณีผีกระจาด – ผีคุ้มครองเด็ก (แทบทุกอำเภอในจังหวัดปทุมธานี)
บุปผชาติล้วนงามตา : จังหวัดปทุมธานีมีแหล่งชมดอกไม้สวยงามมากมายเช่น ทุงทานตะวัน ที่ศูนย์ศึกษาวิธีการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริฯ ปทุมธานี อำเภอสามโคก ชมดอกไม้ ชนิดต่างๆ เช่น ดอกมะลิ ดอกกุหลาบ ดอกดาวเรือง ที่ศูนย์บริการวิชาการเกษตรของมูลนิธิชัยพัฒนา อำเภอลำลูกกา ชมดอกกล้วยไม้ที่ สวนกลวยไม เจาพระยาออคิด อำเภอสามโคก ชมดอกและผลแก้วมังกรที่ สวนเกษตรแกวมังกร อําเภอหนองเสือ พิพิธภัณฑการเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ อำเภอคลองหลวง พิพิธภัณฑบัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อำเภอธัญบุรี เป็นต้น (อำเภอลำลุกกา อำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวง อำเภอสามโคก อำเภอหนองเสือ อำเภอลำลูกกา)
นามล้ำค่าประทุมธานี : ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา คือ เมื่อ พ.ศ. 2202 มังนันทมิตรได้กวาดต้อนครอบครัวมอญ เมืองเมาะตะมะ อพยพหนีภัยจากศึกพม่า เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ซึ่งสมเด็จพระนายรายณ์มหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ครอบครัวมอญเหล่านั้นไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ชาวมอญได้อพยพหนีพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกเป็นครั้งที่ 2 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนที่บ้านสามโคกอีก และในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ได้มีการอพยพชาวมอญครั้งใหญ่จากเมืองเมาะตะมะเข้าสู่ประเทศไทยเรียกว่า "มอญใหญ่" พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญบางส่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคกอีกเช่นเดียวกัน จากชุมชนขนาดเล็ก บ้านสามโคกจึงกลายเป็น เมืองสามโคก ในเวลาต่อมา ต่อมาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2358 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองสามโคก เป็น เมืองประทุมธานี เนื่องจากว่าในสมัยนั้นชาวมอญได้นำดอกบัวมาถวายแก่พระองค์ และเมื่อ พ.ศ. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ใช้คำว่า "จังหวัด" แทน "เมือง" และให้เปลี่ยนการสะกดชื่อใหม่จาก "ประทุมธานี" เป็น "ปทุมธานี" กลายเป็น จังหวัดปทุมธานี ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2475 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยุบจังหวัดธัญบุรีมาขึ้นกับจังหวัดปทุมธานี