ประวัติเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยมเจดีย์ทรงระฆังสี่เหลี่ยม หรือเจดีย์ทรงดอกบัวเหลี่ยม นั้นเป็นเจดีย์ที่สามารถพบได้ในอีสาน รวมถึงบางพื้นที่นอกอีสาน และประเทศลาว (ในไทยนอกจากภาคอีสานแล้วภาคอื่นๆ ยังมีการพบเจดีย์แบบนี้ เช่น ชุมชนชาวลาวในภาคอื่น ของไทย)
โดยเจดีย์ทรงระฆังสี่เหลี่ยม แบบล้านช้างนั้น มาจากเจดีย์เพิ่มมุมของอยุธยา และพบว่าเกิดขึ้นพุทธศตวรรษที่ 22 ตรงกับสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งล้านช้าง ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับกรุงศรีอยุธยา
เจดีย์ศรีสุริโยทัย วัดสวนหลวงสบสวรรค์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศิลปะอยุธยารามพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นสมัยแรกที่มีการปรับปรุงออกแบบทรงเจดีย์ใหม่จากผังเจดีย์กลม เป็นผังเพิ่มมุมหรือ เจดีย์สี่เหลี่ยมเพิ่มมุม ด้วยการหยักมุมที่องค์ระฆัง อันเป็นระบบการเพิ่มมุมอิทธิพลจากปรางค์หรือปราสาทขอมนั่นเอง เจดีย์ในกลุ่มพวกนี้เช่น เจดีย์ศรีสุริโยทัย
พระธาตุศรีสองรัก จังหวัดเลย ช่างล้านช้างได้แนวความคิดเจดีย์เพิ่มมุมมาจากศิลปะอยุธยา แต่ปรับส่วนขององค์ระฆังสี่เหลี่ยมไม่หยักที่มุม ต้นแบบของเจดีย์ทรงได้แก่ พระธาตุศรีสองรัก ที่จังหวัดเลย
ต่อมาเจดีย์ทรงระฆังสี่เหลี่ยม หรือเจดีย์ทรงดอกบัวเหลี่ยม นี้ก็ได้แพร่หลายไปยังอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งก็คือประเทศลาวและภาคอีสานในปัจจุบัน มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รับอิทธิพลศิลปะอื่นๆ แต่ยังคงให้เห็นความเป็นทรงระฆังสี่เหลี่ยมหรือทรงดอกบัวเหลี่ยมอยู่ เช่น ในประเทศลาวมี พระธาตุหลวง เมืองเวียงจันทน์ เจดีย์ที่วัดเชียงทอง วัดแสนสุขาราม วัดใหม่สุวรรณภูมาราม เมืองหลวงพระบางเป็นต้น ประเทศไทยมี พระธาตุศรีสองรัก พระธาตุพนม พระธาตุกล่องข้าวน้อย
อ้างอิงหนังสือเจดีย์ พระพุทธรูป ฮูปแต้มสิม ศิลปะลาวและอีสาน
th.wikipedia.org