ภาพลอดช่องไทย ประวัติลอดช่องในประเทศไทยลอดช่องเป็นขนมที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมทานกันในพม่า ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม บรูไน กัมพูชา (และที่กัมพูชามีการนำลอดช่องมาผัดอีกด้วย)
แต่ถ้าจะให้หาว่าลอดช่องนั้นกำเนิดที่ประเทศใดกันแน่นั้น คงยากนักที่จะหาเจอ แต่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของสยามกล่าวถึงลอดช่องในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงได้มีการกล่าวถึงขนมสี่ถ้วยโดยหนึ่งในนั้นมี ขนมนกปล่อย ซึ่งนกปล่อยคือ ลอดช่อง เพราะว่าลอดช่องจะต้องผ่านรูของภาชนะที่ทำ ทำให้ดูเหมือนมูลนกนั่นเอง
ภาพลอดช่องผัดในกัมพูชา แล้วทำไมต้องเรียกว่าลอดช่องสิงคโปร์มาจากเมื่อ พ.ศ. 2504 ร้านลอดช่องร้านแรกในประเทศไทย "สิงคโปร์โภชนา" ซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าโรงภาพยนตร์สิงคโปร์หรือโรงหนังเฉลิมบุรี บนถนนเยาวราช ผู้คนไปรับประทานจึงมักจะเรียกว่า "ลอดช่องหน้าโรงหนังสิงคโปร์" จนในที่สุดตัดทอนเหลือแต่เพียง "ลอดช่องสิงคโปร์" ร้านสิงคโปร์โภชนาก็ยังขายลอดช่องสิงคโปร์อยู่จนถึงปัจจุบัน
อย่างงั้นก็แสดงว่าลอดช่องเป็นขนมไทยแท้ แต่
สันติ เศวตวิมล เล่าว่า
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เอากุ๊กสิงคโปร์มาเป็นกุ๊กหลวง มาสอนไทยทำลอดช่องที่วังเทวเวสม์ มีคำกลอนพูดกันในสมัยนั้นว่า (สมัย ร.5)
“ซิงกาโปลอดช่องเขียว ตัวยาวเรียวสีสดใส น้ำเชื่อมน้ำแข็งใส่ ดื่มกินลื่นชื่นใจเหลือ”
สมัยก่อนลอดช่องไทยสีขาว ใช้แป้งข้าวเจ้า ไม่ใส่สี แต่ของสิงคโปร์ใส่สีเขียว ใช้แป้งมัน หรือสมัยก่อนเรียกแป้งสิงคโปร์ ซึ่งในสมัยก่อนต้องนำเข้าจากสิงคโปร์เท่านั้น ลอดช่องสิงคโปร์ อาจมาจากสิงคโปร์จริงๆก็ได้ เพราะวัตถุดิบที่ใช้ทำลอดช่องสิงคโปร์ คือแป้งสิงคโปร์ ดังนั้นอาจเป็นไปได้ว่าลอดช่องสิงคโปร์จะมาจากสิงคโปร์จริงๆ เพราะในสมัยนั้นแป้งประเภทนี้ต้องนำเข้าอย่างเดียว เจ้าของร้านลอดช่องหน้าโรงหนังสิงคโปร์ก็เล่าประวัติว่าได้สูตรมาจากเพื่อนอีกทีหนึ่ง ส่วนแป้งสิงคโปร์ก็คือแป้งมันสำปะหลังนั่นเอง ปัจจุบันผลิตได้เองไม่ต้องนำเข้าแล้ว
สำหรับสูตรที่มีมานานและนิยมในประเทศไทยเรียกว่าลอดช่องกะทิ หรือลอดช่องสูตรทำจากแป้งข้าวเจ้าเป็นหลัก ซึ่งก็คือแป้งที่ทำจากข้าวที่ปลูกอยู่ทั่วไปในประเทศไทย
ภาพลอดช่องในสิงคโปร์ ลอดช่องในสิงคโปร์ชาวเรียกลอดช่องว่า เชนดอล (Cendol/Chendol) ซึ่งสิงคโปร์รับขนมนี้มาจากชวา โดยเชนดอล มาจากคำว่า เจนดอล เป็นภาษาชวา ซุนดา และอินโดนีเซีย แปลว่า กดบีบหรือถลนให้ลอดช่องออกมา โดยลอดช่องที่ชาวสิงคโปร์ทานนั้นมีการทานกับมะม่วง ทุเรียน ถั่วแดง มีสูตรอื่นๆ อย่าง ใส่น้ำตาลแดง ดำ ขาว เป็นสูตรพิเศษ คนสิงคโปร์เน้นน้ำตาลที่ราดบนน้ำแข็ง แต่สยามนิยมน้ำกะทิ ในอดีตลอดช่องไม่ได้ทานกับน้ำแข็งจนกระทั่งชาวอังกฤษนำเอาตู้เก็บน้ำแข็งมาเผยแพร่ในแถบนี้ทำให้ลอดช่อง นั้นเป็นที่นิยมในดินแดนอาณานิคมอย่างมลายู สิงคโปร์มากยิ่งขึ้น
ภาพการขายลอดช่องในปี ค.ศ. 1935 ที่มาลัง จังหวัดชวาตะวันออกประเทศอินโดนีเซีย
สรุปลอดช่องในที่นี้มี 2 สูตร
1. ลอดช่องสูตรแป้งสิงคโปร์ หรือสูตรแป้งมันสำปะหลัง เรียกว่าลอดช่องสิงคโปร์
2. ลอดช่องสูตรแป้งข้าวเจ้าเป็นหลัก แล้วยังมีแป้งท้าวยายม่อม แป้งถั่วเขียว ทำให้ใส เรียกว่าลอดช่องกะทิ หรือลอดช่องไทย
ขอขอบพระคุณรูปภาพและข้อมูลจากhttp://en.wikipedia.org/wiki/Cendolhttp://th.wikipedia.org/wiki/ลอดช่องสิงคโปร์https://www.youtube.com/watch?v=dj3OYvW-6Lohttp://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3c32d24f17f49456http://www.oknation.net/blog/print.php?id=860987http://rightsara.com/2012/08/Lod-Chong.htmlhttp://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/review_inside_ByMember_Detail.php?id=886&CID=11952ภาพการขายลอดช่องสิงคโปร์ที่กรุงจาร์กาตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย