วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 หมากแพ หรือ อาโวกาโด ชื่อตะวันตกแต่เป็นผลไม้เมืองร้อน

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

หมากแพ หรือ อาโวกาโด ชื่อตะวันตกแต่เป็นผลไม้เมืองร้อน Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: หมากแพ หรือ อาโวกาโด ชื่อตะวันตกแต่เป็นผลไม้เมืองร้อน   หมากแพ หรือ อาโวกาโด ชื่อตะวันตกแต่เป็นผลไม้เมืองร้อน EmptyFri Dec 20, 2013 9:55 pm

หมากแพ หรือ อาโวกาโด ชื่อตะวันตกแต่เป็นผลไม้เมืองร้อน 384px-Persea_americana_fruit_2

ประวัติอะโวกาโดในสยาม
อาโวกาโด (อังกฤษ: avocado) หรือลูกเนย เป็นผลไม้ที่มีเนื้อมันเป็นเนย เป็นต้นไม้พื้นเมืองของรัฐปวยบลาในประเทศเม็กซิโก ต้นอะโวกาโดมีถิ่นกำเนิดในแผ่นดินใหญ่ของอเมริกากลางแถบร้อน จัดเป็นพืชดอกในวงศ์ Lauraceae ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกับ อบเชย, กระวาน และ เบย์ลอเรล (bay laurel) ผลของ อาโวกาโด หรือ alligator pear (สาลี่จระเข้) มีรูปทรงคล้ายสาลี่ รูปไข่ หรือรูปกลม

ที่จังหวัดน่านมีมิชชันนารี นำผลมารับประทานสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จากนั้นเพาะเมล็ดปลูกไว้ ที่หน้าบ้านอัยการจังหวัดน่าน ต่อจากนั้น จึงมีหน่วยงานต่างๆนำอะโวคาโดมาปลูกมากขึ้น พบว่า ต้นโตประมาณโอบครึ่ง ผลมีลักษณะกลม ทุกวันนี้อะโวกาโดต้นดังกล่าวได้ตายไปแล้ว

คุณนิพนธ์ เรียนจบจากวิทยาลัยเกษตรกรรมบางพระ เมื่อปี 2512 ปัจจุบัน สถาบันแห่งนี้ คือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ หลังเรียนจบเขาทำงานอยู่ที่น่าน ตำแหน่งสุดท้ายคือ หัวหน้าศูนย์สนับสนุนการเกษตรฟาร์มบางระจัน บ้านป่ากลาง ศูนย์แห่งนี้ ทำหน้าที่ช่วยเหลือชาวเขาในยุคเก่าก่อน พืชที่ปลูกมากมายหลายชนิดในศูนย์ มีอะโวกาโดรวมอยู่ด้วย

คุณนิพนธ์ ถึงแม้มีภูมิลำเนาอยู่อุบลราชธานี แต่ต้องมนต์เมืองน่าน จึงมีภรรยาเป็นครู ทุกวันนี้กลับอุบลฯแทบไม่ถูกแล้ว

เขาลาออกจากงาน เมื่อปี 2530 มาทำสวนผสมพื้นที่กว่า 10 ไร่ พืชที่ปลูกมีไม้ผลพื้นเมือง ที่เขาปลูกกัน ส่วนอะโวกาโดมีต้นใหญ่ๆ ราว 50 ต้น หากนับเวลาที่ศึกษาอย่างจริงจัง เริ่มราวปี 2531-2532 ถึงปัจจุบัน

เจ้าตัวได้เขียนถึงอะโวกาโดไว้ว่า อะโวกาโด เป็นผลไม้ที่รู้จักกันมานานในแถบอเมริกา และยุโรป เนื่องจากอะโวกาโดมีคุณค่าอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าผลไม้อื่น โดยชาวต่างชาติใช้เนื้ออะโวกาโดสุกในการประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน เช่น ส่วนประกอบจากสลัด หรือรับประทานเปล่าๆ รับประทานกับไอศครีม น้ำตาล นมข้น หรือปั่นกับนมข้น หรือน้ำเชื่อมทำเป็นเครื่องดื่ม สกัดเอาน้ำมันจากเนื้อทำเครื่องสำอาง แทนน้ำมันมะกอก

สำหรับบ้านเราในแง่คิดของคุณนิพนธ์แล้ว อาจจะแปรรูปออกมาหลายอย่าง เช่น ทำขนมหม้อแกง รับประทานกับน้ำกะทิแบบแตงไทย ทำข้าวเกรียบ หรือรับประทานเสร็จเปลือกที่มีเนื้อติด เอามานวดใบหน้ารักษาสิว ฝ้า หรือไม่ก็ปั่นแล้วมาหมักผม หรืออาจจะทำเป็นแชมพูหมักผมก็ได้

เนื่องจากอะโวกาโดมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าไม้ผลชนิดอื่นๆ มีโปรตีนสูง มีน้ำตาล มันข้น ที่ให้ค่าความร้อนต่อร่างกายสูง แต่ปริมาณของคาร์โบไฮเดรตต่ำ ทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน บริโภคผลไม้ชนิดนี้ ไขมันก็ย่อยง่าย

ประเทศญี่ปุ่นเคยเอาผลไม้ 70 ชนิด ไปวิจัย พบว่าอะโวกาโดสามารถรักษาโรคได้

ในประเทศไทยเกษตรกรยังปลูกอะโวกาโดกันน้อย ปริมาณที่ได้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ทางประเทศไทยนำเข้ามา และขายกัน ผลละ 80 บาท

"มิชชันนารี ที่สอนอยู่โรงเรียนน่านคริสเตียนนำมากิน แล้วเมล็ดถูกนำลงปลูกไว้ ที่เติบโตมีอยู่หน้าบ้านอัยการ ตอนนี้ไม่เหลือแล้ว ชาวบ้านที่น่านเรียกอะโวกาโดว่า...หมากแพ...สายพันธุ์หลังๆ ผมนำมาจากสถานีวิจัยปากช่อง ของ อาจารย์ฉลองชัย แบบประเสริฐ อะโวกาโดปลูกต้นเดียวเดี่ยวๆ ไม่ค่อยติดผล เพราะว่ามีการผสมข้ามต้น ดังนั้น ต้องปลูกหลายต้น อีกอย่างหนึ่งที่ควรระวังคือ หากน้ำใต้ดินตื้น น้ำมาก รากจะเน่า ที่ลุ่มอย่างกรุงเทพฯปลูกไม่ดี"

คุณนิพนธ์เล่า และบอกต่ออีกว่า

"ผลผลิตที่ออกมาในยุคแรกๆ ชาวบ้านกินไม่เป็น เอาไปเตะเล่น ผมแนะนำให้ซื้อน้ำตาลทราย นมข้นหวานราด เมื่อได้ชิมคนรู้จักมากขึ้น ของผมต้นอายุมากสุด ที่ปลูก 20 ปีมาแล้ว ผลผลิต 300-500 กิโลกรัม ต่อต้น ราคาซื้อขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 20-30 บาท สำหรับทุกวันนี้ คนซื้อส่วนหนึ่งเป็นนักท่องเที่ยว ซื้อไปชิมแล้วติดใจ"

คุณนิพนธ์ เขียนเล่าไว้ว่า เมื่อปี 2517 ศูนย์อพยพบ้านป่ากลาง ที่รับชาวเขาอพยพลงมาจากดอย เนื่องจากเกิดการต่อสู้กันระหว่างรัฐบาล กับพลพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในสมัยนั้น จึงส่งเสริมให้มีการปลูกลิ้นจี่และอะโวกาโด โดยหวังว่า จะให้เป็นผลไม้ประจำจังหวัด องค์การซีอาโต้สมัยนั้นได้สั่งพันธุ์อะโวกาโดจากฟิลิปปินส์มาปลูก จำนวน 11สายพันธุ์ โดยเกษตรกร 1 ราย ปลูกจำนวน 2 ต้น

เมื่อปี 2528 ทางการได้มอบศูนย์ให้อยู่ในความดูแลของจังหวัดน่าน ต่อมาปรากฏว่า อะโวกาโดไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร จึงล้มหายตายจากไปมาก คุณนิพนธ์ได้ตามไปเก็บรวมพันธุ์ไว้ได้ 9 สายพันธุ์

"มิชชันนารี ที่สอนอยู่โรงเรียนน่านคริสเตียนนำมากิน แล้วเมล็ดถูกนำลงปลูกไว้ ที่เติบโตมีอยู่หน้าบ้านอัยการ ตอนนี้ไม่เหลือแล้ว ชาวบ้านที่น่านเรียกอะโวกาโดว่า...หมากแพ...สายพันธุ์หลังๆ ผมนำมาจากสถานีวิจัยปากช่อง ของ อาจารย์ฉลองชัย แบบประเสริฐ อะโวกาโดปลูกต้นเดียวเดี่ยวๆ ไม่ค่อยติดผล เพราะว่ามีการผสมข้ามต้น ดังนั้น ต้องปลูกหลายต้น อีกอย่างหนึ่งที่ควรระวังคือ หากน้ำใต้ดินตื้น น้ำมาก รากจะเน่า ที่ลุ่มอย่างกรุงเทพฯปลูกไม่ดี"

คุณนิพนธ์เล่า และบอกต่ออีกว่า

"ผลผลิตที่ออกมาในยุคแรกๆ ชาวบ้านกินไม่เป็น เอาไปเตะเล่น ผมแนะนำให้ซื้อน้ำตาลทราย นมข้นหวานราด เมื่อได้ชิมคนรู้จักมากขึ้น ของผมต้นอายุมากสุด ที่ปลูก 20 ปีมาแล้ว ผลผลิต 300-500 กิโลกรัม ต่อต้น ราคาซื้อขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 20-30 บาท สำหรับทุกวันนี้ คนซื้อส่วนหนึ่งเป็นนักท่องเที่ยว ซื้อไปชิมแล้วติดใจ"

หมากแพ หรือ อาโวกาโด ชื่อตะวันตกแต่เป็นผลไม้เมืองร้อน 319px-IndonesianFood_JusAlpokat
ภาพ : นมปั่นกับอะโวกาโดแบบอินโดนีเซีย ใส่ช็อกโกแลต

การใช้ประโยชน์
อะโวกาโดกินดิบไม่ได้เพราะมีแทนนินทำให้ขม กินมากจะปวดศีรษะ รับประทานได้แต่ผลสุก กินเป็นผลไม้สด หรือกินกับไอศกรีม น้ำตาล นมข้นหวาน สลัด เค้ก ชาวเม็กซิโกใช้เนื้ออะโวกาโดปรุงอาหารแทนเนย และนำมาสกัดน้ำมันทำเครื่องสำอาง ในฟิลิปปินส์ บราซิล อินโดนีเซีย เวียดนามและอินเดียใต้ นิยมกินอะโวกาโดกับนมปั่นหรือไอศกรีม ในบราซิล เวียดนาม ฟิลิปปินส์  และอินโดนีเซียจะเติมน้ำตาล นมหรือน้ำ และเนื้ออะโวกาโด บางครั้งราดด้วยช็อกโกแลต

ความเป็นพิษ
บางคนแพ้อะโวคาโด โดยแพ้ในรูปของละอองเกสร หรือหลังจากรับประทานอะโวกาโดเข้าไปที่เรียก latex-fruit syndrome เพราะเกี่ยวข้องกับการแพ้ลาเท็กซ์[5] อาการที่ปรากฏได้แก่ ลมพิษ ผื่นคัน ปวดท้อง อาเจียน หรืออาจจะเสียชีวิตได้ ใบ เปลือกต้น และเปลือกชั้นเอนโดคาร์บของอะโวกาโดเป็นพิษต่อสัตว์หลายชนิดทั้งแมว หมา แพะ กระต่าย หนู นก ปลา ไก่ และม้า ผลเป็นพิษกับนกบางชนิด American Society for the Prevention of Cruelty to Animals (ASPCA) ได้ประกาศว่าอะโวกาโดเป็นพิษต่อสัตว์ อะโวกาโดเป็นส่วนผสมในอาหารสุนัข และอาหารแมว ชนิด AvoDerm ซึ่ง ASPCA ปฏิเสธที่จะรับรองว่าปลอดภัยหรือไม่

หมากแพ หรือ อาโวกาโด ชื่อตะวันตกแต่เป็นผลไม้เมืองร้อน 320px-Avocado_with_cross_section_edit
ขอขอบพระคุณรูปภาพและข้อมูลจาก
th.wikipedia.org
info.matichon.co.th
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
หมากแพ หรือ อาโวกาโด ชื่อตะวันตกแต่เป็นผลไม้เมืองร้อน
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1
 Similar topics
-
» ดอกโป๊ยเซียนเทพเจ้าทั้ง 8 หรือ มงกุฎหนาม
» พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: พืชพรรณจากต่างแดน-
ไปที่: