ให้พีชกับยุ้ยแบ่งกันพูด
พระพุทธศาสนาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
พระบาทสมเด็จพระพระพุทธยอดฟ้าโลกมหาราช ล้นเกล้ารัชกาลที่ 1 หลังจากทรงตั้งราชธานีใหม่ ก็ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เช่น โปรดให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง ทรงประกาศใช้กฎหมายคณะสงฆ์ ทรงให้ทำสังฆยนาพระไตยปิฎกครั้งที่ 9 ณ วัดพระศรีสรรเพชญ์ (วัดมหาธาตุวราชรังสฤษฎิ์ในปัจจุบัน) เป็นต้น
เกิดพระญวนมีในประเทศไทยครั้งแรกปี พ.ศ.2316 เนื่องจากประเทศเวียดนามเกิดจลาจลที่เมืองเว้ซึ่งเป็นเมืองหลวง จึงมีเจ้านายเชื้อพระวงศ์ญวนที่นับถือพระพุทธศาสนามหายาน พาบ่าวไพร่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้สร้างวัดมหายานแห่งแรกที่แถวตำบลบ้ามหม้อ และตำบลบ้านญวน ต่อมาในรัชกาลที่1 ก็มีชาวญวนที่นับถือพระพุทธศาสนาและคริสต์ศาสนาอพยพเข้ามาอีก กลุ่มที่เป็นชาวพุทธก็ได้สร้างวัดขึ้นที่กรุงเทพฯ จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดจันทบุรี ต่อมาได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากพระบามทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระราชดำริกับสมเด็จพระสังฆราช(มี) ให้ประกอบพิธีเนื่องในวันวิสาขบูชาเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ในปี พ.ศ.2360 ทรงปฏิสังขรณ์วัดเก่า เช่น วัดอรุณราชวราราม วัดโมลีโลกยาราม เป็นต้น สามปีต่อมาก็ได้โปรดให้มีการสังคายนาสวดมนต์ โปรดให้มีการจัดการศึกษา พระปริยัติธรรมหลักสูตรภาษาบาลีจาก 3 ชั้น คือ เปรียญตรี โท เอก เป็นแบบ 9 ประโยคขึ้น (ดู ประวัติศาสตร์การศึกษาบาลีฯ, 2547) และยังทรงจัดส่งสมณทูตไปเจริญศาสนสัมพัมธ์กับศรีลังกา แล้วนำหน่อพระศรีมหาโพธิ์มา 6 ต้น โปรดให้นำไปปลูกที่นครศรีธรรมราช 2 ต้น วัดมหาธาตุฯ 1 ต้น วัดสระเกศ 1 ต้น และที่รัฐกลันตัน 1 ต้น
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่ 3 โปรดให้สร้างและบูรณะปฏิสังขรวัดต่างๆ มากที่สุดถึง 53 วัด ทรงให้ชำระพระไตรปิฎก และทรงส่งสมณทูตไปลังกา 2 ครั้ง และในรัชกาลนี้ กิดคณะสงฆ์ใหม่เรียกว่า คณะธรรมยุต ต่อมา เรียกว่า ธรรมยุตินิกาย
เจ้าฟ้ามงกุฎ ได้ผนวชเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ.2360 และหกปีต่อมาก็ผนวชเป็นพระภิกษุแล้วประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ทรงศึกษารอบรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก อรรถกถาฎีกาและภาษาสันสกฤต ทรงตั้งคณะธรรมยุติกนิกายขึ้นในประเทศไทยและพระสงฆ์รามัญก็มีสาวนเกี่ยวข้องกับธรรมยุติกนิกายนี้อย่างมาก พระภิกษุสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎทรงอ่านพระไตรปิฎกจนเข้าพระทัย ตลอดจนคัมภีร์อื่นๆอย่างพินิจพิจารณา จนทรงเห็นว่าวัตรปฏิบัติที่พระสงฆ์ไทยประพฤติอยู่นั้นคลาดเคลื่อนผิดกับพุทธบัญญัติมากนัก
รัชกาลที่4 พระองค์ทรงลาผนวชแล้วเสด็จขึ้นครองราชย์ พ.ศ.2394 เมื่อพระชนมายุได้ 47 พรรษา การที่ได้ทรงผนวชอยู่นานนั้นเป็นประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินเป็นอย่างมาก เพราะทรงมีการเสด็จในสถานที่ต่างๆ ทรงทราบเหตุการณ์บ้านเมืองและข้อบกพร่อง ทรงรู้ทันต่อเหตุการณ์ทั่วไป รู้ภาษาอังกฤษ รู้นิสัยใจคอของฝรั่งที่จะต้องสัมพันธ์ในทางราชการ ทรงสร้างวัดใหม่หลายวัดคือ วัดบรมนิวาส วัดโสมนัสวิหาร วัดปทุมวนาราม เป็นต้น กับทรงบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ ทรงโปรดให้มีพิธี”มาฆบูชา”ขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2394พระองค์ทรงอุปถัมภ์พระสงฆ์ญวน และทรงโปรดให้พระสงฆ์อนัมนิกายประกอบพิธีกรรมในพิธีหลวงตั้งแต่นั้นมา นับว่าเป็นการรับรองเป็นทางการแก่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานขึ้นเป็นครั้งแรก
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 โปรดให้ชำระพระไตรปิฎก และพิมพ์พระไตรปิฎกด้วยอักษรไทยเป็นครั้งแรก ทรงสถาปนาสถาบันการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย 2 แห่ง คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหามกุฎราชวิทยาลัย โปรดให้ตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 นอกจากนี้ยังทรงให้สร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดเบญมบพิตร วัดนิเวศธรรมประวัติ เป็นต้น
รัชกาลที่6 พ.ศ.2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปราดเปรื่องความรู้ทางพระพุทธศาสนามากถึงกับทรงพระราชนิพนธ์หนังสือที่สั่งสอนอบรมข้าราชการด้วยพระองค์เอง คือ เทศนาเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร เป็นต้น
พระองค์ทรงเห็นว่าการปกครองคณะสงฆ์เสื่อมโทรมมานาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานอำนาจสิทธิขาดในการปกครองคณะสงฆ์แก่สมเด็จพระสังฆราช ในยุคนั้นก็คือสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส ทำให้พระสงฆ์ปกครองกันเองจนถึงบัดนี้ จากนั้นสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ก็ทรงปรับปรุงการปกครองให้คณะสงฆ์เจริญรุ่งเรืองทุกทาง โดยทรงคิดแบบตราประจำตำแหน่งเจ้าคณะต่างๆใหม่ทั้งหมด ทรงออกพระมหาสมณวินิจฉัยว่าด้วยเรื่องอธิกรณ์ ปัญหาวินัยบัญญัติ และระเบียบการห่มผ้า เป็นต้น
ทรงเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักสูตรการศึกษาของคณะสงฆ์ใหม่ที่ได้ใช้มาจนทุกวันนี้ คือ ทรงนำวิธีการสอบบาลีสนามหลวงโดยการเขียนมาใช้แทนการสอบปากเปล่าเป็นครั้งแรก ทรงเริ่มการศึกษาปริยัติธรรมหลักสูตรใหม่เรียกว่านักธรรม ตั้งแต่ชั้นตรี โท และเอก โปรดให้พิมพ์คัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฏกเพื่ออุทิสถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระพันปีหลวง และเนื่องในการบำเพ็ญกุศลถวายสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ นอกจากนี้แล้วพระบรมวงศานุวงศ์ยังได้บริจาคทรัพย์พิมพ์คัมภีร์วิสุทธิมรรค และมิลินทปัญหา เป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่ 7 โปรดให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่ม จำนวน 45 เล่ม เรียกว่า พระไตรปิฏกสยามรัฐ นอกจากนี้ยังโปรดให้มีการแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก และแจกจ่ายในงานพระราชพิธีวิสาขบูชาเป็นประจำทุกปี
รัชกาลที่ 8 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางศาสนจักรได้มีการประกาศพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่ พ.ศ.2484 โดยถ่ายแบบมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีสาระสำคัญให้พระสงฆ์ควรมีนิกายเดียว คือ "คณะสงฆ์ไทย" ไม่แบ่งแยกเป็นคณะธรรมยุติกนิกาย และคณะมหานิกาย จากนั้นรัฐบาลได้สร้างวัดพระศรีมหาธาตุบางเขน แล้วอาราธนาพระสงฆ์ ทั้งสองนิกายไปอยู่รวมกันเพื่อรวมนิกายทั้งสองเป็นอันเดียว
ในยุคนี้มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย 2 สำนวนคือ สำนวนแปลโดยอรรถ และสำนวนเทศนาพิมพ์ในใบลาน และมีการเปลี่ยนชื่อจากกระทรวงธรรมการเป็นกระทรวงศึกษาธิการ และกรมธรรมการเป็นกรมศาสนา และเป็นสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจนถึงปัจจุบัน ในปลายรัชกาลนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ คือ ได้ประกาศยกเลิกการสอบบาลีสนามหลวงที่เป็นการเขียนด้วยตัวอักษรขอมแต่เดิม ให้เขียนสอบบาลีด้วยอักษรไทย เนื่องจากพระสงฆ์ที่รู้จักอักษรขอมมีน้อย ทำให้พระที่เรียนบาลีต้องหาอาจารย์สอนอักษรขอมเพิ่มเติมอีก จึงเป็นเหตุให้ไม่นิยมใช้อักษรขอมจารึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 ทรงปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับศาสนาและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในด้านต่างๆ เป็นอย่างดี เช่น ผนวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ ทรงให้มีการสังคยานาพระไตรปิฎก ทรงให้วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ทรงให้มีการสร้างพุทธมณฑล เนื่องในโอกาสฉลอง 25 พุทธศตวรรษที่นครปฐมเป็นต้น
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูสมัยรัตนโกสินทร์
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการฟื้นฟูพิธีพราหมณ์อีกครั้งอย่าง พระราชพิธีพืชมงคลแรกนาขวัญ พิธีโล้ชิงช้า พระราชพิธีโล้ชิงช้า พระราชพิธีพิรุณศาสตร์ พระราชพิธีสิบองเดือน นอกจากนี้มีบทบาททางศาสนาพิธีกรรมและศาสนาแล้ว ศาสนาพราหมณ์ยังมีบทบาทต่อสังคมไทยด้านกฎหมาย การปกครอง และโหราศาสตร์อีกด้วย
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ผู้นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูชาวอุตตรประเทศและปัญจาบได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร โดยผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูจากอุตรประเทศส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและรับราชการ ส่วนผู้นับถือพราหมณ์-ฮินดู จากอุตรประเทศได้ร่วมกันจัดสร้าง วัดวิษณู แถววัดดอน ส่วนผู้นับถือพราหมณ์-ฮินดูจากปัญจาบด้าร้าง เทพมณเฑียร ขึ้นที่บริเวณเสาชิงช้า นอกจากนี้ชาวอินเดียเผ่าทมิฬ ขึ้นที่บริเวณใกล้เสาชิงช้า นอกจากนี้ชาวอินเดียเผ่าทมิฬยังสร้าง วัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือวัดแขกสีลมขึ้น นับถือ
ในส่วนทางด้านพิธีกรรมพราหมณ์ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 บทบาทของพราหมณ์ในสังคมไทยได้ลดน้อยลงดังจะเห็นได้จากเดิมที่มีพราหมณ์ประกอบพิธีต่างๆ นับร้อยคน แต่ปัจจุบันมีเหลือยู่เพียงไม่ถึงร้อยคน อย่างไรก็ดีบรรดาพราหมณ์ราชครูต่างๆ ก็ยังอยู่ในพระบรมราชูปถัมป์ รับผิดชอบและดูแลการประกอบพิธีกรรมสำหรับราชสำนัก รวมถึงยังมีชุมชนพราหมณ์ และศาสนสถานสำหรับการประกอบพิธีกรรมกระจายเกือบทั่วประเทศ โดยมีเทวสถานโบสถ์พราหมณ์เป็นศูนย์กลางหลักของบรรดาพราหมณ์และผู้เคารพนับถือพราหมณ์
ศาสนาคริสต์สมัยรัตนโกสินทร์
ข่าวสิ้นรัชสมัยพระเจ้าตากสิน และข่าวว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้รับราชสมบัตินั้น ก่อให้เกิดเรื่องน่ายินดีของบาทหลวงกูเดเป็นอย่างยิ่ง เพราะบาทหลวงกูเดเคยรู้จักกับพระองค์ ตั้งแต่เป็นพระยาจักรีมาก่อน เป็นโอกาสดีที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาในพระราชอาณาเขตได้ ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงจำเป็นต้องฟื้นฟูประเทศ และติดต่อกับชาติตะวันตก พระองค์จึงทรงมีพระราชสาสน์ไปเมืองมาเก๊า ซึ่งเป็นศูนย์กลางของโปรตุเกสเพื่อเจรจาการค้า เจ้าเมืองมาเก๊าในนามของกษัตริย์โปรตุเกส ได้มีพระราชสาสน์ตอบมาเจริญสัมพันธไมตรีอีกครั้งหนึ่ง จึงได้เดินทางเข้ามาในบางกอกอีกครั้งในปี พ.ศ. 2330 และได้รับแต่งตั้งจากกรุงโรมให้เป็นพระสังฆราชประจำมณฑลสยาม
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หมอบรัดเลย์ แพทย์มิชชันนารี ชาวอเมริกัน ได้นำศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์มาเผยแผ่ในสยามเป็นครั้งแรก แม้ศาสนาคริสต์จะไม่ค่อยประสบผลสำเร็จในการผูกใจชาวสยามนัก แต่ชนะใจชาวสยามด้วยวิทยาการใหม่ๆ เช่น การกำจัดโรคร้าย การผ่าตัด การทำคลอด การถอนฟัน โรงพิมพ์ วิทยาการแขนงใหม่ๆ ต่างๆ เป็นต้น
ศาสนาซิกข์สมัยรัตนโกสินทร์
เดิมทีนั้นชาวซิกข์มีอาณาจักรของตนเองเรียกว่า แคว้นปัญจาบ และมีกษัตริย์ปกครองแคว้นในขณะนั้นนามว่า มหาราชรัญยิตซิงห์ ต่อมาแคว้นปัญจาบได้ถูกอังกฤษผนวกเข้ากับอินเดีย ทำให้เกิดความไม่สงบในดินแดนนั้น พ่อค้าชาวซิกข์จึงได้ออกเดินทางไปค้าขายกับประเทศอื่นๆ และมีบางส่วนเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ชาวซิกข์ที่เข้าสู่ประเทศไทยรุ่นแรก เดินทางเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสังกัดสถานทูตอังกฤษถือสัญชาติอังกฤษ และมักประกอบอาชีพเป็นพ่อค้าขายผ้า ดังที่ขุนวิจิตรมาตราบันทึกไว้ในหนังสือเรื่องกรุงเทพฯ เมื่อ 70 กว่าปีก่อน
ต่อมาชาวซิกข์มีลูกหลานมากขึ้น และมีสัญชาติไทย เรียกได้ว่าชาวไทยที่นับถือศาสนาซิกข์ เช่นเดียวกับชาวไทยผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม คริสต์และฮินดู