วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 ประวัติศาสตร์เบเกอรี่, ขนมปังและข้าวสาลีในสยาม

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

ประวัติศาสตร์เบเกอรี่, ขนมปังและข้าวสาลีในสยาม Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ประวัติศาสตร์เบเกอรี่, ขนมปังและข้าวสาลีในสยาม   ประวัติศาสตร์เบเกอรี่, ขนมปังและข้าวสาลีในสยาม EmptyWed Jul 24, 2013 8:49 pm

ประวัติศาสตร์เบเกอรี่, ขนมปังและข้าวสาลีในสยาม Diet2
ภาพการทำขนมปังของชาวอียิปต์โบราณ

ประวัติ
ข้าวสาลีมีถิ้นกำเนิดในเอเชียตะวันตก ส่วนขนมปังมีต้นกำเนิดมาจากอียิปต์โบราณ ต่อมาได้แพร่หลายเข้าไปสู่ยุโรป จากหลักฐานที่ปรากฏ ชาวสยามเริ่มรู้จักใช้แป้งสาลีประกอบอาหารมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว จากจดหมายเหตุการเดินทางสู่ประเทศสยามของบาทหลวงตาชาร์ด  เมื่อปี  พ.ศ.  2228 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กล่าวว่าขนมปังหาซื้อได้ยากและมีราคาแพง เพราะต้องซื้อแป้งสาลีจากเมืองสุหรัด ประเทศอินเดีย หรือจากประเทศญี่ปุ่น และในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเองท่าท้าวทองกีบม้าได้นำขนมสูตรโปรตุเกสที่ต้องใช้แป้งสาลีเป็นส่วนประกอบมาเผยแพร่ แต่ทว่าการจากแคลนเรื่องแป้งสาลีทำให้ต้องนำแป้งอย่างอื่นมาใช้แทน จนขนมโปรตุเกสเกิดเป็นขนมชนิดใหม่ๆ ขึ้นมา ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2399 ใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 กัปตันเทาน์เซนด์ แฮริส ได้บันทึกไว้ว่า ต้องนำแป้งสาลีมาจากเกาะฮ่องกง เพื่อใช้ทำขนมปังสำหรับงานเลี้ยงในพระบรมมหาราชวังเพราะจะหาขนมปังและแป้งสาลีที่กรุงเทพฯ ไม่ได้ ในปี  พ.ศ.2477 นายอาริยันต์ มันยีกุล ข้าราชการกรมเกษตรฯ ไปราชการที่จังหวัดแพร่ในระหว่างฤดูหนาว ได้สังเกตสภาพภูมิประเทศแล้วเห็นว่าน่าจะปลูกข้าวสาลีได้ นายอาริยันต์จึงได้ทดลองปลูกข้าวสาลีจำนวน 4 พันธุ์ ซึ่งเป็นพันธุ์จากออสเตรเลียและจากภาคกลางของอินเดีย โดยปลูกที่โรงเรียนกสิกรรมจังหวัดแพร่และที่ตำบลบ้านหนองวังดิน  อำเภอบ้านกลางจังหวัดแพร่ ปรากฏว่าข้าวสาลีขึ้นงอกงามดีนายอาริยันต์มีความเห็นว่าควรส่งเสริมให้มีการปลูกข้าวสาลีในประเทศไทย เพื่อเป็นการออมเงินของประเทศ พ.ศ. 2485-2487 พระยาพหลพลพยุหเสนา นำพันธุ์ข้าวสาลีมาจากญี่ปุ่นจำนวน 4 พันธุ์ ในระยะนี้ได้มีการทดลองปลูกข้าวสาลีที่สถานีกสิกรรมฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในระหว่างสงครามเอเชียบูรพา เป็นระยะที่ประเทศไทยกำลังขาดแคลนแป้งสาลีอย่างมาก ร.ท.ขุนณรงค์ชวนกิจ (ชวน ณรงคะชวนะ) ได้พยายามจะจัดตั้งบริษัทปลูกข้าวสาลีและโรงงานโม่แป้งสาลีขึ้นที่อำเภอฝาง โดยได้ติดต่อกับแหล่งขายเมล็ดพันธุ์ข้าวสาลีและเครื่องจักรโม่แป้งไว้แล้วจากญี่ปุ่นแต่ไม่มีผู้ใดสนใจด้วย เรื่องจึงไม่สำเร็จ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ได้เริ่มงานวิจัยข้าวสาลีตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2503  ซึ่งในสมัยแรกนั้นได้แต่งตั้งให้ ดร. ครุย บุณยสิงห์ เป็นหัวหน้าโครงการ ในปัจจุบันข้าวสาลีเป็นพืชเศรษฐกิจที่อยู่ในแผนการปลูกเพื่อทดแทนการนำเข้า  งานวิจัยและส่งเสริม อยู่ในความรับผิดชอบและประสานงานของหน่วยงานหลายแห่งในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ และภาคเอกชน เมื่อการปลุกข้าวสาลีทำได้ในประเทศไทยแล้วการหาทานขนมปังในประเทศไทยก็แพร่หลายมากขึ้นไปด้วย ส่วนขนมไทยที่มีลักษณะคล้ายพวกเบเกอรี่หรือขนมปัง นั้นมักจะเป็นขนมที่ดัดแปลงจากขนมชาติตะวันตก เช่น ขนมฝรั่งกุฎีจีน ขนมหน้านวล ขนมผิง ขนมไข่ ขนมเค้กเมืองตรัง ขนมบดิน ขนมทองม้วน ขนมสาลี่  ขนมปังสังขยา ฯลฯ


จาก
learners.in.th
wordpress.com
www.sanook.com
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
ประวัติศาสตร์เบเกอรี่, ขนมปังและข้าวสาลีในสยาม
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: อาหาร เครื่องดื่ม ขนมจากต่างแดน-
ไปที่: