วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 ชาวอินเดีนในสยาม

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

ชาวอินเดีนในสยาม Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ชาวอินเดีนในสยาม   ชาวอินเดีนในสยาม EmptyFri Jul 12, 2013 10:06 pm

ชาวอินเดีนในสยาม 20
เกริ่น
ชาวไทยเชื้อสายอินเดีย หรือคนไทยเรียกกันห้วนๆว่า "แขก" หรือ "อาบัง" ในประเทศไทยนอกจากใช้เรียกชาวมุสลิมแล้ว ยังเรียกใช้เรียกอีก 3 กลุ่ม ได้แก่ แขกซิกข์ แขกนามธารี และแขกพราหมณ์ ซึ่งอพยพหนีความยากลำบากจากอินเดีย มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทย คำว่า "อาบัง" นั้นไว้ใช้เรียกพี่น้องชาวไทยมุสลิมเท่านั้น ซึ่งมีความหมายว่า พี่ชาย ส่วนคำว่า "ป๋า" นั้นไว้ใช้เรียกชาวไทยซิกข์ และซิกข์นามธารี ซึ่งมีความหมายว่า พี่ชาย เช่นเดียวกัน (แต่ควรใช้คำเรียกให้ถูกกับกลุ่มด้วย หากไม่มั่นใจก็เรียก “พี่” ไว้ก่อนเพราะพวกเขาก็ล้วนเป็นคนไทยเหมือนกัน)

ชาวอินเดีนในสยาม 1262491798
ภาพแผนที่อาณาจักรฟูนานหรือฟูนัน
ซึ่งบรรพบุรุษอพยพมาจากอินเดีย


ประวัติ
ชาวอินเดียเดินทางเข้ามาเมืองสยามครั้งใดไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าเข้ามาตั้งแต่สมัยก่อนกรุงสุโขทัยแล้ว ตั้งแต่สมัยอาณาจักรฟูนาน และมีการรับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนาจากอินเดีย เข้ามาเมืองสยามก่อนกรุงสุโขทัย ในประวัติศาสตร์ไทยยังมีชาวสยามเชื้อสายอินเดียที่มีชื่อเสียง เช่น ท้าวทองกีบม้าที่มีเชื้อสายเบงกอล เป็นต้น และวัฒนธรรมอินเดียจึงแทรกซึมเข้าไปในวัฒนธรรมสยาม แต่ทว่าทางวัฒนธรรมสยามก็นำวัฒนธรรมของอินเดียประยุกตร์ต่อยอดเกิดความคิดสร้างสรรค์ จนเป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากอินเดียในที่สุด ในปัจจุบันพบว่าชาวอินเดียในประเทศไทยพูดภาษาอินเดียได้น้อยลงแล้ว เนื่องจากเกิดในประเทศไทยและถือสัญชาติไทยจนกลมกลืนไปกับคนไทย แต่ก็มีส่วนน้อยที่ยังคงพูดภาษาดั้งเดิมของตนได้

กลุ่มชาวไทยเชื้อสายอินเดียในปัจจุบัน
แบ่งออกได้ 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

ชาวอินเดีนในสยาม Gurdwarabkksankat
1. ชาวซิกข์
ชาวซิกข์จะมีการแต่งกายที่มีจุดเด่นคือ ผู้ชายจะโพกหัว และมีคำลงท้ายว่า สิงห์ ชาวซิกข์ทุกคนมีสัญลักษณ์ประจำกาย 5 อย่าง ได้แก่ 1 คือ เกศ คือไว้ผมให้ยาว ไม่ตัดเด็ดขาด 2 คือ กังฆะ คือ หวีอันเล็ก 3 การ่า หมายถึงกำไลข้อมือเหล็กสวมที่ข้อมือขวา 4 กาช่า คือ กางเกงในขาสั้น 5 กรีปาน หมายถึงมีดดาบโค้ง นอกจากนี้ยังห้ามกินเนื้อวัว และไม่มีรูปเคารพ แต่เมื่อมาอยู่เมืองไทย กต้องเปลี่ยนตัวเองตามสังคม เช่น มีดมีขนาดเล็กลง ยาวเพียงไม่กี่นิ้ว บางคนทำเป็นจี้ห้อยคอ บางคนเปลี่ยนจากกำไลเหล็กเป็นกำไลทอง ชาวซิกข์เดินทางจากรัฐปัญจาบเข้ามาในไทยตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยเข้ามาทางมาเลเซีย โดยผ่านภาคใต้ หรือมาทางบกโดยผ่านจากพม่า หลายคนเข้ามาเป็นพลตระเวน (ตำรวจ) แต่ส่วนใหญ่นิยมทำการค้ามากกว่า คนไทยจึงเรียกกันติดปากว่า แขกขายผ้า ชาวซิกข์ที่เปิดเป็นล่ำเป็นสันอยู่ที่บ้านหม้อ สมัยนั้นเรียก ร้านแขก เมื่อการค้าเจริญขึ้น จึงได้ชักชวนญาติพี่น้องเข้ามามากขึ้น และรวมกลุ่มตั้งแหล่งทำกินที่พาหุรัด เมื่อพาหุรัดแออัด ชาวซิกข์เลยหาที่อยู่ใหม่แถบ ท่าพระ บางแค สุขุมวิท หรือคลองตัน และที่สี่แยกบ้านแขกในเฉพาะซอยสารภี 2 ถือเป็นชนกลุ่มใหญ่ นอกจากขายผ้า ชาวซิกข์ นิยมปล่อยเงินกู้ หรือขายของเงินผ่อนด้วย

ชาวอินเดีนในสยาม 49688-75
2. ซิกข์-นามธารี
นามธารี (Namdhari) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาซิกข์โดยองค์พระศาสดา ศิริ สัตคุรุ ราม ซิงห์ (พระศาสดาองค์ที่ 12) เมื่อ พ.ศ. 2400 นอกจากการปฏิบัติตามหลักศาสนาซิกข์แล้ว ยังต้องถือบัญญัติขององค์พระศาสดา ศิริ สัตคุรุ ราม ซิงห์ ด้วย เช่น ห้ามกินเนื้อสัตว์ และไข่ทุกชนิด ต้องสวดมนต์ระลึกถึงพระนามของพระผู้เป็นเจ้า "นาม ซิมราน" (Nam Simran) ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง ชายต้องโพกศีรษะด้วยผ้าสีขาวเท่านั้น ผู้หญิงห้ามใช้เครื่องประดับหรือแต่งหน้าทาปาก เน้นชีวิตเรียบง่าย ถิ่นที่คนกลุ่มนี้อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากคือ สุขุมวิท สี่แยกบ้านแขก

ชาวอินเดีนในสยาม 2077
3. พราหมณ์-ฮินดู
แขกพราหมณ์ฮินดู บรรพบุรุษชาวพราหมณ์ฮินดูในไทยส่วนใหญ่เป็นชาวปัญจาบ และอุตตรประเทศ จากอินเดีย ชาวฮินดูที่อพยพมาจากรัฐปัญจาบนิยมกิจการค้าผ้าที่พาหุรัด ส่วนที่มาจากอุตตรประเทศเกือบทั้งหมดเป็นแขกยาม ก่อนที่จะลดจำนวนเมื่อทางการประกาศห้ามคนต่างด้าวทำอาชีพนี้ ชาวพราหมณ์ฮินดูนิยมตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพมากกว่าที่อื่นๆ พวกที่มาจากรัฐปัญจาบนิยมตั้งชุมชนแถบพาหุรัด สี่แยกบ้านแขก และถนนสุขุมวิท โดยที่สี่แยกบ้านแขกอยู่หนาแน่นนับร้อยครัวเรือนในซอยสารภี 2 และกระจายตามซอยในถนนอิสรภาพ ได้แก่ซอยอิสรภาพ 3,6,8,12 และ 15 ส่วนที่มาจากรัฐอุตตรประเทศตั้งถิ่นฐานแถบหัวลำโพง

บทบาทของชาวอินเดียในประเทศสยาม
ด้านคติความเชื่อ : เช่นพระพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู การเวียนว่ายตายเกิดจนถึงพ้นทุกข์ ความเชื่อว่ากษัตริย์เป็นสมมติเทพ ความมงคลของหอยสังข์ ดอกบัว สิงโต ฯลฯ

ด้านการแต่งกาย : สไบพัฒนามาจากส่าหรี โจงกระเบนพัฒนาทอดต่อจากโธตี

ด้านดนตรีนาฏศิลป์ : ได้รับอิทธิพลการร่ายรำจากอินเดีย เครื่องดนตรีบางอย่างได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียเช่น การเป่าหอยสังข์เพื่อความงคล บัณเฑาะว์ กระจับปี่

ด้านวรรณคดี : วรรณคดีที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียเช่นเรื่องรามเกียรติ์ นิทานเวตาล มหาภารตะ

ด้านอาหาร : การใช้น้ำมันทำอาหาร โรตี แกงกะหรี่

ด้านภาษา : ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต มีอิทธิพลต่อมาไทยในปัจจุบันมาก และยังมีคำศัพท์ภาษาฮินดี (ภาษาอินเดีย) ในภาษาไทยบ้าง

ขอขอบพระคุณรุปภาพและข้อมูลจาก
th.wikipedia.org
www.amulet.in.th
www.bloggang.com
www.oknation.com
www.thaimtb.com
www.thaisikh.org
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
ชาวอินเดีนในสยาม
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: ชุมชนชาวต่างชาติในปัจจุบัน-
ไปที่: