วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร นกที่อาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร นกที่อาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร นกที่อาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว   นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร นกที่อาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว EmptySun Oct 21, 2012 12:23 am

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร นกที่อาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว 220
ประวัตินกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร หรือ นกตาพอง เป็นนกจับคอนหนึ่งในสองชนิดของสกุลนกนางแอ่นแม่น้ำในวงศ์นกนางแอ่น พบบริเวณบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ในช่วงฤดูหนาวเพียงแห่งเดียวในโลก แต่อาจสูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นสมาชิกหนึ่งในสองของนกนางแอ่นแม่น้ำในวงศ์ย่อย Pseudochelidoninae อีกชนิดหนึ่งคือนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา (Pseudochelidon eurystomina) ที่พบในลุ่มน้ำคองโกในทวีปแอฟริกา ทั้งสองชนิดมีคุณลักษณะพิเศษที่แยกนกทั้งสองชนิดออกจากนกนางแอ่นชนิดอื่น ประกอบไปด้วย เท้าและขาที่แข็งแรง และปากอวบ[2] จากลักษณะที่ต่างจากนกนางแอ่นชนิดอื่นและแยกไกลกันทางภูมิศาสตร์ของนกนางแอ่นทั้งสองชนิดแสดงว่านกเหล่านี้เป็นประชากรส่วนที่เหลือของกลุ่มสปีชีส์ที่แยกออกจากเชื้อสายหลักของนกนางแอ่นก่อนที่จะมีการวิวัฒนาการ ชื่อสกุล Pseudochelidon (Hartlaub, 1861) มาจากภาษากรีกโบราณ คำหน้า ψευδο/pseudo แปลว่า "ปลอม" และคำหลัง χελιδον/chelidôn แปลว่า "นกนางแอ่น" และชื่อสปีชีส์ได้รับพระราชทานพระนามของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดามาตั้งชื่อนกชนิดนี้ ชนิดของ Pseudochelidon ทั้งเอเชียและแอฟริกาแตกต่างกันในขนาดของปากและตาแสดงว่ามีระบบนิเวศวิทยาการกินอาหารที่แตกต่างกัน นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรอาจกินอาหารที่มีขนาดใหญ่กว่า สปีชีส์ในประเทศไทยนั้นปากพอง ปากอ้าแข็ง (เนื้อด้านในของปาก) ไม่เหมือนนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาที่นุ่ม มีเนื้อมาก และปากอ้าได้กว้างน้อยกว่า ในปี พ.ศ. 2515 มีการเสนอว่านกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรมีลักษณะต่างจากนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาอย่างเพียงพอที่จะแยกออกเป็นสกุล Eurochelidon[5] แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมนักจากผู้แต่งคนอื่นๆในภายหลัง อย่างไรก็ตามองค์การชีวปักษานานาชาติ (BirdLife International)ได้ใช้เป็นชื่อสกุล Eurochelidon ในปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2510 นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ปัจจุบันคือสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย) ได้ทำการดักจับนกนางแอ่นจากบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์[6] เพื่อทำการศึกษาเรื่องการอพยพย้ายถิ่นของสัตว์ต่างๆในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และในระหว่างเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 กิตติ ทองลงยา[7] ได้ค้นพบนกตัวหนึ่งที่มีรูปร่างลักษณะแตกต่างจากนกนางแอ่นชนิดอื่นที่จับได้ นกตัวนี้มีขนาดใหญ่กว่านกนางแอ่นทั่วไปมาก ขนเป็นสีดำคล้ำ ตาขาวและใหญ่ ปากและสะโพกสีขาว หางกลมมน ขนหางคู่กลางมีแกนยื่นออกมาอย่างชัดเจน จากการตรวจสอบขั้นต้นยังไม่สามารถที่จะจำแนกนกชนิดนี้เข้ากับนกสกุลใดๆของประเทศไทยได้ กิตติจึงได้เก็บตัวอย่างของตัวเบียน คือ เห็บ เหา และไร ของนกส่งไปให้สถาบันสมิธโซเนียนและพิพิธภัณฑ์บริติชช่วยตรวจและวิเคราะห์หาชนิดของนกดังกล่าว ผลก็คือมันมีเหาชนิดเดียวกับนกนางแอ่นแม่น้ำสกุล Pseudochelidon ซึ่งพบในแถบลุ่มน้ำคองโกของแอฟริกา และจากนั้นได้ทำการเปรียบเทียบลักษณะอวัยวะต่างๆ ภายในของนกตัวนี้กับตัวอย่างนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา (Pseudochelidoninal eurystominal) จึงลงความเห็นได้ว่านกตัวนี้จะต้องเป็นนกในสกุล Pseudochelidon อย่างแน่นอน แต่เนื่องจากว่านกในสกุลนี้เคยมีเพียงชนิดเดียวคือนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา ดังนั้นนกที่ค้นพบที่บึงบอระเพ็ดนี้ นักปักษีวิทยาทั่วโลกจึงยอมรับว่าเป็นนกสกุล Pseudochelidon ชนิดใหม่ของโลก นักปักษีวิทยาของเมืองไทยต่างมีความเห็นว่าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา (พระยศขณะนั้น) ทรงเป็นผู้ที่สนพระทัยในเรื่องธรรมชาติวิทยาของเมืองไทยเป็นอย่างยิ่ง จึงขอพระราชทานนามมาตั้งชื่อนกชนิดนี้ว่า “นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร” และมีชื่อในภาษาอังกฤษว่า White-eyed River Martin (Pseudochelidon sirintarae) จากรายงานการพบเห็นในปี พ.ศ.2515, 2520 และ 2523 และก็ไม่มีการพบเห็นอีกเลยจนปัจจุบัน แม้จะมีรายงานว่าพบนกในปี พ.ศ. 2529 แต่ก็ไม่ได้รับการยืนยัน สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ(IUCN) และ สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (2540) จัดนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์อย่างยิ่ง[15] มีการประมาณจำนวนของนกชนิดนี้ว่าลดลงหรือจะลดลงถึง 80% ภายในสามรุ่น IUCN จะไม่พิจารณาว่านกชนิดสูญพันธุ์จนกว่าได้ดำเนินการสำรวจเป้าหมายครอบคลุมแล้ว แต่นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรอาจจะสูญพันธุ์ไปแล้วจากประเทศไทยหรือจากโลก นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรจัดอยู่ในบัญชีที่ 1 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (CITES) นอกจากนี้นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรยังจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 อีกด้วย
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร นกที่อาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว Chiang-mai-4
จาก
th.wikipedia.org
www.dnp.go.th
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร นกที่อาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: ต่อไปคือวัฒนธรรมไทยในต่างแดน :: สัตว์ประจำถิ่นไทย/สัตว์ค้นพบครั้งแรกที่ไทย-
ไปที่: