ประวัติมะขามในสยามมะขามเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาแถบประเทศซูดาน ในภาษาอังกฤษเรียกมะขามว่า “Tamarind” หรือ “Indian date” ซึ่งแปลมาจากภาษาอาหรับว่า تمر هندي (tamr hindī) มะขามเริ่มนำมาปลูกในสยามเมื่อใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ชาวสยามรู้จักมะขามกันดีมากว่า 700 ปีแล้ว ดังปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 สมัยพ่อขุนรามคำแหง กล่าวถึงมะขามอยู่หลายแห่ง เช่น ตอนหนึ่งว่า
“หมากขามก็หลายในเมืองนี้ใครสร้างได้ไว้แก่มัน”(ในสมัยกรุงสุโขทัยผลไม้ที่เรียกว่ามะนำหน้า จะใช้คำว่า หมากแทน เช่น หมากพร้าว หมากขาม หมากม่วง เป็นต้น)
นอกจากนี้ มะขามเป็นต้นไม้แข็งแรงทนทาน ขึ้นได้ในสภาพดินแทบทุกชนิด ทั้งบริเวณน้ำท่วมและแห้งแล้ง และเป็นต้นไม้ที่มีอายุยืนมากชนิดหนึ่ง ในประเทศศรีลังกามีมะขามอายุมากกว่า 200 ปี มะขามยักษ์ที่วัดแค อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี มีขนาดลำต้น 6-7 คนโอบ เชื่อว่ามีอายุกว่า 300 ปี วัดแคนี้มีปรากฏชื่อในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนเณรแก้วเรียนวิชากับอาจารย์คงสมภารวัดแค ว่า
“ทั้งพิชัยสงครามล้วนความรู้ อาจจะปราบศัตรูไม่สู้ได้
ฤกษ์พานาทีทุกสิ่งไป ทั้งเสกใบมะขามเป็นต่อแตน”มีชาวสุพรรณบุรี จำนวนมากเชื่อว่า มะขามยักษ์ที่วัดแคในปัจจุบัน เป็นมะขามต้นเดียวกันกับต้นที่เณรแก้วฝึกเสกใบมะขามเป็นต่อแตนในอดีต นอกจากนี้มะขามเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีคำขวัญประจำจังหวัดว่า "เมือง
มะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง"
ประโยชน์ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิจามินเอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัด เรียกว่า "มะขามเปียก" ประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายภาพดอกมะขามขอขอบพระคุณรูปภาพและข้อมูลจากen.wikipedia.org
th.wikipedia.org
www.doctor.or.th