วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 10 อันดับเอเลี่ยนสปีชีในสยาม

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

10 อันดับเอเลี่ยนสปีชีในสยาม Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: 10 อันดับเอเลี่ยนสปีชีในสยาม   10 อันดับเอเลี่ยนสปีชีในสยาม EmptySun Jun 16, 2013 8:40 pm

อเลี่ยนสปีชีหรือชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน คือสิ่งที่ประเทศไทยเคยนำเข้ามาจากต่างประเทศแล้วมารุกรานทำลายสภาพแวดล้อมของไทย อันนี้คัดสรร จาก หลายร้อยชนิดมาดูสิว่ามีอะไรบ้างที่สร้างปัญหาให้ประเทศไทยในปัจจุบัน

10 อันดับเอเลี่ยนสปีชีในสยาม Phit141
อันดับ 10 นากหญ้า
ประวัติการเข้ามา : นากหญ้าเป็นสัตว์ในทวีปแอฟริกา ต่อมามีชาวไต้หวัน เป็นผู้นำนากหญ้าเข้ามาในประเทศไทย ตั้งฟาร์มเลี้ยงอยู่ที่จังหวัดราชบุรีเป็น ต่อมา จ.ส.อ.จรูญ พุ่มห่าน เป็นคนนำนากหญ้า เข้ามาเลี้ยงที่ค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นคนแรกของจังหวัดพิษณุโลก เมื่อ พ.ศ. 2537
ผลกระทบ : นากหญ้ามีความสามารถในการปรับตัวได้ดีมาก  จึงกลายเป็นศัตรูพืชและทำลายผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกร
ประโยชน์ : ทำเสื้อขนสัตว์ กระเป๋าขนสัตว์ หมวดสัตว์ ประกอบอาหาร

10 อันดับเอเลี่ยนสปีชีในสยาม 653138-img-1358605768-9
อันดับ 9 เต่าแก้มแดงหรือเต่าญี่ปุ่น
ประวัติการเข้ามา : เป็นเต่าน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำแถบรัฐอิลลินอยส์ แม่น้ำมิสซิสซิปปี ไปจนถึงอ่าวเม็กซิโก เหตุที่ได้ชื่อว่า เต่าญี่ปุ่นเพราะว่าในประเทศไทย พ่อค้าชาวญี่ปุ่นเป็นบุคคลแรกที่นำเต่าชนิดนี้มาขาย จึงทำให้ได้ชื่อว่า เต่าญี่ปุ่น เต่าแก้มแดง นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินมาก ในประเทศไทยมีการเลี้ยงกันมานานกว่า 30 ปี ได้รับความนิยมอย่างยิ่งเนื่องจากความน่ารักในเต่าขนาดเล็กประกอบกับมีราคาถูก
ผลกระทบ : เมื่อเต่าโตขึ้นแล้วไม่สวยน่ารักเหมือนอย่างเก่า เจ้าของจึงนำไปปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เนื่องจากสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี และยังทนทานต่อมลภาวะได้ดีกว่าเต่าพื้นเมือง ทำให้แพร่ขยายพันธุ์แย่งอาหารและถิ่นที่อยู่ของเต่าพื้นเมืองไทย
ประโยชน์ : เลี้ยงไว้ดูเล่น และเพื่อความเป็นสิริมงคล

10 อันดับเอเลี่ยนสปีชีในสยาม 222_6
อันดับ 8 ตะพาบไต้หวัน
ประวัติการเข้ามา : เข้ามาเมืองไทย เมื่อ 50 กว่าปีก่อน ไม่ใช่ตะพาบพันธุ์พื้นเมืองของไทย แต่เป็นตะพาบของจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ รัสเซียเวียดนาม มีรูปร่างคล้ายตะพาบสวน (Amyda cartilaginea) แต่ตะพาบไต้หวันมีขนาดเล็กกว่า โตเต็มมีขนาดกระดองประมาณ 25 เซนติเมตร เมื่อยังเล็กใต้ท้องมีสีขาว มีนิสัยดุร้าย
ผลกระทบ : รุกรานที่อยู่อาศัยและที่วางไข่ของตะพาบและเต่าพื้นเมืองของไทย
ประโยชน์ : เอาไว้รับประทาน เลี้ยงเพื่อส่งออกโดยปัจจุบัน มีฟาร์มเพาะเลี้ยงกันในประเทศไทยแถบจังหวัดภาคตะวันออก เช่น ระยอง ชลบุรี ตราด และภาคตะวันตกอย่าง เพชรบุรี

10 อันดับเอเลี่ยนสปีชีในสยาม 653138-img-1358605768-7
อันดับ 7 ต้นสาบหมา
ประวัติการเข้ามา : เป็นวัชพืชอีกชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกากลาง ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าระบาดเข้ามาถึงประเทศไทยตั้งแต่เมื่อไร แต่ที่แน่นอนก็คือ สาบหมาระบาดเข้ามาจากพม่าและตอนใต้ของประเทศจีนถึงประเทศไทยในช่วงเวลาไม่เกิน 30 ปีที่ผ่านมา โดยจะพบว่าระบาดในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-600 เมตรขึ้นไป ซึ่งจะเป็นระดับเดียวกันที่สาบเสือจะไม่สามารถเจริญได้ดี ถ้าระดับพื้นที่สูงไปกว่านั้น สาบหมาระบาดเฉพาะในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลจะไม่พบในพื้นที่ราบ การระบาดพบมากในพื้นที่ภูเขาในภาคเหนือของประเทศไทย เช่น บริเวณยอดดอยสุเทพ ดอยปุย ดอยอ่างขาง และดอยอินทนนท์ เป็นต้น
ผลกระทบ : เป็นวัชพืช
ประโยชน์ : ออกดอกสวยงาม มีการวิจัยพบว่าช่วยป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช และการควบคุมการงอกของวัชพืชชนิดอื่นกันแล้ว ที่สำคัญเป็นพืชที่งอกง่าย ตายยาก โตเร็ว เป็นพืชที่ช่วยคลุมผิวหน้าดิน ไม่ให้ถูกชะล้างและพังทลายได้ดีในระดับหนึ่ง

10 อันดับเอเลี่ยนสปีชีในสยาม 2161668331_211cdcef5c
อันดับ 6 ไมยราบยักษ์
ประวัติการเข้ามา : ประเทศไทยได้มีการนำเมล็ดไมยราบยักษ์จากประเทศอินโดนีเซีย เข้ามาปลูกเป็นพืชคลุมดินในไร่ยาสูบบริเวณอำเภอเชียงดาว และอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2490 ซึ่งไมยราบยักษ์ ที่นำเข้ามาปลูกนั้นสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยได้ดี ทำให้มีการเจริญเติบโตและ แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ไปตามแหล่งน้ำ และการคมนาคมขนส่ง จากพื้นที่ที่มีการระบาดของไมยราบในภาคเหนือสู่ประเทศเพื่อนบ้านและจังหวัดใกล้เคียง ตั้งแต่ตอนเหนือของแม่น้ำโขง เข้าไปในประเทศลาว และพม่า ทางตอนใต้ได้เข้าสู่จังหวัด ลำปาง ลำพูน ตาก กำแพงเพชร และกระจายเข้าสู่ทุกภาคของประเทศในปัจจุบัน พบการแพร่ระบาดของไมยราบยักษ์เกือบทุกจังหวัดทั่วประเทศ
ผลกระทบ : ไมยราบยักษ์ขยายพันธุ์โดยเมล็ดได้ดี ประกอบกับเมล็ดพันธุ์สามารถพักตัวได้เพื่อรอสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต จึงทำให้แพร่กระจายไปในหลายพื้นที่เมื่อยึดครองพื้นที่ก็เป็นการยากที่พืชอื่น ๆ จะขึ้นทำให้พืชพรรณดั้งเดิมเช่นกกและหญ้าค่อย ๆ สูญพันธุ์ไปจากพื้นที่นั้นในที่สุด
ประโยชน์ : ลำต้นใช้ทำรั้ว ไม้ค้ำ หรือทำเป็นฟืน ป้องกันการชะล้างของดิน ป้องกันการพังทลายของตลิ่ง สามารถตรึงไนโตรเจน ทำดินมีความอุดมสมบูรณ์ ใช้เป็นอาหารสัตว์ ใช้ทำเป็นยารักษาโรค

10 อันดับเอเลี่ยนสปีชีในสยาม 553000004066302
อันดับ 5 หอยกะพงเทศ
ประวัติการเข้ามา : เป็นหอยสองฝาที่มีต้นกำเนิดในตอนกลางของทวีปอเมริกด้านฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค แต่มีการแพร่กระจายพันธุ์ รุกรานไปในประเทศต่างๆ หลายประเทศ เช่น เช่น อินเดีย ออสเตรเลีย สิงคโปร์ เป็นต้น สำหรับการแพร่กระจายนั้น คาดว่าน่าจะติดมากับน้ำในถังอับเฉาเรือเดินสมุทรที่มีตัวอ่อนของหอยกะพงเทศ เจริญเติบโตอยู่ หรือจากตัวเต็มวัยที่เกาะติดมากับตัวเรือ และได้มาแพร่พันธุ์ในพื้นที่ โดยเฉพาะในบริเวณหาดแก้วลากูน เป็นบริเวณอยู่ใกล้กับท่าเรือน้ำลึก จากการศึกษาวิจัยของ นางสาวกริ่งผกา วังกุลางกูร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบการแพร่กระจายของหอยกะพงเทศในบริเวณหาดแก้วลากูน ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงกับปากทะเลสาบสงขลาและท่าเรือน้ำลึก จ.สงขลา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ปัจจุบันพบหอยกะพงเทศจำนวนมากที่บริเวณปากคลองวง บ้านบ่ออ่าง และตำบลสทิงหม้อ แสดงให้เห็นว่าขณะนี้หอยกะพงเทศได้รุกรานเข้าสู่ทะเลสาบสงขลาแล้ว
ผลกระทบ : ทำลายระบบนิเวศในทะเล
ประโยชน์ : ใช้ทำอาหารสัตว์อย่างเป็ดและกุ้ง

10 อันดับเอเลี่ยนสปีชีในสยาม 169405
อันดับ 4 ผักตบชวา
ประวัติการเข้ามา : ผักตบชวามีถิ่นกำเนิดในลุ่มแม่น้ำเมซอน แล้วแพร่หลายเป็นวัชพืชในทั่วโลกยกเว้นยุโรป ผักตบชวาถูกนำเข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2444 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซียในฐานะดอกไม้ประดับสวยงามโดยเจ้านายฝ่ายในที่ตามเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย ได้เห็นพืชชนิดนี้มีดอกสวยงาม จึงนำกลับมาปลูกในประเทศไทย และใส่อ่างดินเลี้ยงไว้หน้าสนามวังสระปทุม จนกระทั่งเกิดน้ำท่วมวังสระปทุมขึ้น ทำให้ผักตบชวาหลุดลอยกระจายไปตามแม่น้ำลำคลองทั่วไป
ผลกระทบ : เป็นวัชพืชในน้ำ ดูดออกวิเจนในน้ำ ขัดขวางการจราจรทางน้ำ
ประโยชน์ : ดอกอ่อนและก้านใบอ่อนกินเป็นผักลวกจิ้มน้ำพริกหรือทำแกงส้ม ใช้ทำอาหารสัตว์ ใช้ทำปุ๋ยหมัก ใช้ทำยารักษาโรค ใช้ทำงานหัตถกรรมต่างๆ

10 อันดับเอเลี่ยนสปีชีในสยาม 653138-img-1358605768-3
อันดับ 3 ปลาเทศบาล, ปลาซัคเกอร์ หรือปลากดเกราะ
ประวัติการนำเข้า : ปลากดเกราะเป็นปลาที่มีการนำเข้ามาจากทวีปอเมริกาใต้เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2500 เพื่อใช้กำจัดสาหร่ายและของเสียที่ตกค้างในตู้ปลา แต่เมื่อปลาเทศบาลเจริญเติบโตจนมีขนาดใหญ่เกินไป ผู้เลี้ยงก็นำไปปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติ และปลาก็สามารถเจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้ดี จนปัจจุบันกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานแล้ว เพราะไปมีผลคุกคามความหลากหลายทางชีวภาพทั้งในประเทศไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา ศรีลังกา และไต้หวัน รวมทั้งในแม่น้ำโขงด้วย
ผลกระทบ : ถ้าหากอาหารไม่เพียงพอก็จะก้าวร้าวไล่ดูดเมือกของปลาอื่นจนถึงตาย
ประโยชน์ : ใช้ปรุงอาหาร ใช้เลี้ยงดูเพื่อความสวยงาม

10 อันดับเอเลี่ยนสปีชีในสยาม News_img_342224_1
อันดับ 2 จอกหูหนูยักษ์
ประวัติการนำเข้า : เดิมจอกหูหนูยักษ์มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ถูกนำเข้ามาในทวีปเอเชียเมื่อประมาณปี 2473 จากศรีลังกา จากนั้นได้แพร่ระบาดขยาย พื้นที่ไปอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นวัชพืชร้ายแรงระบาดไปทุกทวีป ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยซึ่งแรกเริ่มนำเข้ามาเพื่อเป็นไม้ประดับในตู้ปลา
ผลกระทบ : ทำลายออกซิเจนในน้ำ ความน่ากลัวของจอกหูหนูยักษ์คือกำจัดยากยิ่งกว่าผักตบชวา เพราะมีลำต้นเปราะบาง หักง่าย เวลาตักหรือช้อนขึ้นมามักหักเป็นท่อนๆ ที่มีใบติดอยู่ด้วย ซึ่งแม้เพียง 1-2 เซนติเมตร ก็สามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้จากตาตรงซอกใบ เรียกได้ว่า ยิ่งแตกก็ยิ่งโต
ประโยชน์ : อาจนำไปทำปุ๋ยได้ แต่ทว่าปัจจุบันยังหาประโยชน์ของมันไม่พบ

10 อันดับเอเลี่ยนสปีชีในสยาม Egglayingonriceyt8
อันดับ 1 หอยเชอรี่
ประวัติการเข้ามา : หอยเชอรี่ เดิมเป็นหอยน้ำจืดที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทวีปอเมริกาใต้ ในประเทศไทยนำเข้ามาครั้งแรกจากประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน ในฐานะของหอยที่กำจัดตะไคร่น้ำและเศษอาหารในตู้ปลา ซึ่งนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายราวก่อนปี พ.ศ. 2530 ต่อมาได้มีผู้คิดจะเลี้ยงเพาะขยายพันธุ์เป็นสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการบริโภค แต่ทว่าไม่ได้รับความนิยมจึงปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ
ผลกระทบ : กัดกินทำลายต้นข้าว
ประโยชน์ : นำไปทำน้ำปลา ปรุงอาหาร ใช้เลี้ยงสัตว์อย่างเป็ดและสุกร

ขอขอบพระคุณรูปภาพประกอบและข้อมูลจาก
gotoknow.org
kanchanapisek.or.th
learners.in.th
soclaimon.wordpress.com
th.wikipedia.org
web.rid.go.th
www.bangkokbiznews.com
www.baanmaha.com
www.dek-d.com
www.fisheries.go.th
www.igetweb.com
www.kapook.com
www.nicaonline.com
www.rakbankerd.com
www.thailand-farm.com
www.tvburabha.com
www.vcharkarn.com
www.whitemedia.org
www.postjung.com
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
10 อันดับเอเลี่ยนสปีชีในสยาม
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: 10 อันดับต่างชาติในสยามอื่นๆ-
ไปที่: