ประวัติไม้ดัดการปลูกเลี้ยงไม้ดัดในทวีปเอเชีย ดั้งเดิมนั้นมี 3 ประเทศเท่านั้น คือ ประเทศจีน ญี่ปุ่นและไทย ในประเทศจีนคงเหลือให้เห็นเพียงในภาพวาดตามแจกัน กระถางต้นไม้และฝาผนังเท่านั้น ส่วนประเทศญี่ปุ่นจะเป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงไปทั้งโลกก็ว่าได้
สำหรับประเทศไทย การเลี้ยงไม้ดัดยังคงนิยมกันในวงแคบ ๆ ทั้งนี้เพราะการเลี้ยงดู การตกแต่งให้เป็นไปตามแบบดั้งเดิมนับว่ายุ่งยาก ต้องใช้ความมานะพยายามและใช้เวลา 4-5 ปีทีเดียว กว่าจะได้ไม้ดัดที่มีความงดงามตามศิลปะแบบไทย ๆ
ฉะนั้น ไม้ดัดจึงเป็นการแสดงออกให้คนทั่วไปมองเห็นถึงศิลปะอันสวยสดงดงามของไทยเรา น่าที่เราและลูกหลานจะได้สืบทอดมรดกอันทรงคุณค่าให้อยู่ต่อไปนาน ๆ และทำให้มีชื่อเสียง เช่นเดียวกับบอนไซของญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก
ประวัติไม้ดัดในสยาม
ไม้ดัดในสยาม เริ่มมีการปลูกเลี้ยงกันมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย แต่ไม่แพร่หลายนัก จะมีก็เพียงในกลุ่มเจ้าขุนมูลนายเท่านั้น การเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 ทำให้การเลี้ยงไม้ดัดหยุดชะงักไประยะหนึ่งแล้วกลับมานิยมกันอีกครั้งในต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ การปลูกเลี้ยงไม้ดัดก็ได้รับรับความนิยมอีก และยังคงอยู่ในหมู่เจ้าขุนมูลนายเช่นเดิม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) ทรงโปรดเกล้าให้ปลูกไม้ดัดไว้ในพระบรมมหาราชวัง บริเวณพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัยซึ่งยังคงมีให้เห็นจนถึงปัจจุบัน
หลักฐานเอกสารการเลี้ยงไม้ดัดเท่าที่พบ ปรากฏในกลอนเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนย่องขึ้นเรือนขุนช้างเพื่อเข้าหานางวันทอง ความว่า
กระถางแก้วเกดพิกุลแกม ยี่สุ่นแซมมะสังดูไสว
สมอรัดดัดทรงสมละไม ตะขบข่อยตั้งไว้จังหวะกัน
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และในรัชการต่อๆ มา การปลูกเลี้ยงไม้ดัดเริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ และนิยมปลูกเลี้ยงลงในกระถางลายคราม
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 หลวงมงคลรัตน์ (ช่วง ไกรฤกษ์) ได้แต่งหนังสือตำราไม้ดัดไว้เป็นท่านแรก โดยได้ตำราต้นไม้ดัดมาจากพระด้วง ซึ่งเคยเป็นข้าฯ รับใช้เรื่องไม้ดัดของรัชกาลที่ 2 ซึ่งหลวงมงคลรัตน์ได้แต่งตำราไม้ดัดเป็นโคลง เพื่อจะได้เป็นตำราที่คงอยู่ถาวรเป็นลายลักษณ์อักษร และได้ใช้เป็นแม่บทตำราไม้ดัดไทยมาจนถึงทุกวันนี้
ตำราไม้ดัดมีขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 เขียนโดยหลวงมาคลรัตน์ (ช่วง ไกรฤกษ์) เขียนเป็นโคลงตำราไม้ดัด ในตำราได้กล่าวว่า ได้รับความรู้เรื่องไม้ดัดจากพระด้วง ซึ่งเดิมเป็นข้าราชการเคยดูและเรื่องไม้ดัดในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พันธุ์ไม้ที่นิยมนำมาทำไม้ดัดได้แก่ ตะโก ข่อย โมก มะขาม เฟื่องฟ้า ชา มะสัง มะนาวเทศ เป็นต้น
จาก
www.panmai.comdnfe5.nfe.go.th