สร้างสร้างวัดในสมัยพุทธกาลการสร้างวัด มีมาแต่สมัยพุทธกาล ผู้ถวายวัดเป็นคนแรก คือ พระเจ้าพิมพิสาร วัดแห่งแรกคือวัดเวฬุวัน นอกจากนี้ มีคฤหบดีนามอนาถบิณฑิกเศรษฐี ซื้อสวนของพระเจ้าเชต เพื่อสร้างวัดถวายในพระพุทธศาสนา โดยสร้างกุฏิลักษณะหลังเดียว กุฏิสงฆ์ กุฏิทรงกลม ศาลาลาย สระโบกขรณี สถานที่จงกรม เป็นต้น ตลอดระยะทาง 45 โยชน์ ทั้งหมดล้วนเป็นเพราะความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
โดยในยุคนั้น การสร้างวัดแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1. คือ วัดเพื่อการเผยแผ่
2. คือ วัดเพื่อการศึกษา
3. คือ วัดเพื่อการบรรลุธรรม
(ภาพเมืองโบราณคูบัวในปัจจุบัน)
ส่วนวัดแห่งแรกในประเทศไทยคือ วัดปุณณารามดำรงอริยสงฆ์ ซึ่งพระเจ้าทับไทยทองสร้างในพุทธพัสสา 24 หลังกลับจากเวฬุวัน สร้างที่หนองยาว หรือหนองวัด ใกล้กับบ้านโพธิงามและหนองเกษร (คูบัวราชบุรี) ถวายพระปุณณเถระ ให้ใช้เป็นที่บรรยายธรรมเผยแพร่พุทธศาสนา (ตามจารึกกระเบื้องจาร แผ่นที่ 8 หน้า 2) ปัจจุบันไม่มีซากเหลือให้เห็น กลายเป็นพื้นนาที่เรียกว่าหนองวัด ในบริเวณเมืองโบราณคูบัว
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 หมวด 5 ว่าด้วยเรื่อง "วัด"
มาตรา 31 วัดมีสองอย่าง (ถูกต้องด้วยกฎหมาย)
1.วัดที่ได้รบพระราชทานวิสุงคามสีมา
2.สำนักสงฆ์
มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป
มาตรา 32 การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย การยุบเลิกวัด และการขอรับพระราชทาน วิสุงคามสีมา ให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
การ สร้างวัด มีขั้นตอนและวิธีดำเนินการตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2507) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ดังนี้
1.บุคคลใดประสงค์จะสร้างวัด ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อนายอำเภอท้องที่ที่จะสร้างวัดนั้น (เฉพาะในกรุงเทพมหานครให้ยื่นต่อหัวหน้าเขต) ตามแบบคำขออนุญาตสร้างวัด (ศถ.1) ซึ่งทางราชการได้กำหนดไว้
2.นายอำเภอหรือหัวหน้าเขตได้รับคำขออนุญาตสร้างวัดแล้ว พิจารณาเห็นสมควร ให้นำปรึกษาเจ้าคณะอำเภอหรือเจ้าคณะเขต นายอำเภอหรือหัวหน้าเขตเสนอเรื่องและความเห็นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
3.ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พิจารณาเห็นสมควรให้นำปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดหรือเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เสนอเรื่องและความเห็นไปยังสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
4.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พิจารณาเห็นสมควรให้สร้างวัด จะรายงานเพื่อขอรับความเห็นชอบแล้วนำเสนอมหาเถรสมาคม
5.มหาเถรสมาคมพิจารณาเห็นชอบแล้ว สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จะออกหนังสืออนุญาตให้สร้างวัด
6.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ส่งหนังสืออนุญาตให้สร้างวัดไปให้จังหวัด หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อทราบและมอบหนังสืออนุญาตให้แก่ผู้ขออนุญาตต่อไป
จาก
th.wikipedia.org
www.sahavicha.comwww.kalyanamitra.orgwww.phrathai.net