วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 สถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส แห่งภาคใต้

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

สถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส แห่งภาคใต้ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: สถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส แห่งภาคใต้   สถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส แห่งภาคใต้ EmptyFri Apr 19, 2013 9:19 pm

สถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส แห่งภาคใต้ 320px-Sino-Portugyese_Architecture_in_Phukhet
ชิโนโปรตุกีส (อังกฤษ: Sino-Portuguese) คือรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันออกและตะวันตก ในแหลมมลายูในยุคสมัยแห่งจักรวรรดินิยมของตะวันตก ราวปี พ.ศ. 2054 สามารถพบเห็นได้ในเมืองมะละกา เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ หรือมาเก๊า รวมไปถึงประเทศไทย (แต่ถ้าไปถามชาวมาเก๊า เขาไม่รู้จักหรอก ต้องเรียกว่า Indo-Portuguese อินโดโปตุกีส)

ชาวโปรตุเกสได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและทำการค้าบริเวณเมืองท่ามะละกา และได้นำเอาศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนวิทยาการตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ และได้สร้างบ้าน และสถาปัตยกรรมตามรูปแบบของตน ซึ่งช่างชาวจีนได้นำผังการก่อสร้างไปดำเนินการ แต่ลักษณะของสถาปัตยกรรมได้เพี้ยนไปจากเดิมโดยช่างชาวจีนได้ตกแต่งลวดลายสัญลักษณ์รวมถึงลักษณะรูปแบบบางส่วนของตัวอาคารตามคติความเชื่อของจีน เกิดการผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมโปรตุเกสและจีน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นท่ามกลางสังคมของกลุ่มชน 3 เชื้อชาติ อันได้แก่โปรตุเกส จีน และมลายู ในดินแดนแหลมมลายู ต่อมาเมื่อชาวดัตช์และอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้ ก็ได้ปรับปรุงรูปแบบของอาคารโดยดัดแปลงและเพิ่มเติมลวดลายต่างๆ และมีชื่อเรียกลักษณะการก่อสร้างอาคารเหล่านี้ว่า สถาปัตยกรรม “ชิโนโปรตุกีส” คำว่า “ชิโน” หมายถึงคนจีน และคำว่า “โปรตุกีส” หมายถึง โปรตุเกส แม้ว่าอังกฤษและดัตช์จะเข้ามามีอิทธิพลในการผสมผสานศิลปะของตนเข้าไปในยุคหลังด้วยก็ตามก็ยังเรียกรวมกันว่า ชิโนโปรตุกีส ในประเทศไทยพบสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีสได้ในจังหวัดภูเก็ตรวมถึง จังหวัดระนอง กระบี่ ตะกั่วป่า พังงา หรือตรัง ซึ่งอาคารส่วนใหญ่สร้างในสมัยของพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต ในช่วงปี พ.ศ. 2444 - 2456 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ภูเก็ตในสมัยนั้นมีความสัมพันธ์ทางด้านการค้ากับปีนัง อาคารแบบชิโนโปรตุกีสได้ถูกสร้างขึ้นโดยนักธุรกิจชาวจีนที่มีความร่ำรวยจากการทำธุรกิจเหมืองแร่ดีบุก เมื่อปี พ.ศ. 2537 ทางเทศบาลนครภูเก็ต รวมทั้งหน่วยงานจากภาครัฐและองค์กรเอกชน องค์กรท้องถิ่นในเมืองภูเก็ต ได้ร่วมกันพัฒนาและอนุรักษ์ย่านเมืองเก่าขึ้นมา มีการกำหนดให้พื้นที่ประมาณ 210 ไร่ ซึ่งครอบคลุมถนนรัษฎา ถนนพังงา ถนนเยาวราช ถนนกระบี่ ถนนดีบุก ถนนถลาง ถนนเทพกระษัตรี ให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม โดยออกเป็นประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มีการควบคุมให้พื้นที่อนุรักษ์นี้ ให้มีความสูงอาคารได้ไม่เกิน 12 เมตร และยังได้ส่งเสริมให้มีการพัฒนาอาคารในรูปแบบดั้งเดิมไว้ อย่างเช่นมีการให้เว้นช่องทางเดินด้านหน้า และคงรูปแบบอาคารลักษณะชิโนโปรตุกีสไว้ เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของเมืองภูเก็ต

สถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส แห่งภาคใต้ 326px-Phuket_town_house
ลักษณะของสถาปัจยกรรม
ลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีสคือการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมยุโรปและศิลปะจีน กล่าวคือ “สถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม” หรือ “อาคารแบบโคโลเนียล” (Colonial Style) ถ้าเป็นอาคารสองชั้นกึ่งร้านค้ากึ่งที่อยู่อาศัย (shop-house or semi-residential) จะมีด้านหน้าอาคารที่ชั้นล่างมีช่องโค้ง (arch) ต่อเนื่องกันเป็นระยะๆ เพื่อให้เกิดการเดินเท้า ที่ภาษาไทยเรียกทับศัพท์ว่า “อาเขต” (arcade) หรือที่ภาษาจีนฮกเกี้ยนเรียกว่า “หง่อคาขี่” ซึ่งมีความหมายว่า ทางเดินกว้างห้าฟุต นอกจากอาเขตแล้ว อาคารแบบโคโลเนียลมีการนำลวดลายศิลปะตะวันตกแบบกรีก โรมัน หรือเรียกว่า “สมัยคลาสสิก” เช่น หน้าต่างวงโค้งเกือกม้า หรือหัวเสาแบบโยนิก หรือไอโอนิก (แบบม้วนก้นหอย) และคอรินเทียน (มีใบไม้ขนาดใหญ่ประดับ) เป็นต้น ซึ่งนักวิชาการบางท่านอาจเรียกสถาปัตยกรรมแบบนี้ว่า “นีโอคลาสสิก” สิ่งที่ผสมผสานศิลปะจีนคือ ลวดลายการตกแต่ง ไม่ว่าจะเป็นภาพประติมากรรมนูนต่ำหรือนูนสูงทำด้วยปูนปั้นระบายสีของช่างฝีมือจีนประดับอยู่บนโครงสร้างอาคารแบบโปรตุเกส บานประตูหน้าต่าง ตลอดจนการตกแต่งภายในที่มีลักษณะเป็นศิลปะแบบจีน

จาก
th.wikiepdia.org
www.youutbe.com

ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
สถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส แห่งภาคใต้
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: สถาปัตยกรรมและสิ่งก่อสร้างอิทธิพลต่างแดน-
ไปที่: