วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 ลีลาวดี จากดอกไม้อัปมงคลสู่ดอกไม้มงคล

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

ลีลาวดี จากดอกไม้อัปมงคลสู่ดอกไม้มงคล Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ลีลาวดี จากดอกไม้อัปมงคลสู่ดอกไม้มงคล   ลีลาวดี จากดอกไม้อัปมงคลสู่ดอกไม้มงคล EmptyTue Apr 09, 2013 12:17 pm

ลีลาวดี จากดอกไม้อัปมงคลสู่ดอกไม้มงคล Liilaawadii

ดอกลีลาวดีหรือ "ลั่นทม" นั้น มีอีกชื่อว่า "ดอกขอม" "ดอกจำปาลาว" หรือ "จงป่า" ไม่ใช่ต้นไม้พื้นเมืองของสยาม แต่เป็นต้นไม้มาจากอเมริกากลางและหมู่เกาะแคริบเบียน

เชื่อกันว่าดอกลั่นทมหรือลีลาวดีนั้นเข้ามาในภูมิภาคนี้ เพราะชาวสเปน เนื่องจากชาวสเปนมีอาณานิคมใหญ่อยู่ในเขตละตินอเมริกาทั้งหมด จากนั้นก็ลามข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกมาพิชิตหมู่เกาะฟิลิปปินส์ในปัจจุบันด้วยนั่นเอง และเพราะความที่พวกสเปนได้ล่องเรือเข้ามาค้าขายในบ้านเมืองแถบนี้ด้วยแล้ว ชาวสเปนก็ได้นำต้นลั่นทมเข้ามาปลูกในเขตชุมชนของตนบนแผ่นดินใหญ่ด้วย และต่อมาก็กลายเป็นที่นิยมในที่สุด

สำหรับนามลั่นทมนั้น เชื่อว่ามีจากชื่อเมือง "นครธม" ของกัมพูชา (ในภาคใต้ของไทยเรียกลีลาวดีว่า "ดอกกอม" หรือ "ดอกขอม" ไปเสียด้วย) โดยมีผู้รู้บางท่านอ้างว่า กองทัพอยุธยาได้นำต้นพันธุ์ลีลาวดีมาจากเขมรในช่วงศึกพิชิตนครธมในสมัยสมเด็จพระบรมราชาที่ 2 หรือ "เจ้าสามพระยา" นั่นเอง

ฟังดูแล้วก็ค่อนข้างจะคลาดเคลื่อนอยู่ เพราะในตอนนั้นพวกสเปนยังไม่เข้ามาติดต่อการค้าในภูมิภาคนี้เลย แล้วกัมพูชาจะมีต้นลั่นทมปลูกอยู่ได้อย่างไร? แต่หลังจากย้ายเมืองหลวงไปกรุงละแวกแล้ว พวกสเปนก็เข้ามาติดต่อการค้ากับกัมพูชาอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งเชื่อว่าต้นลั่นทมน่าจะเข้ามาในช่วงนี้มากกว่าจะเป็นยุคพระนครธม

เพราะความนิยมดอกลั่นทมในราชสำนักกัมพูชานั้นมีมาก ราชสำนักล้านช้างก็ได้นำดอกลั่นทมไปปลูกด้วยเช่นกัน และได้ยกย่องให้ดอกลั่นทมกลายเปน "จำปาลาว" และยังถือเป็นดอกไม้ประจำชาติลาว

สำหรับสยามนั้น ความนิยมในต้นลั่นทมน่าจะมีมาราวสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง - ปลาย เพราะในช่วงนี้เป็นช่วงที่กรุงศรีอยุธยากลับไปพิชิตกัมพูชาได้อีกครั้ง และก็ได้นำดอกไม้ชนิดนี้กลับมาปลูกที่สยาม และกลายเป็นดอกไม้มีชื่อที่มีผู้คนนิยมจวบจนทุกวันนี้

"ลีลาวดี" นั้นเป็นนามใหม่ เพิ่งมีมาเรียกในทุกวันนี้นี่เอง ซึ่งแต่เดิมเรียกว่าลั่นทมมาตลอด (เพราะความที่เอาพันธุ์มาจากเขมรนั่นล่ะครับ) จนทำให้ชาวบ้านทั่วไปถือเคล็ดว่าเปนต้นไม้ไม่เป็นมงคล เพราะคำว่า "ลั่นทม" มันออกเสียงเหมือน "ระทม" นั่นล่ะครับ แต่บางคนก็แก้เคล็ดไปว่าลั่นทมคือ ลั่น+ทม = การทำลายหรือขจัดความระทม

แต่นามลีลาวดีนี้ หลายคนเข้าใจว่าเป็นนามพระราชทานมาแต่สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามมกุฎราชกุมารี แต่แท้จริงแล้วเป็นนามพระราชทานมาจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ

ลีลาวดี จากดอกไม้อัปมงคลสู่ดอกไม้มงคล Flower11
ประโยชน์ลีลาวดี
ยางและแก่น-ใช้เป็นยาถ่ายพิษทั้งปวง ถ่ายเสมหะและโลหิต แก้กามโรค แก้ปวดฟัน
ใบ-ลนไฟให้ร้อนพอพอกแก้ปวดบวม ชงน้ำร้อนใช้รักษาหิด
เนื้อไม้-แก้ไอ ในประเทศเขมรใช้เป็นยาขับถ่ายพยาธิ
ราก-เป็นยาถ่าย และทำให้แท้งได้
เปลือกราก-ใช้เป็นยาถ่าย แก้โรคข้ออักเสบ ขับลม รักษาโรคหนองใน
ทั้งต้น- ใช้ปรุงยารักษาโรคลำไส้พิการของม้า
เปลือกต้น - นำมาต้มเป็นยาถ่าย ขับฤดู แก้ไข้ โรคโกโนเรีย ยาถ่าย และยาขับปัสสวะ ทั้งยังมีสารฟลูโอพลูไมริน ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสของโรคเอดส์ได้
ดอก - ใช้ทำธูป และถ้าใช้ผสมกับพลูเป็นยาแก้ไข้ แก้ไขมาเลเรีย
ยางจากต้น -เป็นยาถ่าย รักษาไขข้ออับเสบ ถ้าผสมกับไม้จันทร์ และการบูรเป็นยาแก้คัน แก้ปวดฟัน

ด้านวัฒนธรรม
อื่นๆ ดอกไม้ชนิดนี้นอกจากเป็นดอกไม้ประจำชาติแล้ว ยังเป็นดอกไม้ประจำชาติในประเทศนิการากัวอีกด้วย และลีลาวดีสีขาวยังเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดมหาสารคามอีกด้วย

นาฏศิลป์เกี่ยวกับดอกลีลาวดี

“ลีลาวดี” เป็นนามของดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้เรียกแทนชื่อเดิม คือ “ดอกลั่นทม” หรือภาคอีสานจะเรียกชื่อของดอกไม้ชนิดนี้ว่า “ดอกจำปา” เมื่อ พ.ศ. 2547 ชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื้นเมือง(วงแคน) มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้มีการประชุมหารือเพื่อสร้างสรรค์ชุดการแสดงใหม่ขึ้นเพิ่มเติม จากชุดการแสดงฟ้อนรำประจำจังหวัดมหาสารคามที่มีอยู่แต่เดิม เช่น ฟ้อนทอเสื่อบ้านแพง ฟ้อนกลองยาวชาววาปีปทุม ระบำจัมปาศรี ระบำสันตรัตน์ ฟ้อนแห่ประเพณีบุญเบิกฟ้า ฯลฯ ออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายโดย นายอดิศักดิ์ สาศิริ สร้างสรรค์ทำนองดนตรีโดย นายสุวิทย์  วิชัด ประดิษฐ์ท่าฟ้อนโดยสมาชิกกลุ่มนาฏศิลป์ชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื้นเมือง (วงแคน) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม การแสดงชุด “ฟ้อนลีลาวดี (จำปาขาว)” ได้นำไปแสดงเผยแพร่ครั้งแรก เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2547 ณ งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษาครั้งที่ 7 “ออนซอนศิลป์ ศรี มอดินแดง” ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


ระบำนางอัปสรา ของกัมพูชา มีประดับดอกลีลาวดีบริเวณศีรษะ


เป็นนาฏศิลป์ ของประเทศลาวเกี่ยวกับดอกไม้ประจำชาติ

ขอขอบพระคุณรูปภาพและข้อมูลจาก
เฟซบุ๊ค Penedge
en.wikipedia.org
sites.google.com
www.isan.clubs.chula.ac.th
www.youtube.com
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
ลีลาวดี จากดอกไม้อัปมงคลสู่ดอกไม้มงคล
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: พืชพรรณจากต่างแดน-
ไปที่: