วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 นกยูงไทย นกสวยงามที่บินไม่ได้

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

นกยูงไทย นกสวยงามที่บินไม่ได้ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: นกยูงไทย นกสวยงามที่บินไม่ได้   นกยูงไทย นกสวยงามที่บินไม่ได้ EmptySun Feb 24, 2013 11:44 pm

นกยูงไทย นกสวยงามที่บินไม่ได้ Greenpeafowl_22
ภาพนกยูงอินเดียตัวเมีย
ข้อมูลทั่วไปของนกยูง
นกยูงเป็นสัตว์ท้องถิ่นแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นกนกที่อยู่ในป่า เป็นสัตว์จำพวกไก่ฟ้า แม้ว่านกยูงจะมีถิ่นกำเนิดในแถบนี้ แต่ด้วยความงามของหางนกยูงทำให้มีการค้านกยูง ไปสู่ดินแดนที่ห่างไกลออกไป จนมีเรื่องราวของนกยูงปรากฏอยู่ในภาพเขียน บทกวี และลัทธิความเชื่อ ในประเทศต่างๆประเทศ เช่น จีน อียิปต์ กรีก และชนพื้นเมืองแถบเมดิเตอร์เรเนียน ในปัจจุบันสำหรับประเทศไทยนกยูงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดหนึ่ง
นกยูงไทย นกสวยงามที่บินไม่ได้ Greenpeafowl_20
ประเภทของนกยูง
นกยูงแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
นกยูงไทย นกสวยงามที่บินไม่ได้ 320px-Pfau_imponierend
1. นกยูงอินเดีย (Indian Peafowl) มีหงอนบนหัวแผ่เป็นพัด มีหนังข้างแก้มเป็นสีขาว ขนส่วนคอและอกด้านบนเป็นสีน้ำเงิน และนกยูงสีขาวก็เป็นพันธุ์อินเดียด้วยเช่นกัน พบกระจายพันธุ์ในอินเดีย ศรีลังกา ภูฏาน ปากีสถาน
นกยูงไทย นกสวยงามที่บินไม่ได้ 300px-Green_Peafowl%2C_Hanoi
2. นกยูงไทย (Green Peafowl) หรือในภาษาอังกฤษแปลตามตัวว่านกยูงสีเขียว มีหงอนบนหัวตั้งตรงเป็นกระจุก หนังข้างแก้มเป็นสีฟ้าและสีเหลือง ขนส่วนคอ หลัง ตลอดไปถึงปลายหางเป็นสีเขียว มีการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนจนถึงลาว ไทย เวียดนาม กัมพูชา พม่า มาเลเซียตะวันตก และเกาะชวา ในประเทศไทยพบในภาคเหนือและภาคตะวันตก

นอกจากนี้ยังมีนกยูงแบบอื่นอีก เช่น
นกยูงไทย นกสวยงามที่บินไม่ได้ 300px-Afropavo_congensis_-Antwerp_Zoo_-pair-8a
นกยูงคองโก
เป็นนกในตระกูลไก่ฟ้าเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในจำนวนทั้งหมด 48 ชนิด ที่ไม่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย โดยมีถิ่นกำเนิดแถบบริเวณลุ่มนํ้าคองโกตอนกลางของทวีปแอฟริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ.1913 ถึง ค.ศ.1936 นักปักษีวิทยาเคยเห็นแต่เพียงขนของมันเพียงเส้นเดียวบนหมวกของชาวพื้นเมืองเท่านั้นจนกระทั่ง Dr.James p. Chapin นักปักษีวิทยาชาวอเมริกันได้เห็นตัวจริงที่สตั๊ฟไว้ในพิพิธภัณฑ์คองโก ประเทศเบลเยี่ยม โดยตั้งชื่อผิดเป็นนกยูงไทยด้วย จึงได้ศึกษาอย่างจริงจัง บันทึกรายละเอียดต่าง ๆ และ ตั้งซื่อให้มันในครั้งนั้นด้วย นกยูงคองโกมีข้อแตกต่างอย่างมากจากนกยูงไทยและนกยูงอินเดียซึ่งอยู่ในตระกูล Pavo โดยที่มันมีตัวเล็กกว่า ตัวผู้ไม่มีขนหางที่ยาวเหมือนสองชนิดแรก ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะมีรูปร่างป้อม ๆ มีหงอนที่เป็นขนแข็ง ๆ ตั้งขึ้นอยู่บนหัว ความสวยของนกยูงชนิดนี้อยู่ที่สีของขน มันชอบอาศัยอยู่ตามป่าที่มีฝนชุกที่ระดับความสูง 1,200-1,500 ฟุต เป็นพวก monogamous คือผัวเดียวเมียเดียว มักจะพบออกหากินเป็นคู่ ชอบนอนบนต้นไม้สูงๆ และมักจะส่งเสียงร้องในเวลากลางคืน ในขณะที่เกาะอยู่บนกิ่งไม้ ข้อสังเกตจากการนำมาเพาะเลี้ยง มันเป็นนกยูงที่เลี้ยงให้รอดยากและขยายพันธุ์ยากด้วย เป็นนกที่ไม่ค่อยตื่นคนมากนัก ตัวผู้มักจะรำแพนบ่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ ปกติจะวางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 26 วัน ตัวผู้จะมีขนสวยสมบูรณ์ในปีที่สอง นกยูงชนิดนี้มีผู้เพาะเลี้ยงน้อยมาก จะมีอยู่ในเฉพาะสวนสัตว์ใหญ่ๆ เท่านั้น

นกยูงไทย นกสวยงามที่บินไม่ได้ 4351611551_aeeb25443c
นกยูงไก่ฟ้าปาลาวัน
เป็นนกยูงพบที่เกาะปาลาวัน ประเทศฟิลิปปินส์


นกยูงไทย นกสวยงามที่บินไม่ได้ Greenpeafowl_11
บทบาทของนกยูงในประวัติศาสตร์ไทยและวัฒนธรรมไทย
นกยูงเป็นนกที่สวยงามและเป็นนกที่มีสามารถพบได้ในประเทศไทย และมีความหมายอันเป็นมงคลสำหรับชาวจีนรวมถึงชาวไทยอีกด้วย ดังนั้นนกยูงของไทยอย่างในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการส่งนกยูงเป็นของบรรณาการให้กับจีน แต่เนื่องจากความสวยงามของหางนกยูงทำให้นกยูงถูกล่าและนกยูงในประเทศต่างๆ ได้ลดจำนวนลงจนเกือบจะสูญพันธุ์

นกยูงเป็นสัตว์ที่มีบทบาททางวรรณคดี ไทยเช่น
ลิลิตโองการแช่งน้ำ มีคำว่า "ขุนกล้าขี่นกยูง"

ในวรรณคดีไทยเรื่องอิเหนามี การกล่าวถึงคำว่า “บุหรง” ซึ่งมาจากภาษาชวาหมายถึงนกยูงหรือนก ก็ได้

หรือบทความของท่านพุทธทาส “เป็นมนุษย์เป็นได้เพราะใจสูง เหมือนหนึ่งยูงมีดีที่แววขน...”


นาฏศิลป์ไทยที่ใช้หางนกยูง

1. รำแววพัชนีหรือระบำวิชนี
ประวัติความเป็นมา ระบำแววพัชนี เป็นระบำชุดหนึ่งซึ่งทางวิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง ได้คิดประดิษฐ์ขึ้นโดยยึดความงดงามในท่ารำของนาฏศิลป์ไทย และพัดหางนกยูงเป็นองค์ประกอบสำคัญ ผู้แสดงจะแต่งกายเลียนแบบสตรีไทยในราชสำนักสมัยกรุงศรีอยุธยา และถือพัดหางนกยูงออกมาร่ายรำตามลีลาและท่วงทำนองดนตรีไทย อันไพเราะอ่อนหวาน ซึ่งดัดแปลงทำนองขึ้นมาใหม่


2. ฟ้อนหางนกยูง (นครพนม)
เกิดจากเมื่อประมาณ 100  ปีเศษ คุณตาพัน เหมหงษ์ ซึ่งเป็นชาวจังหวัดนครพนมโดยกำเนิด ท่านเป็นบุตรของอุปฮาด (สงสัยอุปราช) คนหนึ่งในอดีต เมื่อครั้งที่คุณตาท่านมีชีวิตอยู่ ท่านมีชีวิตโลดโผนเป็นนักสู้รบมาก่อน ท่านสนใจการฟันดาบ เพลงดาบ กระบี่กระบอง และมวย ท่านจึงกลายเป็นครูดาบ กระบี่กระบอง และมวย เป็นผู้มีฝีมือเยี่ยมยุทธ์คนหนึ่ง และเวลาว่างๆ ท่านก็ชอบออกล่าสัตว์ หมูป่า และนกต่างๆ จากนั้นก็สะสมของป่าเอาไว้ เช่น หางนกยูง  แล้วนำมามัดเป็นกำ ๆ แล้วคิดประดิษฐ์ท่าฟ้อนรำขึ้น ซึ่งมีลีลาคล้ายกับการฟ้อนดาบแล้วก็นำไปถ่ายทอดให้ลูกหลานต่อไป จนเกิดฟ้อนหางนกยูงเกิดขึ้น


3. บุหรงเมอลัก
บุหรงแปลว่านกหรือนกยูง บุหรงเมอลักเป็นการรำเกี่ยวกับนกยูงทางภาคใต้ โดยวิทยาลัยนาฏศิลป์พัทลุง


4. ระบำหย้าหรั่นตามนกยูง
เป็นการแสดงที่นำมาจากการแสดงละครเรื่องอิเหนา ตอนย่าหรันตามนกยูง โดยอาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นผู้แต่งทำนอง คุณหญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ประดิษฐ์ท่ารำ ระบำชุดนี้ไม่มีบทร้อง นำออกแสดงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2504


5. กิงกะหร่า
ฟ้อนกิงกะหร่า เป็นศิลปะการแสดงของชาวไทใหญ่ คำว่า “กิงกะหร่า” หมายถึง กินนร แต่ดูแล้วคล้ายกับการรำนกยูงซึ่งอาจจะได้รับอิทธิพลมาจากนกยูงรำแพนก็เป็นไปได้


6. มยุราภิรมย์
ป็นระบำชุดหนึ่ง ที่ท่านหญิงแผ้ว สนิทวงค์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยและศิลปินแห่งชาติ ได้คิดประดิษฐ์ท่ารำขึ้นโดยเลียนแบบกิริยาท่าทางอันสวยงามของนกยูงให้เข้า กับทำนองเพลงมยุราภิรมย์ ที่นายมนตรี ตราโมท
ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้แต่ง ใช้แสดงประกอบในละครในเรื่องอิเหนา ตอนหย้าหรันตามนกยูง แต่เนื่องจากเป็นระบำที่มีลีลาท่ารำสวยงามผสมกลมกลืนกับเพลงที่ไพเราะ เหมาะที่จะนำออกแสดงเป็นชุดเอกเทศได้ ปัจจุบันจึงนิยมนำมาแสดงจนเป็นที่แพร่หลา


7. นาฏศิลป์นกยูงภาคเหนือ พรหมจักร รามเกียรติ์ ฉบับล้านนนา

8. ฟ้อนนกยูง
เป็นฟ้อนประดิษฐ์ใหม่โดย ผศ.ดิเรกชัย มหัทธนะสิน อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมพื้นบ้านล้านนา เมื่อปี พ.ศ.2529 ลีลาท่าฟ้อนปรับท่าฟ้อนมาจากการฟ้อนนกยูงข­องชาวไทลื้อ สิบสองพันนา หลังจากที่อาจารย์ได้ไปเยี่ยมชมสิบสองพันน­า ใช้หญิงสาวทั้งหมดในการแสดงและแต่งกายเป็น­นกยูง เรื่องการแสดงนั้นเกี่ยวกับเรื่องหพระสุธน­นางมโนราห์ โดยจะตัดเอาเฉพาะตอนที่ นางมโนราห์ กับพี่ กำลังเล่นน้ำในหนองน้ำป่าหิมพานต์ พรานไปพบเข้าจึงได้จับตัวนางไปถวายพระ สุธนและก็ตัดไปที่ตอนที่อภิเษกสมรส ใช้นักแสดงเป็นนกยูง พระสุธน นางมโนราห์ พระราชาและพระราชินี ใช้เพลงกาสะลองซึ่งแต่งโดยคุณสุชาติ กันชัย สมาชิกรุ่นแรกของชมรมพื้นบ้านล้านนา เป็นเพลงประกอบการแสดง

9. ลงสรงแขก
เป็นการรำที่แสดงท่าทางการอาบน้ำและแต่งตัวของตัวละคร โดยมีบท
ร้องบรรยายลักษณะการอาบน้ำและเครื่องแต่งกายของตัวละคร ใช้ในการแสดงละครพันทางหรือ
ละครที่ต้องการบ่งบอกเชื้อชาติของตัวละคร เช่น รำลงสรงแขกพระยาแกรกจากการแสดงละคร
พันทางเรื่องพระยาแกรก เป็นต้น การรำลงสรงแขกมีการใช้พัดหางนกยูงร่วมแสดง

10. รำนกยูงบนหัวเรือ
การแสดงฟ้อนหางนกยูงหัวเรือ ของชาวสกลนครมีมานานนับร้อยกว่าปีแล้ว ใช้สำหรับบวงสรวงเจ้าพ่อหลักเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อประทานพรให้มีชัยชนะ แคล้วคราด จากผะยันอันตราย ทั้งปวง และเข้าร่วมการเส็งต่างๆ (การแข่งขัน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันเรือยาวในเทศกาลออกพรรษา การแสดงชนิดนี้จะแสดงท่ารำบนหัวเรือแข่ง และรำถวายหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งท่ารำได้ดัดแปลงมาจากการรำไหว้ครูของนักรบ ก่อนออกชิงชัยในศึกสงครามในสมัยก่อนโดยท่ารำตามอาวุธที่ตนเองฝึก เช่น รำดาบ รำกระบี่กระบอง เข้าจังหวะกลอง

11. รำหางนกยูง (ผู้ชายแสดงของสกลนคร)
เป็นการรำเลียนแบบนกยูงตัวผู้จณะรำแพน ที่อวดขนโชว์ความงามแก่นกยูงตัวเมีย มีการผสมผสานการรำมวยสกลนคร

12. ระบำนางสงกรานต์
นางสงกรานต์วันเสาร์ นางมโหทร พาหนะเป็นนกยูงทอง

13. ประเลง
ประเลง เป็นชื่อเรียกการรำเบิกโรงอย่างหนึ่งของละครในซึ่งมีมาแต่โบราณ ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่องพระ 2 คน สวมหัวเทวดาไม่มียอด เหตุที่ใช้ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่องพระเนื่องจาก ในการแสดงครั้งหนึ่งๆจะมีผู้แสดงที่แต่งกายยืนเครื่องพระอยู่แล้ว การแสดงเบิกโรงเพื่อความเป็นสิริมงคลนั้น นิยมใช้ตัวพระเป็นผู้รำ โดยให้สวมหัวเทวดาไม่มียอดปิดหน้าทั้งหมด เพื่อมิให้ผู้ชมเห็นว่าแสดงซ้ำกัน คือ นอกจากเป็นผู้รำประเลงแล้ว ยังแสดงเป็นตัวละครในเรื่องอีกนั่นเอง ตัวนายโรงทั้ง 2 คนที่รำประเลง จะต้องถือหางนกยูงทั้งสองมือออกมาร่ายรำตามทำนองเพลง โดยไม่มีบทร้อง ส่วนเพลงหน้าพาทย์ประกอบการรำประเลง บางท่านก็ใช้เพลงกลม บ้างก็ใช้เพลงโคมเวียน แล้วออกด้วยเพลงตระบองกัน การรำประเลงเบิกโรงเป็นการสมมติว่าเทวดาลงมารำ เพื่อให้เกิดสวัสดิมงคล และปัดรังควานป้องกันเสนียดจัญไร ที่มาของการรำประเลงนั้น ท่านผู้รู้เล่ากันว่า แต่เดิมก่อนการแสดงละคร จะมีผู้ถือไม้กวาดออกมาปัดกวาด ทำความสะอาดโรงละครเสียก่อน ผู้ที่ออกมาปัดกวาดเหล่านี้มักจะเป็นศิลปิน เวลาปัดกวาดก็คงทำท่าอย่างรำละครไปด้วย ครูบาอาจารย์ทางนาฏศิลปไทยก็เลยคิดประดิษฐ์เป็นท่ารำ แล้วให้ผู้แสดงถือหางนกยูงแทนการถือไม้กวาด ออกมาร่ายรำในเชิงความหมายปัดรังควาน



นกยูงไทย นกสวยงามที่บินไม่ได้ 20090219_a2288a726d03424f3260IBdwARa0mUG9
ตำนานและวัฒนธรรมเรื่องนกยูงในต่างประเทศ
นกยูงไทย นกสวยงามที่บินไม่ได้ Tumblr_mav095gxqY1r3u2l5o1_500
ที่อินเดียนกยูงนกยูงเป็นสัตว์มงคล สัตว์พาหนะหรือเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าหลายๆ องค์เช่น พระขันทกุมาร พระกฤษณะ พระสรัสวดี ในศาสนาฮินดู
นกยูงไทย นกสวยงามที่บินไม่ได้ CC%20Argus%20and%20Io
ที่กรีซโบราณ เทพเจ้าซีอุสหรือซุสหรือจูปิเตอร์ (เทพองค์เดียวกันแต่ชื่อเรียกต่างกัน) ได้ไปหลงรักกับนักบวชสาวนามว่า ไอโอ ซึ่งทั้งสองแอบลอบพบกันอยู่บ่อยครั้ง จนเทวีเฮรา ภรรยาของเพทซุส เริ่มสงสัยและออกติดตามสามีมาเวลาแอบย่องออกนอกบ้าน แต่เทพซุส รู้ตัวจึงเสกให้นางไอโอเป็นวัว เทวีเฮรา เข้ามาพบเทพซุส อยู่กับวัวสาวก็เดาได้ทันที แต่จับไม่ได้คาตา จึงแกล้งชมว่าวัวนี้สง่างาม นางจะขอเอาไปเลี้ยงดูเอง เทพซุส จึงต้องยกวัวให้กับเทวีเฮราไป เทวีเฮรา ก็แกล้งปล่อยให้วัวไอโอ ออกหากินเองอย่างลำบาก และให้ยักษ์อาร์กัสเฝ้าเอาไว้เพื่อป้องกันเทพซุสมาหาวัวสาวไอโอ อาร์กัสเป็นยักษ์ใหญ่ที่มีตาอยู่รอบตัว มีตาที่เปิดอยู่ตลอดเวลา และแม้เวลานอนก็ยังเปิดตาไว้อย่างน้อย 1-2 ดวง ดังนั้นจึงไม่มีอะไรรอดสายตาของยักษ์ตนนี้ไปได้ เทพซุสจึงได้เรียกลูกชายคือเทพเออร์เมสนำตัววัวสาวไอโอกลับมา เทพเฮอร์เมสแปลงกายเป็นคนเลี้ยงแกะและเล่าเรื่องราวน่าเบื่อให้ยักษ์อาร์กัสฟังแต่และร้องเพลง ก็ไม่ยอมหลับ ฝนที่สุดเทพเฮอร์เมาส จึงใช้หลอดต้นอ้อ ซึ่งยืมมาจากเทพแพน มาเป่า ทำให้ยักษ์อาร์กัสหลับลงในที่สุด เทพเฮอร์เมาเห็นยักษ์อาร์กัสหลับไปแล้วจึงเอามีดดาบที่พกมา สังหารนัก์อาร์กาและนำวัวสาวไอโอกลับไป ส่วนเทวีเฮราก็เสียใจที่ยักษ์อาร์กัสต้องมาตายจึงนำดวงตาที่อยู่รอบๆ กายของยักษ์อาร์กัสมาติดไว้กับหาง
นกยูงไทย นกสวยงามที่บินไม่ได้ WikiProject_Burma_(Myanmar)_peacock
นกยูงเป็นนกประจำชาติคือ อินเดียและพม่า และพม่าในสมัยที่มีพระมหากษัตริย์มีการใช้นกยูงเป็นตราสัญลักษณ์ด้วย



นกยูงในประเทศไทย
สำหรับในประเทศไทย นกยูง เคยมีกระจายอยู่ทั่วทั้งประเทศ แต่ปัจจุบันได้ลดจำนวนอย่างรวดเร็ว อันเนื่องจากป่าซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยได้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว และถูกจับล่าเป็นจำนวนมาก ดังนั้น นกยูงจึงคงเหลืออยู่แต่ในสวนสัตว์ และพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เพียง 10 แห่งเท่านั้น คือ

        1.  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน

        2.  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร

       3.   เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

      4.     เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว

       5.    เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม

       6.    อุทยานแห่งชาติภูเก้า - ภูพานคำ

       7.    อุทยานแห่งชาติภูพาน

      8.     อุทยานแห่งชาติเขาสก

      9.     อุทยานแห่งชาติเขาแหลม (รวมเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงเกริงกะเวีย - หนองน้ำซับ เข้าไว้ด้วย)

       10.    เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำภาชี

โดยบริเวณที่พบนกยูงมากที่สุด คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มีจำนวนประมาณ 400 ตัว รองลงมาคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร การปล่อยให้มีการล่านกยูงโดยเสรีในอดีต และการที่มีผู้ที่นิยมเลี้ยงนกยูงกันเป็นจำนวนมากในระหว่างปี พ.ศ. 2510-2517 ทำให้มีการส่งออกนกยูงออกนอกราชอาณาจักร เฉพาะที่ท่าอากาศยานกรุงเทพมากถึง 626 ตัว นอกจากนี้ ความนิยมในการนำขนนกยูงมาทำเป็นเครื่องประดับตกแต่งและเป็นเครื่องหมายแสดงสถานภาพในกลุ่มสังคมของคนบางกลุ่ม เป็นเหตุให้นกยูงถูกล่าเป็นจำนวนมาก เพียงเพื่อต้องการขน ประกอบกับการทำลายป่าที่อยู่ตามริมลำธารในป่า ก่อให้เกิดความสูญเสียแหล่งหากินและทำรังวางไข่ของนกยูง ทำให้ปัจจุบันนกยูงกลายเป็นสัตว์ที่หาได้ไม่ง่ายนัก

ขอขอบพระคุณรูปภาพและข้อมูลจาก
1.bp.blogspot.com
2.bp.blogspot.com
cdaat.bpi.ac.th
gotoknow.org
rilca.mahidol.ac.th
thaisatit4.blogspot.com
www.baanmaha.com
www.kapook.com
www.learnthaidance.info
www.moohin.com
www.mthai.com
www.pantip.com
www.panyathai.or.th
www.reurnthai.com
www.sahavicha.com
www.siamganesh.com
www.siamphoenix.com
www.thaidances.com
www.malware-site.www
www.utexas.edu
www.thaikasetsart.com

นกยูงบินได้นะ แต่ไม่สูงที่สิบสองปันนา ประเทศจีน


แก้ไขล่าสุดโดย Admin เมื่อ Sat Oct 19, 2013 10:27 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

นกยูงไทย นกสวยงามที่บินไม่ได้ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: นกยูงไทย นกสวยงามที่บินไม่ได้   นกยูงไทย นกสวยงามที่บินไม่ได้ EmptyThu Oct 03, 2013 9:32 pm

ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
นกยูงไทย นกสวยงามที่บินไม่ได้
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: ต่อไปคือวัฒนธรรมไทยในต่างแดน :: สัตว์ประจำถิ่นไทย/สัตว์ค้นพบครั้งแรกที่ไทย-
ไปที่: