ประวัติขนมถ้วยฟูขนมถ้วยฟู เป็นขนมของชาวจีน ที่คนไทยรับเข้ามาทั้งตัวขนม ชื่อขนม และความเชื่อที่ติดมากับขนม ขนมถ้วยฟู ในภาษาจีนเรียกว่า “ฟาเกา” 发糕 ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่า “ฟาไฉ” 发财 ซึ่งหมายถึง “ความร่ำรวย” นั่นเอง ขนมถ้วยฟูจึงเป็นขนมที่มีชื่อเป็นศิริมงคล จึงมักใช้สำหรับงานมงคลต่าง ๆ ในยุคก่อน ที่ยังไม่มีผงฟูสำเร็จรูป การทำขนมถ้วยฟูจึงเป็นเสมือนการเสี่ยงทาย ...โชคลาภจะเฟื่องฟูหรือไม่ฟู ก็ดูที่ขนมถ้วยฟูนี่แหละ โดยขนมถ้วยฟูนั้นมีมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว
ในภาษาจีนฮกเกี้ยน เรียกว่า “ขนมฮวดโก้ย” มีความหมายในภาษาจีน "ฮวด" แปลว่า "เจริญงอกงาม" "โก้ย" แปลว่า "ฟู หรือ ขนม"' ดังนั้นขนมฮวดโก้ย จึงตรงกับตวามหมายในภาษาไทยว่า ขนมแห่งความเจริญเฟื่องฟู
ชาวจีนหรือคนไทย นิยมนำฮวดโก้ยไปไว้ไหว้หรือกระทำพิธีที่เป็นมงคลต่าง ๆ เพราะขนมชนิดนี่ตรงความหมายทางมงคลว่า ชีวิตเฟื่องฟูเจริญรุ่งเรื่อง จึงขาดไม่ได้ในการไหว้พิธีต่าง ๆ ของชาวจีน
คนจีนฮกเกี้ยนมีประเพณีว่าถ้าเด็กเกิดออกมาครบหนึ่งเดือน จะจัดพิธีมั๋วโง่ยคือการให้เด็กทารกไปแนะนำตัวให้กลับญาติผู้ใหญ่ โดยพ่อแม่เด็กจะจัด ไข่ตั้มย่อมสีแดง ฮวดโก้ย และ อิ่วปึ่ง ไปให้ญาติผู้ใหญ่เพื่อนเป็นการแนะนำตัว จากนั้นจะนำเอาขนมฮวดโก้ยไปไหว้ศาลเจ้าปุดจ้อ เพื่อเป็นการขอพรให้เด็กเจริญรุ่งเรื่อง และเพื่อให้ กวนอิมปุดจ้อคุ้มครอง
เวลาแต่งงาน ชาวบ้าบ๋าหรือชาวจีนฮวดโก้ยถือว่าเป็นขนมที่ขาดไม่ได้ เวลาแต่งานมีความหมายว่าให้ชีวิตคู่เจริญรุ่งเรื่อง ดังนั้นเวลางานแต่งงานชาวบ้าบ๋าฮวดโก้ยจึงมึงอยู่ในตะกร้าเซี่ยหน้าซึ่งเป็นตะกร้าใส่ขนมมงคล 12 ชนิด ในนั้นมีฮวดโก้ยอยู่ด้วย ตลอดจนการไหว้ในเทศกาลต่างๆก็มี เช่น เทศกาลเฉ่งเบ๋ง ตรุษจีน สารทจีน แซยิด ล้วนมีความหมายเดี่ยวกัยเพื่อขอให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
จากเฟซมิวเซียมสยาม
Wikipedia
springfestival.tw.tranews.com