วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 ผักตบไทย ผักตบชวา

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

ผักตบไทย ผักตบชวา Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ผักตบไทย ผักตบชวา   ผักตบไทย ผักตบชวา EmptySat Feb 23, 2013 10:55 pm

ผักตบไทย ผักตบชวา Photographz3

ผักตบไทย
ผักตบไทยมีชื่อสามัญว่า Monochoria มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Monochoria hastata solms อยู่ในวงศ์ Pontederiaceae เช่นเดียวกับผักตบชวา (Eichhornia crassipes Solms) ขึ้นในน้ำตื้นหรือคูคลองที่น้ำค่อนข้างนิ่ง รากมักจะหยั่งลึกลงดิน แต่บางครั้งก็พบลอยน้ำเหมือนผักตบชวา ผักตบไทยมีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน ซึ่งประเทศไทยก็อยู่ในช่วงของเอเชียเขตร้อนด้วย ผักตบไทยแต่เดิมก็คงเรียกว่า “ผักตบ” เฉยๆ นี่ล่ะ พอมีการนำผักตบจากเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย เลยตั้งชื่อแยกออกจากผักตบของไทยดั้งเดิม เป็นผักตบไทย กับผักตบชวา ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอบรัดเลย์ พ.ศ. 2416 กล่าวถึงดอกผักตบเอาไว้ว่า “...ดอกมีสีเขียวเหมือนดอกอัญชัน งามนัก...” ส่วนพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 กล่าวถึงดอกผักตบว่า “ดอกสีขาบ...” ซึ่งสีขาบก็คือสีน้ำเงินแก่ แต่สีของดอกผักตบเป็นสีเฉพาะตัวไม่เหมือนใคร ในอดีตเมื่อเอ่ยถึง “สีดอกผักตบ” ก็จะรู้จักกันทั่วไป ดังเช่นใช้เรียกสีของพลอยชนิดหนึ่งว่า “พลอยสีดอกผักตบ” เป็นต้น เมื่อดอกผักตบโรยแล้วจะติดผล มีลักษณะเรียวบิดเป็นเกลียว ข้างในมีเมล็ดขนาดเล็กอยู่มากมาย สามารถงอกขึ้นเป็นต้นได้อีกในที่เหมาะสม ในอดีตประเทศไทยมีพื้นที่ชื้นแฉะตลอดปีเหมาะแก่การเจริญเติบโตของผักตบอยู่มาก จึงพบผักตบขึ้นอยู่ทั่วไป ชาวไทยนำผักตบมากินเป็นผักสามัญชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถเก็บมากินได้ตลอดปี ส่วนของผักตบที่นำมาใช้เป็นผักก็คือก้านใบ ใบอ่อน และช่อดอก โดยใช้กินได้ทั้งสุกและดิบ แกงส้มผักตบเป็นแกงส้มที่แพร่หลายที่สุดอย่างหนึ่งของชาวไทยภาคกลางในอดีต ผักตบจึงเป็นผักประจำครัวของชาวไทยภาคกลางอีกอย่างหนึ่ง มีคำโต้ตอบของหนุ่มสาวชาวไทยภาคกลางในอดีตที่แสดงถึงความนิยมผักตบ นั่นคือ ชาวหนุ่มมัก จะถือโอกาสเมื่อมีงานบุญ (เช่นงานบวช) ที่มีการระดมสาว ๆ มาช่วยทำครัว เจ้าหนุ่มจะเข้าไปเมืองมองข้าง ๆ ครัวแล้วเอ่ยถามสาว ๆ ที่กำลังทำครัวอยู่ว่า “มี( หัว )หอมบ้างมั้ย ขอหอมบ้างสิ” เป็นการดูท่าทีของสาว ๆ หากสาวไม่พอใจก็จะตอบว่า “ปอมไม่มีหรอก มีแต่ผักตบจะเอามั้ย” ทั้งนี้เพราะทั้งหอมและตบมีความหมายสองอย่าง คือเป็นทั้งคำนาม ( ผัก ) และกิริยา

มีปรากฏอยู่ในโคลงนิราศสุพรรณของสุนทรภู่ ซึ่งกล่าวถึงผักตบไทย

ชุมนักผักตบซ้อน บอนแซง
บอนสุพรรณหั่นแกง อร่อยแท้
บอนบางกอกดอกแสลง เหลือแล่ แม่เอย
บอนปากยากจแก้ ไม่สริ้นลิ้นบอน


ผักตบไทย ผักตบชวา 333px-Water_hyacinth_bloom
ผักตบชวา
มีชื่อสามัญว่า Water hyacinth มีถิ่นกำเนิดในแถบลุ่มน้ำอะเมซอน ประเทศบราซิล ในทวีปอเมริกาใต้ มีดอก สีม่วงอ่อน คล้ายช่อดอกกล้วยไม้ แต่ผักตบชวาในแม่น้ำอะเมซอนไม่ได้เป็นวัชพืชทางน้ำที่นั่น เพราะมีโรคและแมลงรบกวนอยู่ตลอด ต่อมาได้ขยายพันธุ์ไปทั่วโลกปราศจากโรคและแมลงจึงกลายเป็นวัชพืชที่สร้างปัญหาไปตามแหล่งน้ำเกือบทั่วโลก ผักตบชวาถูกนำเข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2444 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซียในฐานะเป็นไม้ประดับสวยงาม โดยเจ้านายฝ่ายในที่ตามเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย ได้เห็นพืชชนิดนี้มีดอกสวยงาม จึงนำกลับมาปลูกในประเทศไทย และใส่อ่างดินเลี้ยงไว้หน้าสนามวังสระปทุม จนกระทั่งเกิดน้ำท่วมวังสระปทุมขึ้น ทำให้ผักตบชวาหลุดลอยกระจายไปตามแม่น้ำลำคลองทั่วไป และแพร่พันธุ์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ผักตบชวาจัดเป็น "เอเลี่ยน สปีชี่ส์" หรือ "ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น" ที่เข้ามาแพร่ระบาดรุกรานจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศน์ในประเทศไทย มีการแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ใน 1 เดือนผักตบชวาเพียง 1 ต้นอาจขยายพันธุ์ได้มากถึง 1,000 ต้น ถึงแม้น้ำจะแห้งจนต้นตายแต่เมล็ดของมันก็ยังมีชีวิตต่อไปได้นานถึง 15 ปีและทันทีที่เมล็ดได้รับน้ำที่เพียงพอมันก็จะแตกหน่อเป็นต้นใหม่ต่อไป จนกลายเป็นปัญหาทางน้ำและทวีความรุนแรงจนเป็นปัญหาระดับประเทศ ทำให้รัฐบาลต้องเสียงบในการกำจัดผักตบชวาจำนวนมาก ซึ่งไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นอีกกว่า 50 ประเทศทั่วโลกก็เจอปัญหาเช่นเดียวกันนี้ จะมีก็แต่ประเทศในแถบยุโรปเท่านั้นที่ปลอดการรบกวน และบริเวณที่ถูกผักตบชวาคุกคามมากที่สุดคือ ทะเลสาบวิกตอเรีย ซึ่งอยู่ในประเทศแทนซาเนียและเคนยา ประเทศไทยเองมีการเริ่มกำจัดผักตบชวามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ถึงขนาดมีการออกพระราชบัญญัติสำหรับกำจัดผักตบชวา พ.ศ. 2456 ปัจจุบันมีหน่วยงานและองค์ก่อนต่างๆได้เข้ามาช่วยเหลือในการกำจัด เช่น นำไปผลิตเป็นของใช้ ทำกระดาษ เพาะเห็ด อาหารสัตว์ ทำปุ๋ย นำมารับประทาน (ทานได้ตรงก้านใบอ่อนและดอก) ทำเชื้อเพลิง ฯลฯ และมีการนำแมลงมวนผักตบจากแหล่งกำเนิดที่ทวีปอเมริกาใต้ เข้ามาทดลองปล่อยในประเทศไทย เพื่อควบคุมจำนวนประชากรของผักตบชวา

จาก
gotoknow.org
th.wikipedia.org
www.88foto.com
www.charleneragsdale.com
www.ku.ac.th
www.suansavarose.com
www.malware-site.www
www.thaitambon.com
www.vcharkarn.com
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
ผักตบไทย ผักตบชวา
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: พืชพรรณจากต่างแดน-
ไปที่: