ภาพจอห์น วอล์คเกอร์ ผู้ประดิษฐ์ไม้ขีดไฟคนแรกประวัติไม้ขีดไฟสากล ในปี ค.ศ. 1827 (พ.ศ. 2370 ตรงกับสมัย ร.3) มีนักเคมีชาวอังกฤษชื่อ จอห์น วอล์คเกอร์ ทำไม้ขีดจากเศษไม้จุ่มปลายลงในส่วน ผสมของ แอนติโมนีซัลไฟด์โปตัสเซียมคลอเรตและกาวซึ่งทำจากยางไม้ หรือ gumarabic เมื่อนำไม้ขีดไฟขูดลงบนกระดาษทรายจะเกิดแรงเสียดสี ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนที่ทำให้ไม้ขีดลุกเป็นไฟ ไม้ขีดแบบที่ จอห์น วอล์คเกอร์ ประดิษฐ์เป็นแบบเดียวกันกับไม้ขีดประเภท "ขีดกับอะไรก็ได้" แต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะติดไฟทุกครั้ง ไม้ขีดไฟชนิดนี้เพิ่งคิดค้นได้หลังจากการประดิษฐ์ไฟแช็กถึง 4 ปี ในปี ถึงปี 1890 ที่ประเทศฝรั่งเศส ชาร์ลส์ โซเรีย ได้คิดค้นไม้ขีดไฟที่มีปลายทำจากฟอสฟอรัสเหลือง แต่ช่วงสิ้นศตวรรษที่ 19 หัวไม้ขีดมีส่วนประกอบของฟอสฟอรัสเหลืองหรือขาวมีพิษทำให้คนงานในโรงงานผลิตไม้ขีดไฟเจ็บป่วยถึงพิการหรือเสียชีวิตด้วยโรคที่เรียกกันว่า phossy jaw ในช่วง ปี ค.ศ. 1840 ได้มีการค้นพบฟอสฟอรัสแดงซึ่งทำให้ผลิตไม้ขีดได้อย่างปลอดภัย แต่ไฟจะติดได้ก็ต้องจุดเฉพาะพื้นที่ที่เตรียมไว้เท่านั้น ผิวสำหรับขีดอยู่ข้างกล่องไม้ขีดมีฟอสฟอรัสแดง ทาติดอยู่ ด้วยยางไม้ gumarbic หรือกาวชนิดอื่น ส่วนที่หัวไม้มีโปแตสเซียมคลอเรตซึ่งเมื่อกระทบกับ ฟอสฟอรัสแดง ก็จะเกิดปฏิกิริยาให้ความร้อนมากพอและไฟจะติดขึ้นได้ เรื่องยังมีวัสดุอื่นๆอีกที่สามารถใช้เป็นก้านไม่ขีดไฟได้เช่น ด้ายเคลือบขี้ผึ้ง และกระดาษแข็งเคลือบขี้ผึ้ง แต่วัสดุที่ใช้ทำก้านไม้ขีดได้ดีที่สุดก็คือไม้ ลักษณะไม้ซึ่งเหมาะสำหรับทำก้านไม้ขีดควรจะเป็นไม้สีขาว ไม่มีกลิ่น เนื้อไม้ไม่แข็งหรืออ่อนเกินไป นิยมใช้ไม้มะยมป่า ไม้มะกอก ไม้อ้อยช้าง ไม้ปออกแตก เป็นต้น ก่อนจุ่มทำหัวไม้ขีดจะต้องเอาปลายก้านไม้ขีดที่จะติดหัวนั้นไปจุ่มขี้ผึ้งพาราฟินก่อน หากเนื้อไม้แข็งเกินไปก็จะไม่ดูดซึมพาราฟิน พาราฟินจะเป็นตัวส่งผ่านจากหัวไม้ขีดไปสู่ก้านไม้ขีด หากไม่มีพาราฟิน เมื่อไฟติดก็จะดับในทันที และหากเนื้อของไม้อ่อนจนเกินไปก้านไม้ขีดก็จะไม่คงรูปเป็นก้านตรงได้
ภาพไม้ขีดไฟจากสวีเดนในยุคแรกประวัติไม้ขีดไฟในสยาม
ไม้ขีดไฟแพร่หลายเข้ามาในสยามเมื่อ กลางสมัย ร. 4 แต่เป็นไม้ขีดไฟของประเทศสวีเดน โดยพวกบาทหลวงที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาเป็นผู้นำเข้ามาใช้ก่อน (เอ แต่สวีเดนเป็นโปรเตสแตนท์นะ สงสัยจะเป็นพวกศาสนาจารย์ หรือพวกมิชชันนารีเผยแพร่ศาสนาเสียมากกว่า ) ไม้ขีดไฟยุคแรกๆ ที่เข้ามาขายในเมืองไทยนั้นส่วนใหญ่จะเป็นของสวีเดนและญี่ปุ่น แต่ของญี่ปุ่นนั้นมีตราต่างๆ จำนวนมากมายหลายพันแบบ ภาพวาดบนฉลากไม้ขีดไฟนี้เป็นรูปต่างๆ สารพัดมีทั้งรูปสัตว์ รูปคน รูปผลไม้ รูปดอกไม้ ซึ่งการสะสมหน้าไม้ขีดไฟ (ฉลากไม้ขีดไฟนักสะสมมักจะเรียกว่า หน้าไม้ขีดไฟ) ก็มีมาตั้งแต่สมัย ร. 5 นักสะสมสามารถเก็บรวบรวมหน้าไม้ขีดไฟจากญี่ปุ่นได้มากมายหลายร้อยชุด โดยนิยมเก็บหน้าไม้ขีดไฟไว้ในสมุดบัญชีเล่มใหญ่ๆ โดยปิดกาว หรือเจาะกระดาษสำหรับสอดมุมหน้าไม้ขีดเข้าไปได้ หน้าไม้ขีดไฟที่สำคัญจากญี่ปุ่นคือ ภาพวาดของรัชกาลที่ 5 ทรงม้า ในหลายๆ แบบมีสีและลวดลายต่างๆ กัน รูปหนึ่งเขียนเป็นภาษาไทยใต้รูปว่า "พระรบ" อันนี้เขียน ป.ปลา เป็น บ.ใบไม้ และตกสระอูไปตัวหนึ่ง ญี่ปุ่นคงเผลอลืม หรือไม่ก็เพราะไม่รู้ภาษาจริงๆ รูปหนึ่งมีทหารยืนถือธงช้างอยู่ข้างพระองค์ด้วย นอกจากนี้ยังมีรูปช้างสองเชือกหันหน้าเข้าหาพระจุลมงกุฎ หรือพระเกี้ยว อันเป็นตราประจำพระองค์ของ ร.5 และยังมีรูปอื่นๆ ที่สื่อถึงความเป็นไทยอีกหลายรูปด้วย ในยุคหลัง ช่วงสมัยรัชกาลที่ 7 คนไทยสามารถผลิตไม้ขีดไฟขายกันเองได้ ซึ่งก็อาจทำให้การนำเข้าไม้ขีดไฟจากญี่ปุ่นค่อยๆ ลดลงจนหมดไปในที่สุด โรงงานไม้ขีดไฟของเมืองไทยในยุคต้นๆ ได้แก่ บริษัทมิ่นแซจำกัด ผลิตตราคนสู้เสือ ตรานกแก้ว บริษัทตังอาจำกัด ผลิตตรามิกกี้เม้าท์ ตราแมวเฟลิกซ์ บริษัทไทยไฟ ผลิตตรา 24 มิถุนา เป็นรูปพระที่นั่งอนันตสมาคม คงจะเป็นที่ระลึกในการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยในสมัยร.7 บริษัทเอเซียไม้ขีดไฟจำกัด ผลิตชุด ก.ไก่ ข.ไข่ บริษัทสยามแมตซ์แฟ็กตอรี่ ภายหลังเปลี่ยนมาเป็นบริษัทไม้ขีดไฟไทย ผลิตตราธงไตรรงค์ ตราพระยานาค ในยุคนั้นไม้ขีดไฟยังถูกใช้เป็นสื่อโฆษณาสินค้า และห้างร้านต่างๆ อีกด้วย หน้าไม้ขีดไฟที่คาดว่าจะเก่าแก่ที่สุด คือของห้าง เอ.มากวลด์ แอนด์ กมปนี หรือที่คนไทยในยุคนั้นเรียกกันว่า "ห้างมากัว" เป็นบริษัทค้าข้าว ทำกิจการโรงสี หน้าไม้ขีดไฟนี้อาจพิมพ์ตั้งแต่ราวปี พ. ศ .2411เพราะห้างนี้ตั้งมาตั้งแต่สมัย ร.4 เลิกกิจการไปเมื่อใดไม่ทราบแน่ชัด
ภาพไม้ขีดไฟในสมัยร. 5
ขอขอบพระคุณรูปภาพและข้อมูลจาก
en.wikipedia.org
http://anny29.multiply.com/journal/item/13kon-mee-klass.blogpost.com
th.wikipedia.org
ภาพไม้ขีดไฟไทยในยุคแรกภาพไม้ขีดไฟไทยเก่าแก่ที่สุดคลิป MV เพลงไม้ขีดไฟ (ไม่เกี่ยวเลย)