มะเขือเทศเป็นผักหรือผลไม้??? นักชีววิทยาบอกว่ามะเขือเทศคือผลไม้ แต่ทว่าคำวินิจฉัยของศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1893 ได้จัดให้มะเขือเทศเป็นผัก เนื่องจากว่ามีไว้เสิร์ฟและรับประทานกับผักชนิดอื่นๆเทศกาลปามะเขือเทศในสเปนประวัติศาสตร์มะเขือเทศสากล มะเขือเทศมีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกา ในปี ค.ศ. 1519 เมื่อกองทัพสเปนนำโดย เฮาร์นาน คอร์เตส์ (Hernan Cortes) บุกยึดอาณาจักรเม็กซิโกของชาวพื้นเมืองเอซเทค (Aztecs) เป็นอาณานิคมของ และประกาศเป็นประเทศสเปนใหม่ ทหารสเปนผู้รุกรานก็ได้พบชาวเอซเทคปลูกมะเขือเทศพันธุ์ต่างๆ เดิมทีชาวเอซเทคเรียกมะเขือเทศว่า tomat ชาวสเปนเรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า tomate แต่เดิมมะเขือเทศมีผลสีเหลือง แต่ทว่าต่อมาก็ปรากฏพันธุ์สีแดงเกิดขึ้น ต่อมาได้ถูกนำไปปลูกตามที่ต่างๆ เช่น ทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชียทวีปยุโรป แต่สำหรับชาวยุโรปในอดีตแล้ว เรียกมันว่า "แอปเปิลแห่งความรัก" หรือ “แอปเปิลทองคำ” (เรียกแอปเปิลทองคำเพราะช่วงแรกๆ พบเป็นสีเหลือง) โดยเข้าใจว่ามันช่วยให้คนมีอารมณ์พิศวาสและคิดว่าแอปเปิลเป็นพืชที่มีผลเป็นพิษ แต่ความจริงแล้วมะเขือเทศไม่ได้มีสารพิษหรือเป็นตัวปลุกอารมณ์ทางเพศแต่อย่างใด ตลอดเวลาที่มีการค้นพบมะเขือเทศและถูกเผยแพร่ไปยังทวีปยุโรป มะเขือเทศได้ถูกนำมาปลูกเป็นไม้ประดับในสวนอยู่นานร่วม 200 ปี โดยไม่มีใครกล้านำมันมากินเลย นอกจากว่าพวกคนจนที่ไม่มีอะไรทานเลย จนกระทั่งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีนักวาดภาพชาวฝรั่งเศส ผู้หนึ่งนึกอยากลองลิ้มรสชาติของมะเขือเทศ เขาคิดอยู่ในใจว่า “ผลไม้ที่สวยงามเช่นนี้ ลักษณะก็สวยดี ว่าตามเหตุแล้ว คงจะน่ากินไม่น้อย” เขาจึงตัดสินใจลองทานมะเขือเทศดู หลังจากที่ท่านไปแล้วก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ประชาชนทั่วไปก็เริ่มทานมะเขือเทศกันบ้าง มะเขือเทศเลยกลายเป็นอาหารในครัวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และในปี ค.ศ.1811 ก็มีการบันทึกลงในพจนานุกรมทางพฤกษศาสตร์ เป็นครั้งแรก เทศกาลปามะเขือเทศในเกมฮาร์เวสมูน Back to natureประวัติศาสตร์มะเขือเทศในทวีปเอเชีย มะเขือเทศเข้ามาในทวีปเอเชียตั้งแต่เมื่อใด นั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากหลักฐานยืนยันในประเทศอินเดีย ชี้ให้เห็นว่าอังกฤษนำมะเขือเทศเข้ามาในอินเดียราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่ตอนนั้นไม่เป็นที่นิยมทานกัน แม้เมื่อประมาณร้อยปีที่ผ่านมา ชาวยุโรปก็ยังบันทึกว่ามะเขือเทศที่ปลูกในอินเดียมีไว้ให้ชาวตะวันตกทานกันเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ชาวอินเดียบางส่วนโดยเฉพาะชาวเบงกอล และชาวพม่าที่อยู่ในแดนติดต่อกัน ได้เริ่มใช้มะเขือเทศเพื่อปรุงรสเปรี้ยวในแกง และอาหารบางชนิด ในประเทศจีนก็มีการนำมะเขือเทศเข้ามาในประเทศจีนนานมาแล้ว แต่เพิ่งเริ่มมีบทบาทบ้างในครัวจีนตอนใต้ราว 100 ปีที่ผ่านมา ชาวฟิลิปปินส์ ใช้มะเขือเทศให้รสชาติอาหารมีรสเปรี้ยว ซึ่งชาวฟิลิปปินส์คงได้รับมะเขือมาปลูกโดยชาวสเปน ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมของฟิลิปปินส์ในสมัยก่อนภาพมะเขือเทศหลากสีประวัติศาสตร์มะเขือเทศในสยาม สำหรับทางสยาม มะเขือเทศคงจะเข้ามาพร้อมกับชาวยุโรป ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ช่วงเวลาเดียวกันกับที่ชาวยุโรปนำพริกเข้ามา แต่ถ้าเทียบกับพริกแล้ว มะเขือเทศมีบทบาทน้อยมากในครัวสยาม อาหารของชาวสยามที่ใช้มะเขือเทศเป็นเครื่องประกอบหรือเครื่องปรุงหลักมีเพียงไม่กี่ชนิด และจำกัดเฉพาะในครัวทางภาคเหนือและทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มะเขือเทศที่ใช้ในอาหารท้องถิ่นเหล่านี้ก็เป็นพันธุ์เก่า ทางเหนือเรียกว่า มะเขือส้ม ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า มะเขือเครือ หรือมะเขือน้อย จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ ในปี พ.ศ.2416 กล่าวว่า มะเขือเทศเป็นชื่อมะเขือเขาเอาพันธุ์มาแต่เมืองเทศ ปลูกไว้ในเมืองไทย จึงเรียกมะเขือเทศ แม้จะมีมะเขือเทศปลูกในสยามมาแล้วถึง 125 ปี แต่หลักฐานก็มิได้แสดงว่าในเวลานี้มีการปลูกและใช้มะเขือเทศอย่างแพร่หลายแล้วในสยาม มะเขือเทศมีบทบาทในวิธีการกินของชาวสยามเมื่อไม่นานมานี้เอง อย่างมากไม่เกิน 100 ปี (ง่ายๆ คือ คำว่ามะเขือเทศหมายถึงว่ามะเขือที่นำมาจากต่างประเทศนั่นเอง)ภาพดอกมะเขือเทศสรรพคุณ- มะเขือเทศมีสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ดังนั้นจึงใช้เป็นยารักษาโรคที่เกี่ยวกับปากที่เกิดจากเชื้อราได้
- มะเขือเทศมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ คือ ไลโคปีน ที่มีคุณสมบัติสามารถลดการเกิดมะเร็งลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมากได้ หากทานมะเขือเทศ 10 ครั้ง/สัปดาห์ จะช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชายได้ถึง 45% นอกจากนี้มะเขือเทศยังมีเบต้าแคโรทีน และฟอสฟอรัสมาก ที่มะเขือเทศมีรสชาติอร่อยนั้น เพราะมีกรดอะมิโนที่ชื่อกลูตามิคสูง กรดอะมิโนนี้เองเป็นตัวเพิ่มรสชาติให้อาหาร ทั้งยังเป็นกรดอะมิโนตัวเดียวกับที่อยู่ในผงชูรสด้วย
- รักษาสิว สมานผิวหน้าให้เต่งตึง โดยใช้น้ำมะเขือเทศพอกหน้า หรืออาจจะมะเขือเทศสุกฝานบาง ๆ แปะบนใบหน้า จะช่วยให้ผิวหน้าอ่อนนุ่ม ในผลมะเขือเทศมีสารจำพวก แคโรทีนอยด์ ชื่อไลโคพีน (Lycopene) ซึ่งเป็นสารสีแดง และวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินเค โดยเฉพาะวิตามินเอ และวิตามินซี มีในปริมาณสูง มีกลดมาลิค กรดซิตริก ซึ่งให้รสเปรี้ยว และมีกลูตามิค (Glutamic) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหาร นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารเบต้าแคโรทีน และแร่ธาตุหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เป็นต้น มะเขือเทศมีสรรพคุณทางยาค่อนข้างสูง เพราะมะเขือเทศมี วิตามินพี (citrin) ซึ่งจะช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด มะเขือเทศยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะจึงสามารถแก้อาการความดันโลหิตสูง มะเขือเทศมีวิตามินเอจึงสามารถรักษาโรคตาได้ ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือมีวิตามินซีมากทำให้สามารถป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด ช่วยระบบการย่อยและช่วยการขับถ่ายอุจจาระอีกด้วย ช่วยบำรุงผิวลดริ้วรอย ผิวพรรณไม่แห้งกร้าน ระบบการหมุนเวียนเลือดดีขึ้น และยังสามารถต้านมะเร็งได้ด้วย
ขอขอบพระคุณข้อมูลและรูปภาพจากes.wikipedia.org
iam.hunsa.com
www.dek-d.comwww.doctor.or.thwww.flickr.comwww.youtube.com