ประวัติยางพาราสากล ต้นยางพาราเป็นต้นไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำอะเมซอน ประเทศบราซิล และเปรู ทวีปอเมริกาใต้ โดยชาวพื้นเมืองเรียกว่า คาอุท์ชุค (Caoutchouc) แปลว่าต้นไม้ร้องไห้ จนถึงปี พ.ศ. 2313 (1770) โจเซฟ พริสลี่ จึงพบว่า ยางสามารถนำมาลบรอยดำของดินสอได้ จึงเรียกว่าว่า ยางลบหรือตัวลบ (Rubber) ซึ่งเป็นศัพท์ใช้ในอังกฤษและฮอลแลนด์เท่านั้น ในอเมริกาใต้มีศูนย์กลางของการซื้อขายยางก็อยู่ที่เมืองท่าชื่อ พารา (Para) จึงมีชื่อเรียกว่า ยางพารา
ภาพพระยารัษฏานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี หรือ คอซิมบี้ ณ ระนองประวัติยางพาราในสยาม การปลูกยางในสยามไม่มีการบันทึกเป็นหลักฐานที่แน่นอน แต่คาดว่าน่าจะเริ่มมีการปลูกในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2442-2444 ซึ่งพระยารัษฏานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี หรือ คอซิมบี้ ณ ระนอง เป็นชาวจีนฮกเกี้ยนเลยชื่อคอซิมบี้) เจ้าเมืองตรังในขณะนั้น ได้นำเมล็ดยางพารามาปลูกที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นครั้งแรก ซึ่งชาวบ้านเรียกต้นยางชุดแรกนี้ว่า "ต้นยางเทศา" และต่อมาได้มีการขยายพันธ์ยางมาปลูกในบริเวณจังหวัดตรัง และนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2454 ได้มีการนำพันธุ์ยางมาปลูกในจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยหลวงราชไมตรี หรือ ปูม ปุณศรี เป็นผู้นำพันธุ์ยางมาปลูก และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้มีการขยายพันธุ์ปลูกยางพารา ไปทั่วทั้ง 14 จังหวัด ในภาคใต้ และ 3 จังหวัดในภาคตะวันออก นอกจากนี้ยังมีการขยายพันธุ์ยางมาปลูกในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา ยางพาราก็กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอันดับ 1 ของไทย (รองลงมาที่ 2 คือข้าว ข้อมูลนี้ จขกท เคยเรียนมาไม่รู้จะอ้างอิงไงดี)
ระบำกรีดยางระบำกรีดยางเป็นการแสดงของชาวภาคใต้ ดัดแปลงมาจากการทำสวนยาง ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวปักษ์ใต้ ท่ารำเริ่มจากากรออกไปกรีดยาง ฝ่ายชายจะมีไฟฉายติดอยู่บนศีรษะ และถือมีดสำหรับกรีดยาง การที่ต้องมีไฟฉายเพราะออกไปกรีดยางตอนดึก พอรุ่งเช้าก็ออกไปเก็บยาง ต่อจากนั้นก็นำน้ำยางไปผสมกับน้ำยา แล้วกวนจนน้ำยางแข็งตัว จึงนำไปนวด และรีดเป็นแผ่น แล้วนำออกตากแดด จนถึงการเก็บแผ่นยาง
คำขวัญจังหวัดตรัง
เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา
ขอขอบพระคุณรุปภาพและข้อมูลจากth.wikipedia.org
www.oknation.netwww.thaidances.comwww.youtube.com