วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนล้านนาอิทธิพลพม่า

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนล้านนาอิทธิพลพม่า Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนล้านนาอิทธิพลพม่า   ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนล้านนาอิทธิพลพม่า EmptySat Dec 29, 2012 11:03 am


ประวัติฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา
ม่านในภาษาล้านนาหมายถึงพม่า ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตาเป็นศิลปการฟ้อนแบบราชสำนัก มีกลีลาท่าทางเลียนแบบหรือดัดแปลงมาจากธรรมชาติ ช่วงหลังปี พ.ศ.2457 เป็นต้นมา การฟ้อนในล้านนาเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นด้วยเหตุที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้กราบบังคมทูลลาพระบาทสมเด็จพระมงกุลเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 กลับมาประทับ ณ นครเชียงใหม่ ในการเสด็จกลับมาครั้งนี้ พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้นำแบบอย่างการฟ้อนรำในราชสำนักสยามมาเผยแพร่ในนครเชียงใหม่ พร้อมทั้งนำครูละครดนตรีจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาฝึกหัดถ่ายทอดให้กับตัวละครในวังของท่านและคุ้มเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่และเป็นเหตุให้การฟ้อนในเชียงใหม่เกิดการแตกต่างขึ้นเป็น 2 แบบคือ แบบที่ 1. เป็นแบบที่มีมาแต่เดิม เรียกทางวิชาการว่า "แบบพื้นเมืองหรือแบบดั้งเดิม" แบบที่ 2. เป็นแบบที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เรียกทางวิชาการว่า แบบราชสำนัก ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา เป็นกระบวนฟ้อนที่เกิดขึ้นจากพระดำริของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีที่ทรงตั้งพระทัยจะให้เป็นการฟ้อนที่แปลกไปจากการฟ้อนที่เคยมีอยู่ ดังนั้นจึงรับสั่งให้หาตัวระบำของพม่ามารำถวาย โดยทรงคิดว่า ถ้าท่ารำของพม่าสวยงามเหมาะสมก็จะดัดแปลงและนำมาผสมกับท่ารำของไทย เป็นรำพม่าแปลงสักชุดหนึ่ง จึงได้นักแสดงชายชาวพม่าและนักแสดงหญิงชาวมอญ ชื่อเม้ยเจ่งตา มารำถวายทอดพระเนตร จึงทรงรับไว้เป็นครูฝึกอยู่ระยะหนึ่ง การถ่านทอดแต่ละครั้งพระราชชายาเจ้าดารารัศมีจะเสด็จมาควบคุมอย่างใกล้ชิดและทรงเห็นว่าท่ารำของผู้ชายไม่ค่อยน่าดูมากนัก จึงรับสั่งให้ครูฝึกผู้หญิงแสดงท่ารำของระบำพม่าที่เคยแสดงในที่รโหฐานของกษัตริย์พม่าให้ทอดพระเนตร ซึ่งทรงพอพระทัยมากจึงทรงดัดแปลงท่าฟ้อนร่วมกับครูฟ้อนชาวพม่า ชื่อสล่าโมโหย่ หรือโกโมโหย่ (เจ้าอินทนนท์ราชบุตรของเจ้าแก้วนวรัฐเรียก ปู่ชะโหย่) กลายเป็นระบำหรือฟ้อนชุดใหม่ ทรงให้ผู้ฟ้อนทั้งหมดแต่งกายเป็นกำเบ้อ หรือ ผีเสื้อ สวมใส่เสื้อผ้าถุง ติดปีกแบบนก ติดหนวดที่ศรีษะแบบผีเสื้อเป็นสีน้ำเงินให้เป็นการฟ้อนเลียนแบบพม่า เรียกว่า "เหว่ยเสี่ยนต่า" หรือ "เหว่ยเสี่ยนต่านานโบ่ง" แบบของการฟ้อนนี้มาจากราชสำนักพม่า โดยใช้เพลง "เหว่ยเสี่ยนต่า" ประกอบการฟ้อน เรียกกันแต่แรกว่า "ฟ้อนกำเบ้อ" (ผีเสื้อ) แสดงครั้งแรกในงานฉลองพระตำหนักของพระองค์ ที่สร้างขึ้นใหม่บนดอยสุเทพและจะใช้วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่บรรเลงประกอบการฟ้อนเมื่อคราพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จเลียบมณฑลพายัพและได้เสด็จมาเสวยพระกระยาหารค่ำ พระราชชายาฯจึงได้จัดฟ้อนชุดนี้แสดงให้ ทอดพระเนตร แต่ทรงเปลี่ยนเครื่องแบบจากชุดผีเสื้อ มาเป็นระบำในที่รโหฐาน ตามคำบอกเล่าเดิมจึงได้กลายเป็น "ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา" เมื่อปี พ.ศ. 2469 นี้เองหลังจากการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการแต่งตัวของผู้ฟ้อนเกิดขึ้นทำให้กลายเป็น 2 แบบ คือ แบบที่ 1. ผู้แสดงทั้งหมดเป็นสตรีล้วน แต่งกายแบบพม่าคือนุ่งผ้าถุงแบบพม่ายาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนยาวชายเสื้อสั้นแค่เอวเล็กน้อยมีผ้าแพรสีต่างๆ คล้องคอ ชายผ้ายาวถึงระดับเข่า เกล้าผมมวยกลางศรีษะปล่อยชายลงมาข้างแก้ม มีดอกไม้สดประดับมวยผมและมีอุบะห้อยลงมากับชายผมแบบที่ 2. ผู้แสดงแต่งกายเป็นชายพม่าแถวหนึ่ง สตรีพม่าแถวหนึ่ง หม่อมแส หัวหน้าครูฝึกได้ทูลถามว่า ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตานี้ จะใช้การแต่งกายชาวแถวหนึ่ง หญิงแถวหนึ่งจะสมควรไหม ทรงมีรับสั่งตอบว่า "...เราซ้อมตามแบบอย่างระบำในที่รโหฐานของเขาก็ต้องรักษาระเบียบประเพณีของเขาไว้ ระบำชุดนี้ต้องใช้หญิงล้วนตามธรรมเนียม หากว่าท่ารำซ้ำกันจะตัดออกเสียบ้างก็ดีจะได้ไม่เบื่อตา การรักษาประเพณีเดิมเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าอยากใช้การแต่งกายเป็นพม่าชายบ้าง ก็ดัดแปลงเป็น "ม่านเม่เล้" เป็นชายแถวหนึ่ง หญิงแถวหนึ่งก็ได้ "เพลงที่ใช้บรรเลงมีสำเนียงแบบพม่า จึงเรียกกันว่า "เพลงม่าน" แต่ชาวพม่าเรียกเพลงนี้ว่า "เพลงโยเดีย" (ไทยอยุธยา) และไม่สามารถสืบหาความเป็นมาของเพลงได้คำร้องของเพลงประกอบการฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา จะเป็นสำเนียงพม่า แต่ชาวพม่าบอกว่าไม่ใช่ภาษาพม่า มอญก็บอกว่าไม่ใช่ภาษามอญ สันนิษฐานว่าเดิมคงเป็นภาษาพม่า แต่จากการรับช่วงสืบต่อกันมาหลายทอด จึงทำให้อักขระวิบัติ กลายรูปจนเจ้าของภาษาดั้งเดิมฟังไม่เข้าใจอาจเป็นได้ความสวยงามของท่ารำและเพลงร้องของฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตานี้ นับได้ว่าเป็นกระบวนการผสมผสานและประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแบบการฟ้อนในราชสำนักของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี

อันนี้ฟ้อนแบบพม่า
แน่นอนว่าที่จริงแล้วพม่ารับอิทธิพลนาฏศิลป์มาจากไทย


ขอขอบพระคุณรุปภาพประกอบและข้อมูลจาก
www.baanmaha.com
www.youtube.com



ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนล้านนาอิทธิพลพม่า
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: ดนตรี-นาฏศิลป์ไทยอิทธิพลจากต่างแดน-
ไปที่: