ประวัติขนุนขนุนถิ่นกำเนิดของขนุนอยู่ที่ประเทศอินเดีย จากนั้นได้แพร่หลายไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยการค้าขายที่ติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้ากันในแถบนี้ ขนุนได้รับควานิยมอย่างมากโดยเฉพาะทางแหลมมลายู ภาษาอังกฤษได้เรียกขนุนว่า แจ็กฟรุต (jack fruit) คำว่า jack มาจากคำว่า จากา ( jaka) เป็นภาษาโปรตุเกส ซึ่งก็เพี้ยนมากคำพื้นเมืองมลายู คือคำว่า จัคคา (Chakka) แปลว่า กลม อีกที่หนึ่ง คำว่า แจ๊กฟรุตนี้ เริ่มปรากฎครั้งแรกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ส่วนการนำขนุนเข้ามาในเมืองสยามนั้น ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าใครมีการนำเข้าปลูกขนุนมาตั้งแต่เมื่อไร แต่มีหลักฐานจากศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงกล่าวถึงขนุนไว้ว่า
"ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้”คำว่า "ลาง" เป็นภาษาไทใหญ่ หมายถึง "ขนุน"
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการกล่าวถึงขนุนในจดหมายเหตุเดอลาลูแบร์ และมีการปรากฎในจดหมายเหตุของวิละภาเคทะระ เรื่อง "คณะฑูตลังกามาประเทศสยาม" ว่าชาวสยามได้มีสิ่งของต้อนรับ หนึ่งในนั้นมีขนุน 11 ผลด้วย ชาวนิยมปลูกขนุนไว้ตามบ้าน เพราะเชื่อว่า "ขนุน" เป็นนามมงคล ปลูกไว้ในบ้านไหนก็จะให้ความเป็นสิริมงคลทำให้บ้านนั้นได้รับการเกื้อกูล หนุนเนื่องให้รุ่งเรืองในชีวิตและอาชีพการงาน
ประโยชน์ของขนุนขนุนเป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื้อขนุนสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้ และใช้ทำขนมได้หลายชนิด เช่น ใส่ในไอศกรีม ลอดช่องสิงคโปร์ รวมมิตร กินกับข้าวเหนียวมูน หรือนำไปอบแห้ง ใช้กินเป็นของว่าง ขนุนอ่อนนำมาปรุงอาหารใช้เป็นผัก เช่นใส่ในแกง ยำ ส้มตำ เมล็ดนำมาต้มหรือต้ม รับประทานได้ แก่นไม้ใช้ย้อมสีจีวรของพระภิกษุ เนื้อไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องดนตรี
(ภาพดอกขนุน)ขอบคุณข้อมูลจากnavithaifruit.blogspot.com
www.vcharkarn.com