ประวัติกระเทียมแรกมีถิ่นกำเนิด ในเอเชียตะวันตกวันตก เอเชียกลาง หรือแถวตะวันตกเฉียงใต้ของไซบีเรีย ที่ปัจจุบัน คือสาธารณรัฐกิซสกายาโซเวียตที่ต่อแดนกับประเทศจีนทางตะวันตก ด้านมณฑลซินเจียง แต่บางคนก็พูดกว้างๆ ว่าเป็นอาณาบริเวณเอเชียตะวันตกในโซเวียตรัสเซียเดิม ไล่ลงมาถึงตอนเหนือของอิหร่านปัจจุบัน เชื่อกันว่ากระเทียมมีมานานกว่า 6,000 ปีแล้วในเขตนี้ จากนั้นอีกราวหนึ่งพันปีต่อมา ชนเผ่าที่ชอบอพยพเคลื่อนย้ายได้นำพากระเทียมผ่านเอเชียไมเนอร์ สู่เมโสโปเตเมียและอียิปต์ จากอียิปต์ซึ่งเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมกระเทียมสมัยนั้น กระเทียมผ่านไปทางตะวันออกสู่เอเชีย และตะวันตกสู่ยุโรปจนปัจจุบัน กระเทียมได้แพร่กระจายไปทั่วโลก และนักโบราณคดีค้นพบกระเทียมถูกฝังอยู่ในหลุมฝังศพอายุประมาณ 5,5oo ปีมาแล้ว
ในอียิปต์โบราณ ปรากฎมีการกินกระเทียมแพร่หลายตั้งแต่ประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว มีหลักฐานว่าทาสที่สร้างปีระมิดกินกระเทียมเป็นอาหารหลักอย่างหนึ่ง รวมทั้งนักกีฬาของอียิปต์ที่ต้องใช้แรงมากๆ เช่น ยกนํ้าหนัก วิ่งมาราธอน ว่ายน้ำข้ามคลอง ล้วนใช้กระเทียมเป็นยาชูกำลังทั้งสิ้น ชาวอียิปต์บูชากระเทียมเป็นพระเจ้า ที่หลุมฝังศพโบราณของกษัตริย์ก็ยังพบซากหินเป็นหัวหรือกลีบกระเทียม
จากอียิปต์กระเทียมแพร่หลายไปทั่วเอเชียกลาง รวมทั้งอาณาจักรกรีกและโรมัน กรีกโบราณใช้กระเทียมเป็นอาหารอย่างแพร่หลาย การแพทย์กรีกรวมทั้งสำนักของฮิบโปรเครติส ได้ใช้กระเทียมเป็นสมุนไพรป้องกันและ รักษาโรคอย่างกว้างขวาง เชื่อกันว่าในอดีตนักกรีฑาชาวกรีกมีการใช้ กระเทียมกระตุ้นกำลังในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก รวมทั้งยามมีสงคราม ทหารกรีกจะกินกระเทียมเพื่อสร้างความมั่นใจในการสู้รบ
ในยุคโรมัน ใช้กระเทียมเลี้ยงทหาร และเชื่อกันว่าหากให้ทหารกิน กระเทียมจะช่วยเพิ่มพละกำลังทำให้มีสุขภาพดีขึ้น เมื่อทำสงครามแผ่อำนาจ ไปเหนือดินแดนยุโรปส่วนไหน ก็ปลูกกระเทียมไว้ที่นั่น ทำให้กระเทียมแพร่ หลายไปทั่วยุโรปในสมัยโรมันนี่เอง ต่อมาในยุคกลาง กระเทียมก็ยังเป็นที่นิยมของชาวตะวันตกอยู่
ในประเทศจีน หลักฐานด้านหนึ่งบอกว่ากระเทียมแพร่เข้ามาตามเส้น ทางการค้าผ่านเอเชียกลางและอินเดียเข้ามาในสมัยราชวงศ์ฮั่นประมาณ 130 ปีก่อนคริสต์กาล แล้วมาผสมกับพันธุ์กระเทียมป่าที่มีอยู่แล้ว แต่หลักฐานอีก ด้านหนึ่งบอกว่าจีนรู้จักใช้กระเทียมตั้งแต่ราว 2,000 ปีก่อนคริสต์กาลในสมัยจักรพรรดิฮ่วงตี่แล้ว จุดเด่นของการใช้กระเทียมในจีนโบราณ ก็คือใช้เป็นเครื่องเทศคลุกเคล้ากับเนื้อสัตว์ ซึ่งช่วยดับกลิ่นเนื้อและรักษาอาหารไม่ให้บูดเสียไปได้หลายเพลา อีกทั้งยังถือว่ากระเทียมเป็นยาและใช้รักษาโรคหลายอย่าง รวมถึงการใช้กระเทียมเป็น “กระสายยา” เข้ายาสมุนไพร
ในอินเดีย มีหลักฐานแสดงว่ามีการปลูกกระเทียมกันตั้งแต่สมัยอารยัน อารยธรรมลุ่มนํ้าสินธุเมื่อกว่า 3,000 ปีมาแล้ว แต่ที่นี่กระเทียมกลับไม่ได้รับ การต้อนรับด้วยดีเหมือนอย่างในจีน สังคมอินเดีย โดยเฉพาะพวกพราหมณ์ รังเกียจเดียดฉันท์กลิ่นกระเทียมอย่างมาก ทำให้กระเทียมไม่เป็นที่นิยมนักใน หมู่ประชาชน
ภาพต้นกระเทียมการเข้ามาของกระเทียมในสยามเชื่อว่าจากจีน กระเทียมได้กระจายสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และส่วน อื่น ๆ ของภูมิภาค โดยผ่านการติดต่อค้าขายและการอพยพของผู้คนเป็นสำคัญ แต่ไม่อาจบอกได้เฉพาะเจาะจงว่าเข้ามาในดินแดนใด เมื่อไรและอย่างไร เช่น ในกรณีของไทยเรา มีผู้สันนิษฐานว่าพ่อค้าจีนเป็นผู้นำกระเทียมเข้ามาเผยแพร่ตั้งแต่สมัยสุโขทัย บางท่านก็บอกว่าเป็นสมัยอยุธยา แต่นี่ก็ยังขาดหลักฐานสนับสนุนโดยตรง อันที่จริงหากคำนึงว่ากระเทียมเป็นพืชเก่าแก่และมีการเผยแพร่ในวงกว้างนานมาแล้ว ก็น่าที่ในดินแดนแถวสุวรรณภูมินี้จะมี กระเทียมมาก่อนหน้าแล้ว แต่มีปรากฏหลักฐานเก่าแก่สุดในจดหมายเหตุเดอลาลูแบร์ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปัจจุบัน กระเทียมได้กลายเป็นพืชพื้นบ้านอย่างหนึ่งของสยามไปอย่างสมบูรณ์ เพราะมีสายพันธุ์กระเทียมที่เกิดในท้องถิ่นและมีภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับ กระเทียมนั่นเอง
ประโยชน์ของกระเทียมมีสารที่ช่วยต้านมะเร็งได้ สามารถป้องกันโรคหัวใจ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
ขอขอบพระคุณรูปภาพและข้อมูลจากหนังสือจดหมายเหตุเดอลาลูแบร์
www.doctor.or.thwww.kapook.comwww.panyathai.or.thwww.school.net.thภาพดอกกระเทียม