ประวัติเสื้อราชปะแตนเกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.5 พระองค์ทรงมีพระราชดำริออกแบบขึ้น เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินประพาส อินเดียและพม่า พ.ศ. 2414 เป็นเวลา 4 เดือน (สมัยนั้นพม่าเป็นส่วนหนึ่งของอินเดียเพราะพม่าเป็นเมืองขึ้นงของอังกฤษ และอังกฤษในรวมให้พม่าเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย) เดิมเมื่อเสด็จประพาส สิงคโปร์ และชวา (เกาะทางอินโดนีเซีย) ในปี พ.ศ. 2413 โปรดเกล้าฯ ปรับปรุงเครื่องแต่งกาย ของข้าราชสำนักที่ตามเสด็จฯ โดยโปรดฯ ให้นุ่งผ้าดังเดิม ทว่าสวมถุงน่องรองเท้าอย่างชาติตะวันตก และให้สวมเสื้อชั้นนอกคอ แบะผูกผ้าผูกคอแบบตะวันตก เมื่อเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2415 เสด็จประพาสอินเดีย ซึ่งสมัยนั้นเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ผู้ตามเสด็จแต่งเครื่องแบบเสื้อฝรั่ง เวลาปกติก็เปิดอกผูกเน็คไท แต่นุ่งโจงกระเบนไม่นุ่งกางเกงแบบฝรั่ง ที่เมืองกัลกัตตา มีช่างฝีมือดี โปรดให้ตัดเสื้อใส่เล่นแบบปิดตั้งแต่คอ มีดุมกลัดตลอด เพื่อไม่ต้องผูกเน็คไท เมื่อเสร็จแล้ว ก็พอพระราชหฤทัย เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ขณะนั้น เป็นจมื่นศรีสรรักษ์ ราชเลขานุการ ก็ทูลถวายชื่อโดยเอาคำมคธว่า “ราช” ผสมกับคำอังกฤษ “Pattern” หมายความว่าแบบหลวง อ่านว่า “ราชแพทเทิร์น” ต่อมาจึงเพี้ยนเป็นราชปะแตนไป ต่อมาได้เป็นเสมือนเครื่องแบบของข้าราชการพลเรือนไป โดยส่วนมากสวมกับผ้านุ่งโจงสีกรมท่า
ราชปะแตนไม่ได้ลอกฝรั่งไปเสียหมด รูปแบบที่ ร.5 ทรงกำหนดนี้แบบตัดเย็บใช้วิธีการและสไตล์ของตะวันตกจริง แต่รูปแบบที่ทรงกำหนดขึ้นเพื่อให้เหมาะกับภูมิอากาศร้อนของไทย คือใส่เสื้อราชปะแตนตัวเดียวพอ ไม่ต้องมีเสื้อตัวในและไม่ต้องผูกไทแบบชุดสูทสากลของตะวันตก เพราะตัวเสื้อมีคอปกตั้งอยู่แล้ว กลัดกระดุมเรียบร้อยตลอดอยู่แล้ว รูปแบบนี้เป็นของไทยแท้ๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อปรับตัวให้รับกับธรรมเนียมการสวมเสื้อเพื่อแสดงความสุภาพในการออกงานแบบสากล คนไทยคิด ออกแบบ ซึ่งที่จริงสมัยก่อนชุดแขนยาวคอตั้งแบบนี้ ในราชสำนักหรือขุนนางไทยก็มีใส่มาก่อนอยู่แล้ว ไปคล้ายกับชุดคอตั้งของฝรั่งโดยบังเอิญ (ก็รูปแบบคอเสื้อของชุดสมัยก่อนจะมีสักกี่แบบกัน)
ผ้านุ่งโจงนั้นเรียกกันสั้นๆว่า ผ้าม่วง หากมิใช่นุ่งไปทำงาน ก็นุ่ง ผ้าม่วง สีสันต่างๆ กับเสื้อราชปะแตน ซึ่งบางทีตัดด้วยแพรบ้าง ผ้าลายบ้าง ต่อมาไม่สวมแต่เฉพาะกับผ้าม่วง หากแต่สวมกับกางเกงแพรด้วย เสื้อราชปะแตนเป็นที่นิยมอยู่นาน จนยุคต้นเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 มีประกาศกฎหมายวัฒนธรรม ห้ามนุ่งผ้าม่วง และกางเกงแพร
ตั้งแต่นั้น เสื้อราชปะแตนก็เลยพลอยหมดไปด้วย
นอกจากนี้เสื้อราชปะแตนของไทยยังส่งอิทธิพลไปยังลาวและกัมพูชาอีกด้วย สามารถไปอ่านต่อได้ที่ ฟอรั่ม อิทธิพลวัฒนธรรมไทยในต่างแดน
ภาพกางเกงแพรซึ่งในอดีตมีการใส่ร่วมกับเสื้อราชปะแตนด้วยจากmutsuki.exteen.com
www.lib.ru.ac.thwww.majic-nigthwear.comwww.sakulthai.com