วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 รองเง็ง นาฏศิลป์ไทยภาคใต้อิทธิพลตะวันตก

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

รองเง็ง นาฏศิลป์ไทยภาคใต้อิทธิพลตะวันตก Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: รองเง็ง นาฏศิลป์ไทยภาคใต้อิทธิพลตะวันตก   รองเง็ง นาฏศิลป์ไทยภาคใต้อิทธิพลตะวันตก EmptyWed Nov 14, 2012 10:04 pm

คลิปรองเง็ง เพลงลาฆูดูวอ ของไทย


ประวัติรองเง็ง
รองเง็ง เป็นศิลปะเต้นรำพื้นเมืองของไทยมุสลิม มีความสวยงามทั้งลีลาการเคลื่อนไหวของ เท้ามือ ลำตัว และการแต่งกายคู่ชายหญิง กล่าวกันว่าการเต้นรองเง็ง ในอดีตเป็นที่นิยมกันในบ้านขุนนางหรือเจ้าเมืองใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่นที่บ้านรายายะหริ่ง หรือพระยาพิพิธเสนามาตย์ เจ้าเมืองยะหริ่งสมัยก่อนการ เปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2439 - 2449) มีหญิงซึ่งเป็นข้าทาสบริวารฝึกรองเง็ง เพื่อไว้ต้อนรับแขกเหรื่อในงานรื่นเริงหรืองานพิธีต่าง ๆ เป็นประจำ ลักษณะของรองเง็งซึ่งดูคล้ายศิลปะวัฒนธรรมตะวันตกนั้น มีผู้สันนิษฐานว่าชาวสเปนหรือโปรตุเกส ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศชวา มลายูก่อน โดยเฉพาะเมื่อถึงวันรื่นเริงปีใหม่ ชาวตะวันตกได้เต้นรำอย่างสนุกสนาน เช่น รองเง็งรำลาฆูดูวอ เป็นเพลงไพเราะน่าชมน่าฟังชาวพื้นเมืองบังเกิดความสนใจและได้ฝึกซ้อมจนกระทั่ง ของศิลปะรองเง็งหรือรองเกงขึ้น นอกจากนี้รองเง็งยังพบได้ในมาเลเซียตอนเหนือ และอินโดนีเซียอีกด้วย

คลิปรองเง็งของอินโดนีเซีย

เอกสารบันทึกทางประวัติศาสตร์ของรองเง็ง
รองเง็งนี้ มีเล่นกันในชวา เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 5) เสด็จประพาสชวาในปี พ.ศ.2439 เมื่อเสด็จถึงตำบลจิสรูบัง เมืองการุต ก็ได้ทอดพระเนตรการเล่นชนิดหนึ่ง เรียกว่า “รองเกง” ดังในพระราชนิพนธ์เรื่อง “ระยะทางเที่ยวชวากว่าสองเดือน” ตอนหนึ่งว่า “ดูเข้าเล่น รองเก” กันเป็นหมู่แรก 2 วง ทีหลังแยกออกเป็น 3 วง มีผู้หญิงวงละ 3 คน มีพิณพาทย์สำรับหนึ่ง คือ รนาทราง 1 ซอคัน 1 ฆ้องราง 1 ฆ้องใหญ่ 1 ใบบ้าง 2 กลองรูปร่างเหมือนชนะแต่อ่อนกว่าสักหน่อยหนึ่ง มีสองน่าเล็กๆอัน 1 ผู้หญิงร้องรับพิณพาทย์ ผู้ชายเข้ารำเป็นคู่ แต่ผลัดเปลี่ยนกัน ดูท่าทางเป็นหนีไล่กันอย่างไรอยู่ ผู้หญิงไม่ใคร่จะรำ เป็นแต่ร้องมากกว่า แต่ผู้ชายรำคล้ายๆท่าค้างคาวกินผักบุ้งที่ตลก รำมีตะเกียงปักอยู่กลางดวงหนึ่ง พอรำกองผู้ชายตรงเข้าจูบผู้หญิง ผู้หญิงก็นิ่งเฉยๆ ไม่เห็นบิดเบือนปัดป้องอันใด เห็นทำมันหยาบอย่างไรอยู่ นึกว่าวงนั้นจะถูกคนไม่ดี ย้ายไปดูวงอื่นก็เป็นเช่นนั้นอีก”

ลักษณะการแสดงที่พระพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเรียกว่า “รองเกง” นั่นก็คือ รองเง็งนั่นเอง ซึ่งตรงกับที่ขุนศิลปกรรมเรียก Ranggeng และอธิบายว่า (รองเคง) การเต้นรำคู่พร้อมกับร้องเพลงประสานรองเคงเรื่อง Ranggeng คล้าย Square dance ของชาวตะวันตก

คลิป Square dance ของชาวตะวันตก

ขอบพระคุณรูปภาพและข้อมูลจาก
download.clib.psu.ac.th
www.panyathai.or.th
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
รองเง็ง นาฏศิลป์ไทยภาคใต้อิทธิพลตะวันตก
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: ดนตรี-นาฏศิลป์ไทยอิทธิพลจากต่างแดน-
ไปที่: