ภาพดอกงาประวัติงางาไม่ใช่ธัญพืชและไม่ใช่พืชจำพวกถั่ว ไม่มีผลเป็นฝักแบบถั่วแต่มีผลแห้งแตก ภายในมีเมล็ดมาก งามีถิ่นกำเนิดในแถบแอฟริกาตะวันออก แถบประเทศเอธิโอเปีย ต่อมาได้แพร่ขยายเข้ามาสู่ทวีปเอเชียและ มีหลักฐานเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากงาในประเทศอิหร่าน ตั้งแต่สมัยประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว บางครั้งก็ใช้เมล็ดงาแทนเงินตราด้วย ชาวอียิปต์โบราณใช้เมล็ดงาป่นแทนแป้งธัญพืช ส่วนชาวโรมันบดเมล็ดงาผสมขนมปังเป็นขนมปังรสชาติดี ส่วนชาวจีนรู้จักงามาอย่างน้อยก็ 5,000 ปีมาแล้ว พวกเขาเผาเมล็ดงาเพื่อใช้ทำแท่งหมึกจีนที่คุณภาพดี และในบันทึกการเดินทางสู่ประเทศจีนของมาร์โค โปโล ก็ได้กล่าวถึงงาไว้อีกด้วย ในบางถิ่นมีความเชื่อว่าเมล็ดงามีอำนาจอาถรรพณ์ และยังปรากฏในนิทานเรื่อง อาหรับราตรี ตอน อาลีบาบา กับโจรทั้งสี่สิบ ซึ่งมีคำกล่าวว่า เปิดเมล็ดงา
บทบาทของงาในสยามไม่มีใครหลักฐานแน่ชัดว่างา เข้ามาเมืองสยามตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่อาจจะเข้าในสยามมานานตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว และมีสำนวนว่า “กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้” ซึ่งมาจากการคั่วถั่วกับงาในกระทะเดียวกัน ถั่วเป็นของสุกช้างาสุกเร็วมัวรอไห้ถั่วสุก งาก็ไหม้เสียก่อน สำนวนนี้หมายถึงการทำอะไรสองอย่างพร้อมกันหรือทำอะไรสักอย่างที่ไม่รอบคอบ มัวคิดแต่จะได้ทางหนึ่งต้องเสียทางหนึ่งในความหมายอีกแง่ก็แปลว่าการทำอะไร มัวรีรออยู่ ไม่รีบลงมือทำเสียแต่แรกครั้นพอลงมือจะทำ ก็ไม่ทันการเสียแล้วเพราะคนอื่นเขาเอาไปทำเสียก่อน นอกจากนี้บทบาทของงาในวัฒนธรรมไทย ยังใช้ในการทำขนม และยังใช้ในการประกอบพิธีแรกนาขวัญอีกด้วย
ประโยชน์ของงางา เป็นธัญพืชที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อุดมไปด้วยวิตามินบี 1 บี 2 บี 3 บี 5 บี 6 บี 9 และวิตามิน ไบโอติน โคลีน ไอโนสิตอล กรดพาราอะมิโนแบนโซอิค สารเหล่านี้จะช่วยบำรุงประสาทให้เป็นไปอย่างปกติ นอกจากนี้ในงายังมีกรดไขมันไลโนลีอิกอยู่มากด้วยเช่นกัน ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตและสามารถเก็บความชุ่มชื้นของผิวหนังได้ดี
ผู้ที่มีอาการเกิดจากระบบประสาท เช่น นอนไม่หลับ อ่อนเปลี้ยเพลียแรง เป็นเหน็บชา ปวดเส้นตามตัว แขน ขา เบื่ออาหาร ท้องผูก หรือเมื่อยสายตา ควรหันมารับประทานงาเป็นประจำนะคะ เพราะสามารถป้องกันโรคเหล่านี้ได้ นอกจากนี้แล้วงายังเป็นอาหารต้านมะเร็งและช่วยชะลอความชราให้ช้าลงไปอีกด้วย
งาเป็นแหล่งโปรตีนและแร่ธาตุ ธาตุเหล็ก บำรุงเลือด ธาตุไอโอดีน ป้องกันโรคคอพอก ธาตุสังกะสี บำรุงผิวหนัง ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส บำรุงกระดูกและฟัน กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า งามีแคลเซียมมากกว่าพืชผักชนิดอื่นถึง 20 เท่า มีฟอสฟอรัสมากกว่าพืชผักอื่น ๆ 20 เท่า ซึ่งธาตุทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นแร่ธาตุที่สำคัญมาก ๆ ในการเสริมสร้างกระดูก
ทางการแพทย์ถือว่า งาเป็นอาหารที่สามารถบำรุงกำลังได้เป็นอย่างดีและยังให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า นอกจากนี้ยังป้องกันโรคเหน็บชา ป้องกันอาการท้องผูก บำรุงกระดูก บำรุงรากผม รักษาอาการนอนไม่หลับ และยังช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลไม่ให้มีมากเกินไป ป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแข็งตัว ป้องกันโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดบางชนิด
สรรพคุณทางยา หากปัสสาวะ อุจจาระขัด ใช้เมล็ดงา 20-25 กรัม แช่ในน้ำเดือด หรือต้มรับประทานขณะท้องว่าง ถ้าความดันโลหิตสูงให้ใช้ เมล็ดงา น้ำส้ม ซีอิ๊วและน้ำผึ้งอย่างละ 30 กรัม ผสมกับไข่ขาว 1 ฟอง คนให้เข้ากันแล้วต้มด้วยไฟอ่อน ๆ จนสุก รับประทานวันละ 3 ครั้งเป็นประจำ ถ้าไอแห้ง ไม่มีเสมหะ ให้นำเมล็ดงา 250 กรัม น้ำตาลทรายแดง 50 กรัม บดรวมกันรับประทานครั้งละ 15-20 กรัม จากนั้นนำผงที่ได้เติมน้ำเดือดไว้สัก 2-3 นาที ดื่มขณะยังอุ่น ๆ วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น นอกจากนี้น้ำมันงายังกระตุ้นการงอกของเส้นผม โดยไปเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตรอบ ๆ รูขุมขนบนหนังศีรษะ เพิ่มความชุ่มชื้นและบำรุงผิวพรรณ และต้านอนุมูลอิสระ บำรุงเส้นผม ป้องกันการแก่ตัวและยืดอายุเซลล์ผิวหนังอีกด้วย
ข้อมูลจากนิตยสาร Hair & Beauty Studio ระบุว่า เด็กที่กำลังอยู่ในวัยเจริญเติบโต หากได้รับประทานงาเป็นประจำร่างกายจะมีการเจริญเติบโต และยังสามารถเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
สตรีวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดน้อยลงอย่างมาก ทำให้มีการดึงแคลเซียมออกจากกระดูกมาใช้แทน ดังนั้นโอกาสที่จะเป็นโรคกระดูกเสื่อมจึงมีสูง ฉะนั้นควรหันมาบริโภคงามาก ๆ เพราะจะได้ช่วยเพิ่มแคลเซียมให้กับร่างกายอีกทางหนึ่ง
ใช้น้ำมันงาดิบนวดตัวในตอนเช้าก่อนอาบน้ำ ช่วยปรับระบบประสาทและระดับฮอร์โมนให้ เข้าสู่สภาวะสมดุล ทำให้จิตใจสงบ ผ่อนคลายความตึงเครียด
ใช้น้ำมันงาดิบนวดตัว เพื่อขจัดอาการปวดเมื่อย คลายกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดเข่า เคล็ดขัดยอก ทำให้กล้ามเนื้อไม่เหี่ยวย่น ดูอ่อนเยาว์อยู่เสมอ เนื่องจากน้ำมันงาดิบสามารถซึมผ่านผนังได้ทุกชั้น.
จากth.wikipedia.org
www.classifiedthai.comwww.sanook.comwww.sc.mahidol.ac.th www.toptenthailand.com www.ubmthai.com