ภาพเทพเจ้า Tlaloc เป็นเทพเจ้าแห่งฝน ซึ่งชื่อของเทพเจ้าองค์นี้อาจเป็นที่มาของชื่อพืชสกุล
Tagetes อย่างดาวเรืองได้ประวัติดอกดาวเรืองสากลดอกดาวเรืองมี่ถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้และประเทศเม็กซิโก ดอกดาวเรืองเป็นพืชที่อยู่ในสกุล Tagetes ซึ่งอาจมาจากชื่อ เทพเจ้า Tlaloc เป็นเทพเจ้าแห่งฝนของศาสนาแอซแทก ส่วนชื่อ Marigold นั้นมาจาก ดอกดาวเรืองเป็นใช้เป็นดอกไม้หน้าแท่นบูชาพระนางแมรี และเนื่องจากดอกดาวเรืองดั้งเดิมมีเพียงสีเดียวคือ สีเหลือง จึงเรียกชื่อไม้ดอกชนิดนี้ว่า Mary's gold ต่อมาจึงเพี้ยนไปเป็น Marigolds ดอกดาวเรืองเป็นดอกไม้ที่นิยมอย่างมากในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ เม็กซิโก ในเอเชียใต้จะใช้ดาวเรืองสำหรับพิธีกรรมทางศาสนาฮินดู ส่วนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นิยมใช้บูชาทางศาสนาพุทธและพิธีมงคลต่างๆ ในเม็กซิโกจะใช้ดอกดาวเรืองในเทศกาลวันแห่งความตายเพื่อระลึกถึงวิณญาณบรรพบุรุษ พืชในจีนัสเดียวกับดาวเรืองมีประมาณ 50 Species มีทั้งพวกล้มลุก และ พวกยืนต้นอยู่ได้หลายฤดู พืชสกุล Tagetes ในธรรมชาติ พบแพร่กระจายพันธุ์ตามพื้นที่ร้อน และแห้งแล้ง ตามพื้นที่ลาดชัน และก้นหุบเขา แถบ นิวเม็กซิโกไปจนถึงประเทศอาร์เจนติน่าและมี 1 Species พบที่แอฟริกา Tagetes erecta (ดาวเรืองอเมริกัน), Tagetes patula (ดาวเรืองฝรั่งเศส) และ Tagetes tenuifolia (ดาวเรือง signet) โดยทั้งหมดมาจากทวีปอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเม็กซิโก ดาวเรืองอเมริกัน สามารถผสมเข้ากับดาวเรืองฝรั่งเศสได้ และให้ลูกผสมที่เป็นหมัน Tagetes erecta ถูกซื้อจากแถวชายฝั่งทะเล แอฟริกา โดยนักบวชชาวสเปนใน ศตวรรษที่ 17 เมื่อมาถึงแอฟริกาแล้วได้ปลูกในธรรมชาติ และพบในป่าโดยพ่อค้าชาวอังกฤษแล้วเขาก็นำไปที่อังกฤษ ดังนั้นจึงถูกเรียกว่า ดาวเรืองแอฟริกัน ดาวเรืองฝรั่งเศสก็มีที่มาเหมือนกัน แต่เมื่อมาจากแอฟริกาแล้วมาที่ฝรั่งเศส จากนั้นก็มาที่อังกฤษ ดังนั้นจึงเรียกว่า ดาวเรืองฝรั่งเศส
ภาพดอกดาวเรืองฝรั่งเศสประวัติดอกดาวเรืองในประเทศไทยในประเทศไทย มีการปลูกดาวเรืองทั่วทุกภาคของประเทศมานาน จนคล้ายกับว่าเป็นพืชพื้นเมือง ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย ดอกดาวเรืองมีบันทึกไว้ว่าเข้าเมืองไทยโดยชาวฝรั่งเศส รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และปรากฏในร้อยกรอง นิราศธารทองแดง
ชาตบุษป์พุทธชาตชาบ กุหลาบกนาบทั้งสองทาง
เบงระมาดยี่สุ่นกาง กลีบบานเพราเหล่าดาวเรือง
ดอกดาวเรืองคาดว่าชื่อของดาวเรืองจะเรียกแตกต่างกันไป ในแต่ละภาค แต่มีความหมายคล้ายกัน โดยเรียกตามสีและลักษณะดอก ภาคกลางเรียกว่า ดาวเรือง ภาคเหนือเรียกว่า คำปู้จู้ โดยที่คำแปลว่า ทอง ส่วน ปู้จู้แปลว่า กระจุกแน่น ส่วนดาวเรืองลูกผสม พบว่า ได้มีการสั่งเมล็ดพันธุ์จากประเทศเนเธอร์แลนด์เข้ามาปลูกที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี พ.ศ. 2510 จำนวน 4 พันธุ์ คือ Hybrid, Toreador, Double Eagle, Doubloon และ Sovereign ซึ่งแต่ละพันธุ์มีการเจริญเติบโตดี เหมาะที่จะปลูกเป็นไม้ตัดดอกและไม้ประดับ ยกเว้นพันธุ์ Doubloon โดยที่ก้านไม่ค่อยแข็งแรง ต่อมาจึงมีการสั่งเมล็ดพันธุ์ลูกผสมจากต่างประเทศมาปลูกเรื่อยมา ส่วนใหญ่จะปลูกทางภาคกลางและภาคเหนือ โดยช่วงแรกนำมาปลูกทดลองในสถานศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการคัดพันธุ์ที่เหมาะสม ที่จะปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับและใช้ผสมในอาหารเลี้ยงไก่ จากนั้นจึงได้มีการเผยแพร่การปลูกดาวเรือง ไปสู่เกษตรกรและบุคคลทั่วไปประมาณปี พ.ศ. 2522-2524 ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูง โดยเฉพาะการปลูกเป็นไม้ตัดดอก ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตเป็นไม้ตัดดอก จำหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา และดอกดาวเรืองยังเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการอีกด้วย
ประโยชน์ของดอกดาวเรืองใบ-เป็นยาเย็น ใช้ทาแผลเน่าเปื่อย ฝีต่าง ๆ น้ำคั้นจากใบใช้หยอด แก้เจ็บหู นำมาตากแห้งแล้วบดเป็นผงใช้เป็นยานัตถุ์หรือกินเป็นอาหาร แก้โรคต่อมน้ำเหลืองในเด็ก และถ้าเกิดอาการท้องผูกให้นำใบคั้นเอาน้ำทานซึ่งจะมีรสเผ็ดร้อน
ดอก-ดอก แก้ริดสีดวงทวารเป็นยาฟอกเลือด ขับลม ละลายเสมหะ ไอ หลอดลมอักเสบ ปรุงกับตับไก่เป็นยาบำรุงสายตา ดอกแห้งบดเป็นผงผสมกับอาหารไก่ ช่วยให้ไข่แดงสีเข้มขึ้น ดอกสดเป็นอาหารและทำดอกไม้ประดิษฐ์ น้ำที่กลั่นจากดอกแก้อาการอักเสบของตาและชงแก้ไข้ขับเหงื่อ แก้พุพอง หรือนำมาต้มเป็นยาแก้โรคหัด แก้ไข้ทรพิษ
ต้น-นำมาชงกินเป็นยาแก้โรคดีซ่าน แผลเรื้อรังและแก้เส้นเลือดพองเป็นยาขมเจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับพยาธิ แก้คลื่นไส้อาเจียน
จากhttp://203.172.204.162/web/thaiEnclycropedia/book24/b24p71.htmwinfive-radom.com
www.การเกษตร.comwww.loeiamc.comwww.mexicolore.co.ukwww.navy34.comwww.reimerseeds.comwww.st.ac.th