วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 ซัมเปง นาฏศิลป์ไทย (อาจมี) อิทธิพลสเปน

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

ซัมเปง นาฏศิลป์ไทย (อาจมี) อิทธิพลสเปน Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ซัมเปง นาฏศิลป์ไทย (อาจมี) อิทธิพลสเปน   ซัมเปง นาฏศิลป์ไทย (อาจมี) อิทธิพลสเปน EmptyThu Nov 01, 2012 5:14 pm


ประวัติ
ซัมเปงเป็นนาฏศิลป์พื้นเมืองของชาวไทยมุสลิมทาง 3 จังหวัดชายแดนใต้ของไทย (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย (จังหวัดยัมบี) ซัมเปงมีลีลาการเต้นคล้ายคลึงกับการเต้นรองเง็ง มีผู้สันนิษฐานว่าคงเป็นนาฏศิลป์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากสเปน ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 16-18 โดยซัมเปงอาจมาจากคำว่าสเปน (แต่น่าคิดนะครับว่าคนสเปนเรียกประเทศตนเองว่าเอสปาญา ส่วนคำว่าสเปนเป็นภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ภาษาสเปนแต่อย่างใด) แต่ในทางกลับกันยังมีผู้เชื่อกันว่าซัมเปงอาจไม่ได้มาจากสเปนแต่อาจมาจากอาหรับ

อันนี้คลิปซัมเปงของมาเลเซีย

ประวัติของซัมเปงที่ได้รับอิทธิพลจากสเปนมีแนวคิดดังนี้
1. เกิดขึ้นที่เมืองปัตตานีโดยการรับวัฒนธรรมสเปนที่เมืองท่าปัตตานีแห่งนั้น
2. ซัมเปงแพร่เข้ามายังแหลมมลายูโดยผ่านพวกมลายูที่อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะต่างๆ ทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ (ทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์เป็นมุสลิมเยอะ) ในยุคแรกที่ฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมของสเปน
3. การเต้นซัมเปงอาจเป็นศิลปะในราชสำนักของบรรดาสุลต่านตามหัวเมืองมลายูมาก่อน โดยที่ราชสำนักได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมของชาวสเปนมาจากกลุ่มพ่อค้าอาหรับที่เคยขายกับประเทศสเปนโดยตรง และพ่อค้าอาหรับเหล่านี้ได้นำเอาศิลปะการเต้นระบำของชาวสเปนเข้ามาเผยแพร่ แล้วเกิดการผสมผสานกับลีลาการเต้นรำของชาวพื้นเมือง กลายมาเป็นซัมเปงที่ถ่ายทอดสืบกันมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามซัมเปงมีการผสมผสานกับลีลานาฏศิลป์ของชาวพื้นเมือง ในช่วงแรกน่าจะเกิดขึ้นในราชสำนักของสุลต่านหรือในบ้านของขุนนางผู้ใหญ่ก่อน เพราะการเต้นซัมเปงเป็นการแสดงคู่ชายหญิง ซึ่งวัฒนธรรมของชาวไทยมุสลิมถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควร ดังนั้นผู้หญิงที่ได้ฝึกหัดเต้นซัมเปงก็เป็นเฉพาะบริวารของสุลต่าน หรือขุนนางผู้ใหญ่เท่านั้น ส่วนผู้หญิงอื่นไม่มีโอกาสฝึกหัดกันเลย ต่อมาซัมปังจึงได้แพร่หลายออกไปสู่ชาวบ้าน การเต้นซัมเปงนิยมแสดงในงานต้อนรับแขกคนสำคัญของท้องถิ่น หรือแสดงในงานรื่นเริง ก่อนหน้านี้เการเต้นซัมเปงซบเซาไปเป็นเวลานาน เพราะขาดการสนับสนุน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จไปทรงแปรพระราชฐาน ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ คณะกรรมการสมาคมอิสลามจังหวัดนราธิวาสจึงได้ฟื้นฟูส่งเสริมซัมเปงขึ้นอึก เพื่อเต้นถวายทอดพระเนตร และเนื่องจากซัมเปงเป็นนาฏศิลป์ที่มีลีลางดงามจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายอีกครั้งหนึ่งในปัจจุบัน

อันนี้คลิปซัมเปงของอินโดนีเซีย

ขอขอบพระคุณรูปภาพประกอบและข้อมูลจาก
download.clib.psu.ac.th
en.wikipedia.org
www.anurakthai.com
www.oknation.net
www.youtube.com

ระบำฟลาเมนโกของสเปน
เป็นระบำที่มาจากของพวกยิปซีผสม แขกมัวร์
อันนี้เห็นว่าเป็น 3 มิติ อาจะดูไม่ค่อยชัดและเบลอๆ หน่อย

ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
ซัมเปง นาฏศิลป์ไทย (อาจมี) อิทธิพลสเปน
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: ดนตรี-นาฏศิลป์ไทยอิทธิพลจากต่างแดน-
ไปที่: